|
กฎหมายอนุรักษ์พลังงานสำหรับอาคารใหม่ บริการ ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน สำหรับโรงงานควบคุม และอาคารควบคุม งานตรวจสอบอาคาร โดย วุฒิวิศวกร ปรึกษา ได้ที่ อีเมลย์ 4we@4wengineering.com โทร 0812974848 บริษัท 4 ดับบลิว ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ทีมงาน วุฒิวิศวกร ไฟฟ้า วุฒิวิศวกร เครื่องกล วุฒิสถาปนิก วุฒิวิศวกร อุตสาหการ นำโดย วุฒิวิศวกรโยธา
ที่มา หนังสือ เทคนิค ฉบับที่ 306 ตุลาคม 2552 แม้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศจะชะลอตัว แต่การก่อสร้างตึก และ อาคารขนาดใหญ่ ก็ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่ดให้การออกแบบ และ ก่อสร้าง อาคารใหม่ หรือ การดัดแปลงอาคาร ต้องปฎิบัติตามกฎกระทรวงว่าด้วยการ อนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน โดยกรมพัฒนา พลังงานทดแทนและอนรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้ประกาศกฎกระทรวง กำหนดประเภท หรือ ขนาดของอาคาร ที่ก่อสร้าง ใหม่ หรือ อาคาร ที่มีการดัดแปลง ที่มีพื้นที่รวามกันทุกชั้นในหลังเดียวกัน ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป ต้อง ออกแบบเพื่อการอนุัรักษ์พลังงาน นั่นคือต้องมีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการสูญเสียพลังงานโดยไม่จำเป็น โดยมีอาคารที่ต้องปฎิบัติตาม กฎกระทรวงนี้ 9 ประเภท ได้แก่ 1. สถานพยาบาล 2. สถานศึกษา 3.สำนักงาน 4. อาคารชุด 5. อาคารชุมนุมคน 6. อาคาร โรงมหรสพ 7. อาคารโรงแรม 8. อาคาร สถานบริการ 9. อาคาร ห้างสรรพสินค้า หรือ ศูนย์การค้า ในขณะเดียวกัน ยังกำหนดให้ระบบต่างๆ ของอาคารต้องเป็นไปตามกฎหมายนี้ ได้แก่ ระบบกรอบอาคาร, ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง, ระบบปรับอากาศ, อุปกรณ์ผลิตน้ำร้อน, การใช้พลังงานโดยรวมของอาคาร และ การใช้พลังงานหมุนเวียนในระบบต่างๆ ของอาคาร โดยระบบต่างๆ ดังกล่าว จะต้องอยู่ ภายใต้มาตรฐานที่กำหนดตามกฎหระทรวงดังนี้ 1.ระบบกรอบอาคาร ในส่วนของระบบกรอบอาคารได้ กำหนดค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของผนังด้านนอกของอาคาร ในส่วนที่มีการปรับอากาศในแต่ละประเภทของอาคาร และค่าการถ่ายเทความร้อนของหลังคาอาคาร ในส่วนท่ีมีการปรับอาศในแต่ละประเภทของอาคาร ต้องมีค่าไม่เกินที่กำหนดดังรายละเอียดในตารางที่ 1
ส่วนอาคารที่มีการใช้งานพื้นที่หลายลักษณะ พื้นที่แต่ละส่วนต้องใช้ขอ้กำหนดของระบบกรอบอาคารตามลักษณะการใช้งานของพื้นที่แต่ละส่วนนั้น 2. ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ในส่วนนี้การใช้ไฟฟ้าส่องสว่างภายในอาคาร ต้องให้ได้ระดับ
3. ระบบปรับอากาศ ส่วนของระบบปรับอากาศได้กำหนดประเภทและขนาดของระบบปรับอากาศที่ติดตั้งภายในอาคารต้องมีค่าใัมประสิทธิ์สมรรพนะขั้นต่ำ ค่าประสิทธิภาพการให้ความเย็น และค่าพลังไฟฟ้าต่อตันความเย็น ต้องเป็นไปตาทที่ได้ประกาศกำหนด 4. อุปกรณ์ผลิตน้ำร้อน สำหรับอุปกรณ์ผลิตน้ำร้อน ได้กำหนดให้อุปกรณ์ผลิตน้ำร้อนที่ติดตั้งภายในอาคาร ต้องมีค่าประสิทธิภาพขั้นต่ำ(80-85%) และค่าสัมประสิทธิ์สมรรถนะขั้นต่ำ ดังตาราง 5. การใช้พลังงานโดยรวมของอาคาร เกณฑ์การใช้พลังงานโดยรวมของอาคารต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของระบบต่างๆ เช่น การขออนุญาตก่อสร้าง หรือ ดัดแปลงอาคาร ที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์กำหนด ให้พิจารณาตามเกณฑ์การใช้พลังงานโดยรวมของอาคาร ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของแต่ละระบบ 6. การใช้พลังงานหมุนเวียนในระบบต่างๆ ของอาคาร ซึ่งในส่วนนี้มีข้อกำหนดไว้ว่า เมื่อมีการใช้พลังงานหมุนเวียนในอาคาร ให้ยกเว้นการนับรวามการใช้ไฟฟ้า บางส่วนในอาคาร ในกรณีที่ระบบไฟฟ้าแสงสว่างของอาคารที่มีการออกแบบเพื่อใช้แสงธรรมชาติ เพื่อการส่องสว่างภายในอาคารในพื้นที่ตามแนวกรอบอาคาร ให้ถือเสมือนว่าไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างในพื้นที่ตามแนวกรอบอาคารนั้น โดยการออกแบบต้องเป็นไปตามเงื่่อนไข นอกจากนี้อาคารที่มีการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เพื่อใช้ในอาคาร สามารถ นำค่าพลังานไฟฟ้าที่ผลิตได้ไปหักออกจากค่าการใช้พลังานโดยรวมของอาคาร เป็นที่แน่นอนว่าเมื่อมีการประใช้กฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว ผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการก่อสร้างไม่ว่าจะเป็นวิศวกร สถาปนิก ผู้ประกอบการอาคาร และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง จำเป็นต้องทำความเข้าใจ เพื่อให้สามารถปฎิบัติตาม และดำเนินการก่อสร้างอาคารได้อย่างถูกต้องตามข้อกำหนด เพื่อให้ทราบถึงหลักเกณฑ์ ข้อกำหนด และแนวทางปฎิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนรักษ์พลังงาน ซึ่งเป็นผู้ดูแลเรื่องนี้ ได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนการเผยแพร่กฎกระทรวงดังกล่าว ในหลายรูปแบบ "สถาบันที่เชื่อถือได้" หมายความว่า ส่วนราชการ หรือ นิติบุคคลซึ่งมีวิศวกร ประเภท วุฒิวิศวกร สาขาวิศวกรรมโยธา ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรมเป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษา และลงลายมือชื่อรับรองผลการตรวจสอบงานวิศวกรรมควบคุม |