รายละเอียดโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครเหนือชุดที่1
ReadyPlanet.com
bullet กฎกระทรวง กําหนดลักษณะอาคารประเภทอื่นที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. ๒๕๕๙
dot
Group Menu
dot
bulletวุฒิวิศวกรออกแบบโครงสร้าง
dot
Newsletter

dot
bulletโครงการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
bulletวิศวกร งานโลหะ และ เหล็ก
bulletสารพัดปัญหาของวิศวกรโยธา ก่อสร้าง
bulletรับรองความมั่นคงอาคาร โรงเรียนกวดวิชา วุฒิวิศวกร
bulletคณภาพของ วิศวกร
bulletไฟไหม้ กับ งาน วิศวกร โยธา
bulletPower Plant Job กับ งาน วิศวกร
bulletวิศวกรโยธา กับ ตลาด รับสร้าง บ้านชิ้นส่วนสำเร็จรูป
bulletวิศวกร กำหนด มาตราฐาน ออกแบบ แผนผังโรงงาน
bulletวิศวกร กับ การเลือกทำเล ที่ตั้งโรงงาน
bulletขอบเขตงานที่วิศวกร ระดับต่างๆ ทำได้ แก้ไขใหม่
bulletมาตรฐานกําหนดตําแหน่งสายงาน วิศวกรรมโยธา
bulletน้ำ และ สารผสม คอนกรีต
bulletgooglebc0321ea4a8e3495.html




วุฒิวิศวกรไฟฟ้า วุฒิวิศวกรเครื่องกล

รับ ออกแบบ อาคาร โรงงาน

ะบบไฟฟ้า

ะบบเครื่องกล ระบบปรับอากาศ

ตรวจสอบรับรองการก่อสร้างอาคาร ปรับปรุงรักษาสภาพอากาศ น้ำ เสียง กลิ่ง สิ่งแวดล้อม ดัดแปลงอาคาร

 

 

 

ระบบป้องกันเพลิงไหม้

บริการ ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน สำหรับโรงงานควบคุม และอาคารควบคุม

 

แก้ไขปัญหาวิศวกรรม  โดย วุฒิวิศวกร ทุกระบบ

 

 

 บริษัท 4 ดับบลิว ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ทีมงาน วุฒิวิศวกร ไฟฟ้า วุฒิวิศวกร เครื่องกล วุฒิสถาปนิก วุฒิวิศวกร อุตสาหการ นำโดย วุฒิวิศวกรโยธา

ปรึกษา ได้ที่ อีเมลย์ wbk123@gmail.com

โทร 0812974848

 

โครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครเหนือ ชุดที่ 1 เป็นโครงการที่บรรจุอยู่ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ และ เพื่อเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้า

โครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครเหนือ ชุดที่ 1 ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแต่งประเทศไทย (กฟผ.) ดำเนินการก่อสร้างเมื่่อวันที่ 12 ธันวาคม 2549 โดยจะใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างทั้งสิ้นประมาณ 36 เดือน ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จและสามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ในเดือน มีนาคม 2553

 

รายละเอียดโครงการ

 

 

สถานที่ตั้งโครงการ

 

          โครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครเหนือ ชุดที่ 1 ตั้งอยุ่ในพื้นที่โรงไฟฟ้าพระนครเหนือเดิมซึ่งหมดอายุรื้อถอนออกไปบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี มีพื้นที่ประมาณ 125 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่โรงไฟฟ้า 70 ไร่ และพื้นที่สีเขียว 55 ไร่

 

ลักษณะของโครงการ

 

โครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครเหนือ ชุดที่ 1 เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม จำนวน 1 ชุด ขาดกำลังผลิตติดตั้ง 704 เมกะวัตต์ ประกอบด้วยเครื่องผลิตกังหันแก๊ส จำนวน 2 เครื่อง ขนาดกำลังผลิตเครื่องละ 221 เมกะวัตต์ และเครื่องผลิตไฟฟ้ากังหันไอน้ำ จำนวน 1 เครื่อง ขนาดกำลังผลิต 262 เมกะวัตต์

 

เชื้อเพลิง

 

 โครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครเหนือ ชุดที่ 1 ใช้ก๊าซธรรมชาติจากสหภาพพม่าเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า ในอัตราสูงสุดวันละ 125 ล้านลูกบาศก์ฟุตจากโครงการท่อก๊าซธรรมชาติไทรน้อย-โรงไฟฟ้าพระนครใต้/พระนครเหนือ ของ ปริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) โดยท่อส่งก๊าซดังกล่าวจะเชื่อมต่อจากท่อส่งก๊าซ ราชบุรี-วังน้อย ที่ตำบลทวีวัฒนา อำเำอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ไปยังโรงไฟฟ้าพระนครใต้ ส่วนท่อส่งก๊าซมายังโรงไฟฟ้าพระนครเนือจะแยกออกมาที่แขวงศาลาธรรมสพน์ มายังโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ โดยมีกำหนดรับก๊าซในเดือน เมษายน 2552

 

มติคณะรัฐมนตรี -- พุธที่ 13 ธันวาคม 2006 11:39:24 น.

         คณะรัฐมนตรีพิจารณาโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครเหนือ ชุดที่ 1ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ แล้วมีมติดังนี้

         1. อนุมัติให้

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

(กฟผ.) ดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครเหนือ ชุดที่ 1 ตั้งอยู่บริเวณโรงไฟฟ้าพระนครเหนือเดิม  ตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ลงทุนรวม 17,547.00 ล้านบาท ซึ่งโครงการดังกล่าวบรรจุอยู่ในแผนพัฒนากำลัง

ผลิตไฟฟ้า

ของประเทศไทย พ.ศ. 2547 — 2558 (PDP 2004) และได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2547

 

         2. เห็นชอบให้ กฟผ. จัดทำรายละเอียดข้อมูลในประเด็นต่าง ๆ ในลักษณะเช่นเดียวกันกับโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครใต้ ชุดที่ 3 ดังนี้

 

            2.1 จัดทำรายละเอียดการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะในการปฏิบัติการของเครื่องกำเนิด ไฟฟ้าแต่ละหน่วย (Operating Characteristics for the Generating Unit and System Standards) การคำนวณค่าความพร้อมจ่าย (Availability Payments) และการคำนวณค่าพลังงานไฟฟ้า (Energy Payments) ในลักษณะเดียวกันกับที่กำหนดใน Schedule 1 — 3 ของสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่าง กฟผ. กับผู้

ผลิตไฟฟ้า

เอกชน (IPP) ให้

กระทรวงพลังงาน

พิจารณา

 

            2.2 ให้ กฟผ. ปฏิบัติตาม Grid Code เช่นเดียวกับโรงไฟฟ้าเอกชน และในอนาคตให้ครอบคลุมถึงโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ทุกโรงด้วย เพื่อความมั่นคงและปลอดภัยของระบบไฟฟ้า

 

            2.3 ให้ กฟผ. จัดส่งแผนการปฏิบัติการ (Action Plan) ของการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าความร้อนร่วมพระนครเหนือชุดที่ 1 และรายงานความก้าวหน้า การดำเนินการให้

กระทรวงพลังงาน

ทราบทุก 3 เดือน

 

            2.4 ให้ กฟผ. จัดส่งรายละเอียดการบันทึกบัญชีและข้อมูลทางด้านเทคนิคของโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ทุกๆ สิ้นปี จัดส่งให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) หรือองค์กรกำกับดูแลที่จะจัดตั้งขึ้นเป็นผู้ตรวจสอบรายละเอียดดังกล่าว เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการประเมินศักยภาพและผลประโยชน์ที่ได้จากการเดิน เครื่องโรงไฟฟ้าของ กฟผ.

 

            2.5 ให้ กฟผ.จัดส่งรายงานความคืบหน้าและรายละเอียดในการดำเนินการตามนโยบายการนำ พลังงานหมุนเวียนจ่ายเข้าระบบไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของโรงไฟฟ้าใหม่ และการจัดตั้งกองทุนพัฒนาพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า (Energy Tax) ในอัตรา 1 สตางค์/หน่วย ของพลังงานไฟฟ้าที่จ่ายเข้าระบบ

 

         3. เห็นชอบให้ กฟผ. ปฏิบัติตามเงื่อนไขของมติดคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในคราวประชุมครั้ง ที่ 9/2548 เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2548 ดังนี้

 

            3.1 ปฏิบัติมาตรการป้องกัน แก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมในรูปแผน ปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมตามที่เสนอในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวด ล้อมโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครเหนือ ชุดที่ 1 อย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งรายงานผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อม ให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) พิจารณาตามระยะเวลาที่กำหนดในแผนปฏิบัติการ โดยให้เป็นไปตามแนวทางการนำเสนอผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม

 

            3.2 ในกรณี กฟผ. จะว่าจ้างบริษัทผู้รับจ้างในการออกแบบ/ก่อสร้าง/ดำเนินการ กฟผ. จะต้องนำรายละเอียดมาตรการในแผนปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมไปกำหนดในเงื่อนไข สัญญาจ้างบริษัทผู้รับจ้างและให้ถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในทางปฏิบัติ

 

            3.3 ทำการบำรุงรักษา ดูแลการทำงานของระบบหล่อเย็นให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีเป็นประจำ และมีความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานและประชาชนในบริเวณใกล้เคียง

 

            3.4 หากผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมแสดงให้เห็นแนวโน้มปัญหาสิ่งแวดล้อม กฟผ. ต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไขปัญหานั้นโดยเร็วและหากเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  กฟผ. ต้องแจ้งให้จังหวัดนนทบุรี

กรมโรงงานอุตสาหกรรม

และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทราบโดยเร็ว เพื่อจะได้ประสานให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

 

            3.5 หาก กฟผ.มีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการและ/หรือแผนปฏิบัติการด้าน สิ่งแวดล้อมซึ่งแตกต่างจากที่นำเสนอในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม กฟผ. จะต้องเสนอรายงานแสดงรายละเอียดการขอเปลี่ยนแปลง ผลการศึกษาและประเมินผลกระทบในรายละเอียดที่ขอเปลี่ยนแปลงเปรียบเทียบกับ ข้อมูลเดิมให้คณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการเปลี่ยนแปลงทุกครั้ง

 

            3.6 หากยังมีประเด็นปัญหา ข้อวิตกกังวลและห่วงใยของชุมชนต่อการดำเนินโครงการ กฟผ. จะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อขจัดปัญหาความขัดแย้งของชุมชนในพื้นที่ทันที

 

         โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครเหนือ ชุดที่ 1  มีสาระสำคัญ ดังนี้

 

         1. วัตถุประสงค์  เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามการเจริญเติบโตทางด้าน เศรษฐกิจและอุตสาหกรรม เสริมความมั่นคงในการจ่ายไฟฟ้าของระบบ ซึ่งการก่อสร้างโรงไฟฟ้าไว้ใกล้ศูนย์กลางการใช้ไฟฟ้าจะสามารถลดการลงทุนด้าน ระบบส่งไฟฟ้าและลดความสูญเสียในระบบส่งไฟฟ้าได้

 

         2. การดำเนินงาน  มีระยะเวลาก่อสร้าง 6 ปี (พ.ศ. 2547-2553 begin_of_the_skype_highlighting            2547-2553      end_of_the_skype_highlighting) ประกอบด้วยงานก่อสร้าง 2 ส่วน

 

            2.1 งานก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมขนาดกำลังผลิตประมาณ 700 เมกะวัตต์ มีประสิทธิภาพสูงประมาณร้อยละ 48.4 ประกอบด้วย เครื่อง

ผลิตไฟฟ้า

กังหัน แก๊ส จำนวน 2 เครื่อง เครื่องผลิตไอน้ำแรงดันสูงแบบใช้ไอเสีย (Heat Recovery Steam Generator : HRSG) จำนวน 2 เครื่อง และเครื่อง

ผลิตไฟฟ้า

กังหันไอน้ำ จำนวน  1 เครื่อง โดยโครงการฯ ตั้งอยู่ในบริเวณโรงไฟฟ้าพระนครเหนือเดิม ตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวย  จังหวัดนนทบุรี

 

            2.2 งานก่อสร้างสายส่งเชื่อมโยงกับระบบไฟฟ้าเขตภาคกลาง โดย (1) ขยายสถานีไฟฟ้าแรงสูง 230 เควี  พระนครเหนือ  เพื่อรับโรงไฟฟ้าชุดใหม่ แต่เนื่องจากโครงการขยายระบบไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ระยะที่ 1 กำลังดำเนินการปรับปรุงอุปกรณ์ 230 เควี ที่สถานีไฟฟ้าแรงสูงพระนครเหนือให้มีขนาดใหญ่ขึ้นพร้อมติดตั้งอุปกรณ์ Bay 230 เควี  ไว้ด้วยแล้ว ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จประมาณเดือนมิถุนายน 2550 ดังนั้น จึงไม่คิดค่าใช้จ่ายในการขยาย Bay 230 เควี เพื่อรองรับโรงไฟฟ้าชุดใหม่ และ (2) ก่อสร้างสายส่งไฟฟ้า 230 เควี จากลานไกไฟฟ้าโรงไฟฟ้าฯ — สถานีไฟฟ้าแรงสูงพระนครเหนือ วงจรคู่ ระยะทางประมาณ 0.5 กิโลเมตร

 

         3. แหล่งเชื้อเพลิง  ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงจากโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทรน้อย —  โรงไฟฟ้าพระนครใต้/เหนือ โดย บมจ.

ปตท.

จะดำเนินการเชื่อมต่อท่อส่งก๊าซธรรมชาติเข้ากับท่อส่งก๊าซธรรมชาติราชบุรี — วังน้อย ที่รับก๊าซมาจากสหภาพพม่าที่อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี และวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติแยกมาจากท่อส่งก๊าซฯ ไทรน้อย — โรงไฟฟ้าพระนครใต้/เหนือ ที่บริเวณสถานีควบคุมก๊าซฯ ศาลาธรรมสพน์ จนถึงบริเวณสะพานพระราม 7 แล้วจึงแยกไปยังโรงไฟฟ้าฯ ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าฯ มีความต้องการใช้ก๊าซในอัตราสูงสุดประมาณ 125 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันที่ค่าความร้อนประมาณ 962 บีทียู ต่อลูกบาศก์ฟุต

 

         4. การใช้น้ำ ระบบหล่อเย็นของโรงไฟฟ้าใช้น้ำดิบจากแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีปริมาณการใช้น้ำสูงสุด 38,666 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน และน้ำใช้ภายในโรงไฟฟ้าและระบบอุปโภคบริโภคต่าง ๆ ใช้น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีปริมาณการใช้น้ำสูงสุด 554 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน สำหรับในช่วงฤดูแล้ง กรณีที่แม่น้ำเจ้าพระยามีสภาพเป็นน้ำกร่อย โรงไฟฟ้าฯ จะใช้น้ำจากการประปานครหลวงเป็นแหล่งน้ำสำรองสำหรับการ

ผลิตไฟฟ้า

และการอุปโภคบริโภค

 

         5. วงเงินลงทุนและแหล่งเงินลงทุน รวมทั้งสิ้นประมาณ 17,547.00 ล้านบาท ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายอุปกรณ์นำเข้าจากต่างประเทศ 10,393.70 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 59 ของวงเงินลงทุน  และค่าใช้จ่ายในประเทศ 7,153.30 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 41 ของวงเงินลงทุน โดย กฟผ. จะพิจารณาจากหลายแหล่งเงินทุน ทั้งนี้ ในหลักการ กฟผ. จะประสานงานกับ

กระทรวงการคลัง

ผ่านสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะในการพิจารณาแหล่งเงินกู้ตามภาวะตลาดการเงิน ดอกเบี้ย วิธีการและเงื่อนไขต่อไป

 

         6. ผลตอบแทนการลงทุน  อัตราผลตอบแทนการลงทุนของโครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์ (EIRR) คิดเป็นร้อยละ 21.07 และอัตราผลตอบแทนการลงทุนของโครงการทางด้านการเงิน (FIRR) คิดเป็นร้อยละ 20.06

 

         7. ประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ  รักษาระดับความมั่นคงของระบบไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นได้อย่างเพียงพอ ตลอดจนรักษาความสามารถในการจ่ายไฟฟ้าได้ตามมาตรฐาน อีกทั้งการก่อสร้างโรงไฟฟ้าไว้ใกล้ศูนย์กลางการใช้ไฟฟ้าจะช่วยลดความสูญเสีย ในระบบส่งไฟฟ้าได้

 

  --ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก

สุรยุทธ์ จุลานนท์

(นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 ธันวาคม 2549--จบ--