วิชาที่วิศวกรโยธาเรียนแล้วใช้ได้จริง
ReadyPlanet.com
bullet กฎกระทรวง กําหนดลักษณะอาคารประเภทอื่นที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. ๒๕๕๙
dot
Group Menu
dot
bulletวุฒิวิศวกรออกแบบโครงสร้าง
dot
Newsletter

dot
bulletโครงการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
bulletวิศวกร งานโลหะ และ เหล็ก
bulletสารพัดปัญหาของวิศวกรโยธา ก่อสร้าง
bulletรับรองความมั่นคงอาคาร โรงเรียนกวดวิชา วุฒิวิศวกร
bulletคณภาพของ วิศวกร
bulletไฟไหม้ กับ งาน วิศวกร โยธา
bulletPower Plant Job กับ งาน วิศวกร
bulletวิศวกรโยธา กับ ตลาด รับสร้าง บ้านชิ้นส่วนสำเร็จรูป
bulletวิศวกร กำหนด มาตราฐาน ออกแบบ แผนผังโรงงาน
bulletวิศวกร กับ การเลือกทำเล ที่ตั้งโรงงาน
bulletขอบเขตงานที่วิศวกร ระดับต่างๆ ทำได้ แก้ไขใหม่
bulletมาตรฐานกําหนดตําแหน่งสายงาน วิศวกรรมโยธา
bulletน้ำ และ สารผสม คอนกรีต
bulletgooglebc0321ea4a8e3495.html




วิชาที่วิศวกรโยธาเรียนแล้วใช้ได้จริง

สำหรับปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ วิชาเด่นๆ ที่นักศึกษาต้องเรียนมีดังนี้:

 

1. คณิตศาสตร์วิศวกรรม: เป็นวิชาพื้นฐานสำคัญที่ช่วยพัฒนาทักษะการคิดเชิงตรรกะและการแก้ปัญหา

   ครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับแคลคูลัส สมการเชิงอนุพันธ์ เวกเตอร์ และอื่นๆ

 

2. ฟิสิกส์วิศวกรรม: ศึกษากฎและหลักการทางฟิสิกส์ที่เป็นพื้นฐานของงานวิศวกรรม

   เรียนรู้เรื่องแรง พลังงาน ความร้อน แสง เสียง และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

3. เขียนแบบวิศวกรรม: ฝึกทักษะการเขียนแบบและอ่านแบบทางวิศวกรรม

   เรียนรู้การใช้เครื่องมือเขียนแบบ มาตรฐานการเขียนแบบ และซอฟต์แวร์ช่วยออกแบบ

 

4. กลศาสตร์วิศวกรรม: ศึกษาหลักการของแรง โมเมนต์ และการเคลื่อนที่ของวัตถุ

   ประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างทางวิศวกรรม

 

5. วัสดุวิศวกรรม: เรียนรู้คุณสมบัติ โครงสร้าง และการประยุกต์ใช้วัสดุต่างๆ ในงานวิศวกรรม

   ครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับโลหะ พอลิเมอร์ เซรามิก และวัสดุผสม

 

6. อุณหพลศาสตร์: ศึกษาหลักการของพลังงานความร้อนและการถ่ายเทความร้อน

   เรียนรู้กฎข้อที่หนึ่งและสองของอุณหพลศาสตร์ วัฏจักรความร้อน และระบบทางความร้อน

 

7. กลศาสตร์ของไหล: ศึกษาพฤติกรรมและคุณสมบัติของของไหล ทั้งของเหลวและก๊าซ

   ประยุกต์ใช้ความรู้ในการออกแบบระบบท่อ เครื่องสูบน้ำ และระบบไฮดรอลิกส์

 

8. ปฏิบัติการวิศวกรรม: ฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ

   พัฒนาทักษะการทดลอง วัด วิเคราะห์ผล และเขียนรายงานทางวิศวกรรม

 

9. วิศวกรรมไฟฟ้า: เรียนรู้พื้นฐานของวงจรไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องจักรกลไฟฟ้า

   ศึกษาการผลิต ส่งจ่าย และการใช้งานพลังงานไฟฟ้าในงานวิศวกรรม

 

10. ปัญญาประดิษฐ์สำหรับวิศวกร: เรียนรู้พื้นฐานของปัญญาประดิษฐ์และการประยุกต์ใช้ในงานวิศวกรรม

    ศึกษาเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง การประมวลผลภาพ และหุ่นยนต์อัตโนมัติ

 

11. วิศวกรรมซอฟต์แวร์: เข้าใจกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ตั้งแต่การวิเคราะห์ความต้องการจนถึงการทดสอบ

    เรียนรู้การเขียนโปรแกรม การออกแบบฐานข้อมูล และการบำรุงรักษาซอฟต์แวร์

 

12. การออกแบบเครื่องจักรกล: ศึกษาการออกแบบและสร้างเครื่องจักรกลต่างๆ ที่ใช้ในงานวิศวกรรม

    เรียนรู้การกำหนดขนาด เลือกใช้วัสดุ ออกแบบชิ้นส่วน และประกอบเครื่องจักรกล

 

13. การวิจัยดำเนินงาน: ศึกษาการประยุกต์ใช้ตัวแบบทางคณิตศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาในอุตสาหกรรม

    เรียนรู้การตัดสินใจเชิงปริมาณ การจัดลำดับงาน และการจัดสรรทรัพยากร

 

14. การจัดการโครงการวิศวกรรม: ศึกษาการวางแผน ประสานงาน และควบคุมโครงการวิศวกรรม

    เรียนรู้การบริหารต้นทุน เวลา คุณภาพ และความเสี่ยงของโครงการ

 

15. เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม: ศึกษาหลักการทางเศรษฐศาสตร์ที่ประยุกต์ใช้ในการตัดสินใจทางวิศวกรรม

    เรียนรู้การวิเคราะห์ต้นทุน การประเมินความคุ้มค่าของโครงการ และการเงินสำหรับวิศวกร 

 

16. การถ่ายเทความร้อน: ศึกษากลไกการถ่ายเทความร้อนแบบต่างๆ ทั้งการนำ การพา และการแผ่รังสี

    ประยุกต์ใช้ความรู้ในการออกแบบอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนและระบบทำความเย็น

 

17. พลศาสตร์: เรียนรู้การวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของวัตถุภายใต้แรงต่างๆ ทั้งแรงโน้มถ่วง แรงเสียดทาน และแรงภายนอก

    ประยุกต์ใช้ความรู้ในการออกแบบเครื่องจักรกลและยานพาหนะ

 

18. การออกแบบการทดลอง: ศึกษาเทคนิคการออกแบบและวิเคราะห์ผลการทดลองทางวิศวกรรม

    เรียนรู้การวางแผนการทดลอง การเก็บข้อมูล และการใช้สถิติวิเคราะห์ผล

 

19. วิศวกรรมการผลิต: ศึกษาหลักการและกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมการผลิตสมัยใหม่

    เรียนรู้การออกแบบสายการผลิต การวางแผนกำลังการผลิต และระบบอัตโนมัติ 

 

20. โครงงานวิศวกรรม: นำความรู้ทั้งหมดมาประยุกต์ใช้ในการทำโครงงานปีสุดท้าย

 

    พัฒนาทักษะการค้นคว้า ออกแบบ ปฏิบัติ แก้ปัญหา และนำเสนอผลงานทางวิศวกรรม

 

สำหรับวิชาเด่นๆ ในหลักสูตรปริญญาตรีและปริญญาโทวิศวกรรมโยธา มีดังนี้:

 

1. กลศาสตร์ของแข็ง: ศึกษาแรง ความเค้น ความเครียดในโครงสร้าง และการวิเคราะห์ความแข็งแรง

   ประยุกต์ใช้ในการออกแบบองค์อาคารต่างๆ เช่น คาน เสา และฐานราก

 

2. กลศาสตร์ของไหล: ศึกษาพฤติกรรมของของไหล สมการของการไหล และการประยุกต์ใช้งาน

   เรียนรู้การออกแบบระบบท่อ ทางน้ำ และเขื่อน สำหรับงานวิศวกรรมโยธา

 

3. ปฐพีกลศาสตร์: ศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและทางวิศวกรรมของดิน การไหลของน้ำใต้ดิน

   ประยุกต์ใช้ในการออกแบบฐานราก กำแพงกันดิน และความลาดเอียงของดิน

 

4. วัสดุวิศวกรรมโยธา: ศึกษาคุณสมบัติ พฤติกรรม และการทดสอบวัสดุก่อสร้าง เช่น คอนกรีต เหล็ก

   เรียนรู้การเลือกใช้วัสดุ การออกแบบส่วนผสมคอนกรีต และการควบคุมคุณภาพ

 

5. การวิเคราะห์โครงสร้าง: ศึกษาวิธีการวิเคราะห์แรงและการเสียรูปของโครงสร้างชนิดต่างๆ

   ประยุกต์ใช้ในการออกแบบอาคาร สะพาน และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ให้มีความแข็งแรงและมั่นคง

 

6. การออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก: ศึกษาหลักการและมาตรฐานการออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก

   เรียนรู้การออกแบบคาน พื้น เสา ฐานราก และองค์อาคารอื่นๆ ตามหลักวิศวกรรม

 

7. การออกแบบโครงสร้างเหล็ก: ศึกษาหลักการและมาตรฐานการออกแบบโครงสร้างเหล็ก

   เรียนรู้การออกแบบคาน เสา โครงถัก โครงสร้างเหล็กรูปพรรณ และจุดต่อ

 

8. วิศวกรรมการทาง: ศึกษาการสำรวจ ออกแบบ และก่อสร้างถนน ทางด่วน และทางรถไฟ

   เรียนรู้การวางแผนงานทาง วัสดุทางวิศวกรรม และการบำรุงรักษาระบบการทาง

 

9. วิศวกรรมแหล่งน้ำ: ศึกษาอุทกวิทยา ชลศาสตร์ และการจัดการทรัพยากรน้ำ

   เรียนรู้การออกแบบระบบชลประทาน เขื่อน อ่างเก็บน้ำ และระบบระบายน้ำ

 

10. วิศวกรรมขนส่ง: ศึกษาการวางแผน ออกแบบ และจัดการระบบการขนส่งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ

    เรียนรู้การวิเคราะห์ปริมาณจราจร การจัดการจราจร และความปลอดภัยในการขนส่ง

 

11. วิศวกรรมธรณีเทคนิค: ศึกษาคุณสมบัติ พฤติกรรม และการประยุกต์ใช้งานหินและแร่ในทางวิศวกรรม

    เรียนรู้การสำรวจธรณีวิทยา การออกแบบอุโมงค์ การระเบิดหิน และการป้องกันดินถล่ม

 

12. วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม: ศึกษาการควบคุมมลพิษ การจัดการของเสีย และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

    เรียนรู้การออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย การจัดการขยะ และการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

 

13. การประมาณราคางานก่อสร้าง: ศึกษาหลักการและวิธีการประมาณราคาโครงการก่อสร้าง

    เรียนรู้การถอดแบบ การคิดปริมาณวัสดุ การวิเคราะห์ต้นทุน และการเสนอราคางาน

 

14. การบริหารงานก่อสร้าง: ศึกษาหลักการบริหารและการจัดการโครงการก่อสร้าง

    เรียนรู้การวางแผนงาน การจัดสรรทรัพยากร การควบคุมต้นทุน เวลา คุณภาพ และความปลอดภัย

 

15. ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ในวิศวกรรมโยธา: ศึกษาการประยุกต์ใช้ GIS ในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่

    เรียนรู้การทำแผนที่ การสำรวจรังวัด การวางแผนการใช้ที่ดินและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

 

16. การออกแบบสนามบิน: ศึกษาการวางแผน ออกแบบ และก่อสร้างท่าอากาศยานทางพลเรือนและทางทหาร

    เรียนรู้การออกแบบทางวิ่ง ทางขับ ลานจอด อาคารผู้โดยสาร และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ

 

17. วิศวกรรมพลังงาน: ศึกษาระบบการผลิต การส่งจ่าย และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

    เรียนรู้การประเมินศักยภาพแหล่งพลังงาน การออกแบบระบบผลิตไฟฟ้า และการอนุรักษ์พลังงาน

 

18. สถิติและความน่าจะเป็นประยุกต์ในวิศวกรรมโยธา: ศึกษาการประยุกต์ใช้สถิติและความน่าจะเป็นในการวิเคราะห์ปัญหาทางวิศวกรรม

    เรียนรู้การวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือ ความเสี่ยง การทดสอบสมมติฐาน และการวางแผนการทดลอง 

 

19. วิศวกรรมแผ่นดินไหว: ศึกษาพฤติกรรมของโครงสร้างและฐานรากภายใต้แรงแผ่นดินไหว

    เรียนรู้การวิเคราะห์พลศาสตร์ของโครงสร้าง การออกแบบอาคารต้านทานแผ่นดินไหว และการเสริมความแข็งแรง

 

20. โครงงานวิศวกรรมโยธา: นักศึกษานำความรู้จากวิชาต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการทำโครงงานวิจัยหรือโครงงานออกแบบ 

    เป็นการบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมโยธาเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางานก่อสร้างจริง

ตอนเรียนวิศวกร เราก็ไม่รู้เรื่อง รายวิชาและเนื้อหาของรายวิชาทางด้านวิศวกรรมโยธา อาศัยใจรักที่อยากเป็น วิศวกรโยธา ทั้งที่ตอนนั้น เศรษฐกิจ ไม่ดีมาก และภายหลังก็เกิดฟองสบู่ ต้มยำกุ้งแตกอีก จนตามเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลกระทบมาที่เมืองไทย

แต่ก็โชคดีรอดมาได้จนถึงปัจจุบัน ได้ทำงานที่ชอบ หรือ บางทีก็ลองงานใหม่ๆได้โดยไม่เคยตกงาน จึงอยากที่จะแบ่งประสพการณ์ให้น้องๆ วิศวกร 

วิชา ที่ภาควิศวกรรมโยธา  ที่ผมเรียนไปเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว ส่วนใหญ่ ก็เกือบจะล้าสมัยไปหมดแล้ว จากตัวอย่างข้างบน ที่เพิ่งใส่เข้ามา ในปี 2567 เพราะเป็นวิชาพื้นฐานมากๆ วิชาที่เรียน บางวิชาไม่เคยได้ใช้เลย วิชาใหม่ๆ ต้องมาหาความรู้กับตำรา Code ของเมืองนอกตลอด ไม่งั้นก็ทำงานอินเตอร์ ไม่ได้จริงๆ อาจจะต้องปรับปรุง เพิ่มแขนงมากขึ้น เป็น ผังเมือง การจัดการน้ำดี น้ำเสีย พลังงาน ขนส่ง สะพาน อุโมงค์ เน้นๆ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน เรียนแบบที่ใช้ออกแบบครบวงจร ไปเลย และทำงานให้ตรงกับที่เรียนยาวนาน จนชำนาญ คิดวิธีใหม่ๆ วิสดุใหม่ ที่สร้างชื่อเสียงให้เป็นที่ยอมรับได้ในระดับประเทศ และ ระดับโลก ถ้าทำไม่ได้ก็คงตามหลัง ประเทศที่พัฒนาแล้วตลอดไป ช่องว่างห่างไปเรื่อยๆ ถึงแม้จะยังเป็น คณะวิศวกรรมอันดับหนึ่งในเมืองไทยอยู่ แต่ผลผลิต วิศวกรที่ไปทำงานใน ภาคเอกชนที่ผลิตออกมา ได้คุณภาพวิชาการ สมระดับหนึ่ง ไม๋ยังต้องคิดดูอยู่ก่อน

ประสพการณ์เป็นเรื่องที่สอนกันในมหาวิทยาลัยไม่ได้จริงๆ ทำงานที่ใหญ่ๆ เช่นโรงไฟฟ้า โรงถลุงเหล็ก โรงบำบัดน้ำเสียรวม รถไฟฟ้า สนามบิน เขื่อน สะพาน อุโมงค์ท่อน้ำ ก็มีอะไรให้เจอเยอะกว่าที่เรียนมากๆ วิศวกรที่ยึดแต่ตำรา ก็จะไม่รู้ที่จะพลิกแพลงอะไรได้เลย บางคนทำแต่งานที่ปรึกษา ไม่เคยทำงานรับเหมา ก็จะไม่รับความเสี่ยงอะไรเลย ทั้งที่ก็รู้ว่า บางทีหน้างานมันมีตัวบังคับไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไร ได้ ไม่เหมือนสร้างตึกใหม่ๆ บนที่ดินต่างจังหวัดโล่งๆ ส่วนใหญ่แล้วถ้าทำงานหน้าเดียวก็จะไม่สามารถ ผสมผสาน ความรู้ต่างๆ ที่เรียนมา และ ที่เจอที่ทำงานจริงๆในโครงการใหญ่ ซึ่งจะได้ถ่ายทอดจาก วิศวกร ต่างประเทศอีกที และ ควรศึกษา ความรู้ทั่วไปทางด้านไฟฟ้า เครื่องกล และ สุขาภิบาล ที่เกี่ยวข้องด้วยถ้าเป็นที่ๆมีคนจำนวนมากเข้าไปใช้งาน ควรมีทักษะทางด้านบริหาร จัดการคน การสื่อสารที่ดี ก็จะไปได้ไกลกว่าคนอื่นโดยไม่ต้องไปโกงใครเขา เพื่อนบางคนแม้จะเรียนธรรมดาๆ แต่พอทำงานในองค์กรใหญ่ๆ แล้วมีทักษะทางด้านบริหาร สามารถ แย่งการเติบโตข้ามวิศวกรที่ทำงานด้านเทคนิคไปไกลมาก เติบโตจนเป็นถึงกรรมการผู้จัดการบริษัทต่างชาติ สาขาประเทศไทย หรือบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ได้เลย แต่งานที่เป็นแบบต้องการ วิศวกรผู้รับเหมา ก็ต้องการคนอีกประเภทหนึ่งที่ความรู้วิชาการไม่มากแต่ ความรู้รอบตัว และเข้าใจคนรอบข้าง ปรับตัวเข้าหา แก้ไขปัญหาหน้างานได้ดีกว่า วิศวกรออกแบบ หรือ วิศวกรที่ปรึกษา

ประสพการณ์น้ำท่วมใหญ่ปี54 นี้ ยิ่งเห็นการผสมผสาน ทุกวิชาที่เรียนมา ทั้ง สถิติ การจัดการบริหารน้ำในเขื่อน ถนนหนทาง ที่จะใช้ได้ในช่วงน้ำท่วมหนัก ไม่เคยมีใครคิดมาก่อนว่าจะลำบากมากได้ขนาดนี้ การป้องกันนิคมอุตสาหกรรมโดยเขื่อนกันน้ำท่วม การสูบน้ำออก และ การกู้โรงงาน และนิคมที่โดนน้ำท่วมแล้ว งานใหญ่ๆ สมัยใหม่เค้าก็มีมาตราฐานที่ใช้ในการทำงาน เช่น การทำโครงการรถขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ โรงไฟ้าขนาดใหญ่ การวางระบบระบายน้ำของประเทศ ทีมีหลายหลายกลุ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง ตั้งแต่ นักลงทุนและผลตอบแทนที่จะได้ ต้องเป็นไปได้ ก่อนที่จะออกแบบ รายละเอียดและควบคุมงานสร้างจริงๆ และการซ่อมบำรุงอย่างมีประสิทธิภาพ และประหยัด การบริหารค่าบริการไปโน่นเลย ที่ วิศวกร เราต้องไปเรียนรู้เพิ่มเติม แต่ทั้งหมดมาในรูปภาษาอังกฤษ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีเวลาศึกษาบ้างก็จะล้าสมัยในเรื่องนั้นๆ ไปเลย

วิชาคอมพิวเตอร์ ด้าน Math จำเป็นอย่างมาก สามารถทำให้ช่วย วิศวกร โยธา คิดเป็นระบบและพัฒนาโปรแกรม ไว้ใช้เองได้ ลองศึกษาของต่างประเทศ แล้วมาหาโปรแกรมเสริมที่เป็นจุดเด่นเฉพาะ สามารถทำขายเป็นธุรกิจต่อไปได้ด้วย น่าจะมีการสอนสัก 20 หน่วยกิต แต่หาคนมีความรู้มาสอนยากมาก การทำระบบอาณัตสัญญาณในระบบรางขนส่งรถไฟฟ้า หรือ การทำโมเดลของน้ำมีคนที่รู้เรื่องจริงๆ น้อยมาก เฉพาะทำแค่ในสถานีสูบน้ำ ยังไม่ค่อยเห็นในเมืองไทยเลย แล้วยิ่งเป็นโมเดลของ มวลน้ำในทุ่งที่ท่วมไล่มาตั้งแต่นครสวรรค์ ยิ่งยากเข้าไปอีก

อีกวิชาที่ไม่ได้สอนกันที่มหาวิทยลัยเลย คือ ธรรมะ โชคดีที่ได้อ่านหนังสือของพุทธทาส หลายเล่มจบ ตั้งแต่ยังเรียน วิศวกรรม อยู่ แล้วก็ไม่ได้ปฎิบัติ เต็มที่เพราะมัวแต่ทำงาน แต่ดูรุ่นพี่ที่เขา ชอบปฎิบัติ แล้วมีความเจริญ เราก็ค่อยๆ ฟังต่อเรื่อยๆ จาก เทป ซีดี หลายๆท่านในภายหลัง มีความสุข ช่วยให้การทำงานไม่เครียดจนเกินไป รวมทั้งเรื่องการเจรจาต่อรอง ที่มีสอนกันบ้างแล้ว แต่ก็อาจจะช้าเกินไป วิศวกร ส่วนใหญ่ต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง

อีกวิชาที่ วิศวกร ควรเรียนเพิ่มเติม ก็คือ กฎหมายพื้นฐานทั่วไป ที่วิศวกร และ คนทั่วไปจำเป็นต้องรู้ พอที่จะเอาตัวรอดได้ในการทำนิติกรรม สัญญา

ช่วงที่ประเทศเรายังมัั่วๆ ไม่ได้เปิดเสรีทุกอย่าง ก้ได้ดาวโหบด ตำราต่างๆ มาเก็บไว้เยอะมากแต่ก็ไม่มีโอกาสได้อ่านเลย ก็ดูเหมือนยังไม่มีประโยชน์ อีกหน่อยคงต้องจัดระเบียบให้หากันได้ง่ายๆ และไม่เสียเงินแพงเกินไปในการใช้งาน

การสำรวจ (Surveying)

เท่าที่ผมได้ใช้งาน ก็เป็นค่าระดับ ในงานสถาปัตย์ จะผิดพลาดง่ายมาก ถ้าไม่ทำแบบ รูปตัดเยอะๆ ส่วนการหาค่าตำแหน่งเดี๋ยวนี้หาได้ง่ายมากๆ เพราะกล้องมีเป้าล่อ ความละเอียดสูงมาก หรืออาจใช้ดาวเทียมระบบ _GPS (อาจจะยังแพง หลักล้านบาทอยู่สำหรับงานสำรวจที่ใช้ได้จริง) แต่มีเวบของกรมโยธา ให้ใช้ปรับค่าตำแหน่งให้ใกล้เคียงมากขึ้น ลองเข้าไปใช้งานดู ฟรีครับ

บทนำเกี่ยวกับงานสำรวจ พื้นฐานงานระดับภาคสนาม หลักการและการประยุกต์ของกล้องระดับและวัดมุม การวัดระยะทางและทิศทาง ความคลาดเคลื่อนในงานสำรวจ การยอมรับค่าความคลาดเคลื่อน การปรับแก้ข้อมูล วงรอบสามเหลี่ยม การกำหนดที่แน่นอนของแอสซีมัธระบบพิกัดระนาบที่เที่ยงตรง ระดับที่แน่นอน รังวัดภูมิประเทศ การเขียนแผนที่เส้นชั้นความสูงการหาประมาณดินขุด ดินถม และการประยุกต์ ตอนนี้น้ำท่วมทุกคนก็จำเป็นต้องใช้วัดระดับของบ้านเรา กับระดับถนน เทียบกัน กับระดับน้ำทะเลที่สามารถพยากรเวลาขึ้นลงล่วงหน้าได้เป็นเดือนๆด้วย จึงจะประมาณการณ์ว่าบ้านเราน้ำจะท่วมสูงเท่าไร แต่บางทีก็ประมาณไม่ได้ถ้าเป็น การไหลไม่ปกติ มีการพังทลายของเขื่อนกระสอบทราย และผลของเครื่องสูบน้ำ วิศวกร ต้องไปวัดระดับน้ำกันจริงๆ และอัตราการไหลของน้ำเทียบกับระดับคันคลองเลยว่าจะล้นหรือไม่ วันต่อวันเลย

การทำแบบก่อสร้างจริง As-Built Drawing ที่ดีๆ ก้มักจะถูกละเลยในงานก่อสร้างที่เสร็จเพราะ ไม่ได้ทำเก็บไว้ตอนก่อสร้างจริงๆ มีการเปลี่ยน วิศวกร บ่อยๆ พอไปช่วงท้ายๆ ของงาน หรือ งานทำจบไปนานแล้ว ก็มักจะลืมๆ กันไป พอมาทำงานส่วนที่อยู่ใต้ดินมักจะเสียหายจากการขุด เพราะไม่ทราบว่ามีท่อ หรือ สายไฟฟ้า อะไรอยู่ใต้ดิน ตำแหน่งไหน บ้าง

ตอนเรียนก็ไม่ค่อยได้ใช้ระดับน้ำทะเลปานกลาง MSL (Mean sea level) แต่พอทำงานแล้ว ได้ใช้แทบทุกงานเลย มันก็เป็นระดับที่เค้าใจได้ยากเหมือนกัน เป็นความเข้าใจเมื่่อทำงานไปสักพัก ยิ่งมาเจอช่วงน้ำท่วมใหญ่ปี54 นี้ก็ยิ่งเห็นพูดกันมากขึ้นๆ คนทั่วไปก็รู้เรื่องระดับน้ำเท่า วิศวกร เลย ถ้าได้ไปดูงาน คันดิน รอบนิคมฯ ที่ อยุธยา งานเขื่อน หรือ พื้นที่ใหญ่ๆ งานโยธา งานดินมากๆ กว่าจะทำ Detail ของรูปตัดคันดินที่จะปรับปรุงใหม่ ทับกับรูปเก่าที่ต้องปรับพื้นที่ให้ต่างๆที่เกี่ยวข้องได้ และยังต้องเจาะสำรวจดิน อีก วิศวกรสำรวจสำคัญมากสำหรับงานที่ใหญ่ๆ

เห็นมีโปรแกรมที่วัดระดับพื้นดินได้ โดยใช้ข้อมูลดาวเทียม เพียงแค่ป้อนค่าพิกัด latitude และ longtitude มันจะง่ายอย่างนั้นเลยหรือ ไม่เคยลองเหมือนกัน ถ้าได้ทำก็คงเหมือนตอนได้สัมผัสกล้องสำรวจ ตอนแรกก็งงๆ แต่ทำไปเยอะๆ ก็เป็นไปโดยอัตโนมัติไปเลย ก็เริ่มมีงานดินเข้ามาให้ลองทำดูบ้างหลังจากทำงานโครงสร้างมานาน การสลับงานก็ทำให้ไม่เบื่อดี แต่ก็ได้ทำงานได้หลายหลายขึ้นยากขึ้น งานขั้นตอนราชการ บางทีก็ทำให้ต้องเลี่ยงไปทำงานเพิ่มที่ยากกว่า งานวิศวกรรมง่ายๆ ถ้าไม่มีเรื่องผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวขอ้ง

บางทีเรื่องของคนพิการ ที่จะต้องเผื่อให้เข้ามาใช้งานใน อาคาร หรือ สถานีรถไฟฟ้า ก็มีลิฟท์ที่กินพื้นที่มาก พอสมควร บางที่ที่ พื้นที่จำกัดมากๆ ก็ต้องปรับปรุงแบบเป็นอย่างมากเลย เพื่อให้ มีความปลอดภัย ต่อคนส่วนใหญ่ที่ใฃ้งาน ในขณะที่เวลา เปิดใช้งานจริง พวกนี้ วิศวกร จะต้องไปศึกษาเพิ่มเติม จาก Code ของเมืองนอก เช่น NFPA ทำงานคำณวนหนักไปทางเรื่อง จัดการอย่างไรให้มีความปลอดภัย ซื่งก็ควรจะเริ่มสอนกันบ้าง คนรู้เรื่องนี้ในเมืองไทยยังน้อยอยู่ แค่กฎกระทรวงกฎหมายควบคุมอาคาร บางทีก็ไม่มีที่มาที่ไป ให้รู้เหตุผลที่ต้องทำอย่างนั้น อย่างนี้


คอนกรีตเทคโนโลยี (Concrete Technology)

เท่าที่ผมได้ทำงานมา คอนกรีตเป็นวัสดุก่อสร้างที่ดีที่สุด และ มหัศจรรย์ที่สุดที่เกิดขึ้นในโลก โดยมนุษย์ เพราะเราสามารถหล่อขึ้นรูปร่างอะไรก็ำได้ โดยโปรแกรมรุ่นใหม่ๆ สามารถวิเคราะห์หาแรงในโมเดลโค้งๆ ก็ได้  หรือถ้าจะทำงานเป็นอุตสาหกรรมก็คือ หล่อสำเร็จรูปบ่มด้วยไอน้ำและดึงลวดด้วย ก็จะได้โครงสร้างที่ทนทานและทำได้เร็วมากๆ บางทีก็ต้องศึกษาเรื่องการเสียหายของคอนกรีต และเหล็กเส้นด้วย เพื่อจะได้แก้ไขงานที่เสื่่อมสภาพ หรือ บกพร่อง

วัสดุ ซีเมนต์ หิน ทราย น้ำ การออกแบบส่วนผสม การควบคุมคุณภาพ การทดสอบการรับแรงดึง แรงอัด ส่วนผสมของคอนกรีต ชนิด การเคลื่อนย้าย การเก็บ การทดสอบยอมรับข้อกำหนดมาตรฐาน คุณสมบัติของคอนกรีต การออกแบบส่วนผสม การควบคุมคุณภาพคอนกรีต คอนกรีตชนิดพิเศษ สารผสมเพิ่ม การทดสอบคอนกรีตและส่วนผสม

วิชาที่ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย แต่ใช้กันบ่อยมากก็คือ การตรวจสอบสอบ และซ่อมแซมงานคอนกรีตที่เสียหาย จากหลายๆสาเหตุ เพราะเวลาจะสร้างใหม่แม้จะมีเงินก็ไม่สามารถสร้างได้ เพราะอาจจะติดขัดเรื่องกฎหมายเขตก่อสร้าง หรือ ความงามแบบเก่าๆ ที่ต้องการเก็บไว้ใหคนรุ่นหลังดู ก็ต้องซ่อมกันไป ให้มีความแข็งแรงอยู่ไปได้อีก หลายสิบปี ค่อยมาซ่อมกันใหม่ ส่วนนี้ไม่มีที่ให้เรียนรู้จริงจัง วิศวกร ต้องค้นคว้าหาแหล่งความรู้ ลองผิดลองถูกกันเอง

เงื่อนไขบางอย่างทำเป็น คอนกรีตกันกั้นน้ำ อาจจะราคาถูกกว่า ทำคันดินกันน้ำ เพราะดินเดิมอ่อนมากเกินไปที่จะรับน้ำหนักดินสูงๆ ได้ งานคอนกรีตและเสาเข็มคอนกรีตจึงเข้ามาแทนที่งานดิน ได้ แต่ส่วนใหญ่ก็จะมีปัญหาตรงรอยต่อคอนกรีต กับการกันน้ำ วิศวกร ที่ทำงานใหญ่ๆ ก็ออกแบบให้เป็น Sheet pile Concrete แผ่นใหญ่ ติดตั้ง เหมือน Steel Sheet Pile  คือ ใช้ เครื่องสั่น หนักๆ กดหัวไว้ให้จมลงไปเรื่อยๆ สำหรับโรงงานเล็กๆ คงต้องใช้ ชิ้นส่วนสำเร็จรูปเบาๆ มาทำงานแทน

เศรษฐศาสตร์วิศวกรรมสำหรับวิศวกรโยธา (Engineering Economics for Civil Engineer)

วิชานี้ วิศวกร ได้ใช้นิดหน่อยช่วงที่ทำบริษัท บ้านจัดสรร และ คอนโด ครับ แต่ก็ไม่ชำนาญ เพราะไม่ได้เป็น นักบริหารโครงการเต็มที่ เขาจะมีฝ่ายขาย ฝ่ายการเงิน โดยเฉพาะอยู่แล้วและ ธนาคารในเมืองไทย ไม่ได้ใช้หลักการที่แท้จริงเท่าไร   ใช้เส้นสายได้จริงๆ  ทำให้เกิดฟองสบู่แตกได้ หลายๆ ครั้งในหลายแห่งของโลก แต่ช่วงน้ำท่วมคงจะได้ใช้กันเต็มที่เพราะมีพื้นที่ที่ต้องฟื้นฟูมากมาย กว่างบประมาณปรกติของประเทศ จำเป็นต้องไปกู้เงินเขามาใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุด ทั้งด้านการผลิตของโรงงาน และถนนหนทางที่ต้องซ่อม และการใช้ผังเมืองร่วมกับการป้องกันน้ำท่วมอีกในปีหน้า

วิธี การเปรียบเทียบ ค่าของเงิน ค่าเสื่อมราคา การประเมินค่า การหาอัตราผลการตอบแทน การทดแทนทรัพย์สิน ความเสี่ยงและความไม่แน่นอน การประมาณค่าผลสืบเนื่องของภาษีเงินได้ การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน การวิเคราะห์ความไวต่อการเปลี่ยนแปลง ศึกษาการวิเคราะห์โครงการงานด้านวิศวกรรมโยธา

ชลศาสตร์ (Hydraulics)

วิชานี้ วิศวกร ส่วนใหญ่ครั้งหนึ่ง น่าจะได้ใช้ในงาน civil ที่เกี่ยวข้องกับ ท่อน้ำขนาดใหญ่ ปั๋มน้ำ การใส่ข้อต่อ วาลว์ วิเคราะห์ surge analysis,siphon effect  แต่ใช้โมเดลที่ต้องใช้ Lab เมืองนอกอยู่

คุณสมบัติของของไหล สถิตยศาสตร์ของของไหล หลักพลังงานและโมเมนตัมในการไหลแบบคงตัว แรงไดนามิกส์ในการไหล การวิเคราะห์ปริมาตรควบคุม การไหลในท่อ การไหลในทางน้ำเปิด การไหลแบบคงตัว การไหลแบบสม่ำเสมอและไม่สม่ำเสมอ การออกแบบทางน้ำเปิด หน้าข้างการไหล การวิเคราะห์มิติและความคล้ายคลึง เครื่องจักรกล กังหัน การวัดการไหล น้ำท่วมคราวนี้ก็จะได้เห็นความสำคัญของวิชานี้มากขึ้น การจัดการบริหาร น้ำที่อยู่ในเขื่อน และที่ระบายลงมา และการระบายออกจากที่ราบภาคกลางให้ทัน ไม่งั้นก็ท่วม ที่ผ่านมา มักไม่เห็นความสำคัญ เป็นเมียน้อยสาขาอื่นๆ

น้ำท่วมคราวนี้คงไม่มีใคร ไม่รู้จัก อาจารย์เสรีย์ วิศวกร ที่มา วิจารณ์ เรื่องน้ำท่วมอย่างตรงไปตรงมา ตามหลักวิศวกรรมจริงๆ  ไม่มีเรื่องการเมือง ที่มักหลอกลวงชาวบ้านให้เข้าใจผิดๆ ชาวบ้าน ให้ได้เข้าใจเรื่อง ปริมาณในทุ่ง อัตราการสูบน้ำ กี่ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที อัตราการไหลของน้ำ เทคนิคการเปิดปิดประตูน้ำ และเครื่องสูบน้ำในการบริหารจัดการน้ำแบบ ที่ไม่เคยเจอมาก่อน แต่ก็ไม่ได้ทำอะไรตามหลักวิศวกรรมก่อนทั้งที่รู้ล่วงหน้าก่อนท่วม กรุงเทพฯ ปทุมธานี นนทบุรี สองเดือน

วิศวกรรมสำรวจ (Surveying Engineering)

 

วิชานี้ก็ใช้มากที่สุด ผมเห็น วิศวกร ที่ไซต์ยังทำหาพิกัด ไม่เป็นเลยก็มี แต่เขาก็จ้างกันได้

ลักษณะ ภูมิประเทศ ชนิดของกล้องวางแนวพร้อมส่วนประกอบ การปรับแก้กล้องวางแนวหลักของการวางแนว การวัดมุมราบและมุมดิ่ง การทำวงรอบโดยกล้องวางแนว การคำนวณและการปรับแก้วงรอบ เส้นชั้นระดับ การเขียนเส้นชั้นระดับ การทำวงรอบโดยวิธีสเตเดีย การสำรวจงานทาง ชนิดของโค้งแนวราบ ส่วนประกอบโค้งแนวราบ วิธีการวางโค้งแนวราบ วิธีการโค้งก้นหอยและการยกระดับขอบทาง การทำสโลปสเต็ก โค้งแนวดิ่ง ส่วนประกอบโค้งแนวดิ่งระยะการมองเห็น การคำนวณพื้นที่และปริมาตรของหน้าตัดการขุดและถมดิน การคำนวณงานดินเพื่อการประมาณเบื้องต้น และในการก่อสร้างจริง การสำรวจเพื่อการก่อสร้าง การสำรวจโดยใช้ดาวเทียม เดี๋ยวนี้มีการประยุกต์ใช้ดาวเทียมมาช่วยในการทำให้งานสำรวจ หน้าใหญ่ๆ ทำระดับพื้นที่ที่จะทำการศึกษาระะดับเพื่อออกแบบได้เร็วขึ้นมาก แม้อุปกรณ์ที่ให้ความละเอียดสูงยังมีราคาแพงอยู่มาก แต่ วิศวกร ก็ควรที่จะติดตามเทคโนโลยีนี้ ของฟรีก็มีให้ใช้ใน Google ช่วงนี้ใช้ดูน้ำท่วมก็ได้

วิศวกรรมธรณี (Geology Engineering)

 

วิชานี้ วิศวกร ใช้มากที่สุดเลย เพราะทุกอย่างต้องตั้งอยู่บนดิน แต่ส่วนใหญ่จะใช้ผู้เชี่ยวชาญ ไม่กี่คนในเมืองไทย เพราะเขามีประสพการณ์สูงมาก ทำมากผิดมาก ก็รู้มากตามไปด้วย

ธรณี วิทยาทั่วไปเกี่ยวกับวิศวกรรมโยธา แร่ประกอบหินที่พบโดยทั่วไป ลักษณะและการกำเนิดหินโดยทั่วไป ลักษณะพื้นผิวของเปลือกโลก ธรณีวิทยาของแหล่งน้ำธรรมชาติ อ่างเก็บน้ำและที่ตั้งเขื่อนกั้นน้ำ การควบคุมการกัดเซาะและน้ำท่วม การพัฒนาและปรับปรุงแม่น้ำและอ่าว องค์ประกอบทางธรณีวิทยาที่มีผลต่อการทำเหมืองหิน การขุดเจาะอุโมงค์ แผ่นดินเคลื่อน แผ่นดินทรุด ฐานของสิ่งก่อสร้างและวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง สิ่งที่อยู่ใต้ดินเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น แต่เราจะเป็นต้องใช้ประโยชน์จากทุกสิ่งที่เราต้องการที่จะสร้างบนนั้น หรือ เอาสิ่งที่อยู่ใต้ดินนั้นมาใช้งาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย

น้ำท่วมคราวนี้ เราได้เห็นเขื่อนกันดินพังให้เห็นมากมาย หลายนิคม เพราะมักไม่ค่อยให้ความสำคัญกับ วิศวกร มักให้ค่าความปลอดภัยในงานส่วนนี้น้อยเกินไป ต้องโดนน้ำมากจริงๆ ถึงจะเห็นว่าอยู่หรือไม่อยู่ แล้วความเสียหายเป็นหมื่นล้านในคันดิน ก็ไม่คุ้มเลย

ช่วงนี้เห็นข่าวถนนในกทม.ทรุดตัวมาก มันก็เป็นธรรมชาติ ที่ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่มองไม่เห็น เนื้อดินที่หายไปใน เวลาที่เปลี่ยนแปลง เพราะมีน้ำเข้ามามีส่วน

อุทกวิทยา (Hydrology)

วิชานี้ วิศวกร ก็ใช้มากเพราะ ประเทศไทย ยังมีพื้นที่ ที่มีน้ำใช้ไม่เพียงพอ การประปา ยังไม่มีทั่วประเทศ บริษัท เอกชนที่ทำเรื่องน้ำใช้ ก็มี

ความรู้เบื้องต้นทาง อุทกวิทยา น้ำจากอากาศ การสูญเสียชนิดต่างๆ ทางอุทกวิทยา (การซึม การระเหย ฯลฯ) น้ำท่า กราฟน้ำท่า การเดินทางของน้ำหลาก น้ำใต้ผิวดิน การพยากรณ์อากาศกลายเป็นเรื่องที่สำคัญมากในช่วงสมัยนี้ ที่โลกร้อน ทำให้เกิด ภัยธรรมชาติ จากน้ำมากมาย พายุมีความรุนแรงและมาถึ่มากขึ้น

การวิเคราะห์โครงสร้าง 1 (Structural Analysis 1)

วิชานี้ วิศวกร ใช้มากที่สุดสำหรับงานอาคาร  การมองอะไรเป็นรูป สามมิติ ให้ออก จะเข้าใจได้ง่ายขึ้น

การ วิเคราะห์โครงสร้างเบื้องต้น แรงปฏิกิริยา แรงเฉือนและโมเมนต์ในโครงสร้างอย่างง่าย สถิตยศาสตร์ กราฟิก เส้นอิทธิพลของโครงสร้างดีเตอร์มิเนตและน้ำหนักบรรทุกจรที่มีการเคลื่อนที่ การโก่งตัวของโครงสร้างวิธีงานเสมือน วิธีพลังงานและวิธีแผนภูมิวิลลอต – โมร์ วิธีคานคอนจูเกต การวิเคราะห์อย่างประมาณ การวิเคราะห์โครงสร้างอย่างยากเบื้องต้น พื้นฐานนี้เป็นหัวใจของการทำงานอาคารในเมืองไทย เลย เพราะ งานส่วนใหญ่ที่มีในเมือง ก็ยังเป็นงานอาคาร ก็ยังใช้ระบบ คาน พื้น เสา เป็นจำนวนมาก งานโครงสร้างยากๆ ใหญ่ๆมีน้อยกว่าเยอะ วิศวกรที่จบใหม่ๆ ก็มักจะถูกให้ทำงานเกี่ยวกับ บ้าน อาคาร ศูนย์การค่า โรงแรม ซึ่งก็เป็นการฝึกงานช่วงแรก เพราะงานอื่นๆที่สำคัญ ไม่มีให้ทำมาก โขคดีที่ รถติดมากๆ ก็ต้องทำรถไฟฟ้า และมีเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ที่กรุงเทพฯ ก็คงมีโครงการ ชลประทาน การจัดผังเมืองใหม่ ทำสะพานใหญ่ๆ นอกจากงานสร้างถนนเจ็ดชั่วโครต เข้ามาให้ วิศวกรได้ทำงานที่ท้าทายบ้างละ

การวิเคราะห์โครงสร้าง 2 (Structural Analysis 2)

ผมว่า วิศวกรที่เพียงใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ อาจจะเสียอนาคตได้ง่าย ถ้าไม่มีพื้นฐาน และต้อองมีประสพการณ์ก่อสร้างจริงมาสักพัก บางทีพบว่าเป็น สามัญวิศวกร แล้ว ยังไม่เข้าใจ ระบบความมั่นคงโดยรวมก็มี การใช้ Load Factor น้อยๆ ตามมาตราฐาน เมืองนอก โดยไม่ได้เช็ค ทุกกรณี จะไม่ปลอดภัยพอ หากไม่มีประสพการณ์สูงจริงๆ

การ วิเคราะห์โครงสร้างประเภทอินดีเทอร์มิเนต วิธีน้ำหนักบรรทุกยืดหยุ่น วิธีสมการสามโมเมนต์ วิธีความโก่งและความชัน วิธีการกระจายโมเมนต์ หลักการพลังงาน เส้นอิทธิพลของโครงสร้างอย่างยาก คานต่อเนื่อง โครงข้อหมุนและโครงข้อแข็ง วิธีเสาอุปมาน ความรู้เบื้องต้นทางการวิเคราะห์แบบพลาสติก ความรู้เบื้องต้นวิธีวิเคราะห์โครงสร้างโดยใช้เมตริก การวิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีไฟไนต์เอลเลเมนต์เบื้องต้น

ปฏิบัติการทดสอบวัสดุ (Material Testing Lab)

วิชานี้ วิศวกร ก็ใช้มากที่สุด สำหรับ วิศวกรควบคุม งานก่อสร้าง เพราะต้อง ควบคุมงานให้ได้ตามที่ วิศวกรผู้ออกแบบกำหนดไว้

ศึกษาพฤติกรรมและการทดสอบวัสดุที่ใช้ในงานวิศวกรรมโยธาโดยทั่วไป เช่น เหล็ก ไม้ อิฐ เหล็กหล่อ และคอนกรีต เป็นต้น

ส่วนเวลาทำงานจริงๆ บางส่วนที่ต้องการวิเคราะห์แบบแรงแปรผันกับความเครียดไม่เป็นเส้นตรงเช่นงานดินที่เคลื่อนตัวไปขณะรับแรงไป ส่วนนี้เป็นส่วนที่ยากมาก บางทีก็ต้องลองหลายๆ ครั้งและใช้ประสพการณ์มากประกอบในการใส่ค่าประมาณ

ปฐพีกลศาสตร์ (Soil Mechanics)

วิชานี้ วิศวกร ใช้มากที่สุด สำหรับ วิศวกรผู้ออกแบบ เพราะจะ้ต้อง รับผิดชอบต่อ แรงที่กระทำต่อฐานราก หรือ โครงสร้าง เขื่อน หรือ งาน อุโมงค์ และอื่นๆ อีกมากมาย

กำเนิดของ ดิน การจำแนกประเภทของดิน การสำรวจดิน การไหลของน้ำในดิน หน่วยแรงในมวลดิน หน่วยแรง – หน่วยเครียดและแรงเฉือนของดินเม็ดหยาบ คุณสมบัติทางด้านแรงเฉือนของดินเม็ดละเอียด การทรุดตัว ทฤษฎีการอัดตัว การบดอัดดิน ทฤษฎีความสามารถในการรับน้ำหนักของดิน

การออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforced Concrete Design)

คอนกรีตเป็นวัสดุที่ดีที่สุดที่จำเป็นต้องใช้ วิศวกรโยธา ไม่มีทางที่จะทำงานด้านนี้ ได้ ถ้า วิศวกร ไม่รู้เรื่องนี้ดีพอ

พฤติกรรม ในโครงถัก แรงผลักดัน แรงดัด แรงบิด แรงเฉือน แรงยึดเหนี่ยว และการถ่ายเทระหว่างแรง การออกแบบคานคอนกรีตเสริมเหล็กด้วยวิธีหน่วยแรงใช้งานและวิธีกำลัง การออกแบบองค์อาคารของระบบโครงสร้างคือ แผ่นพื้น คาน เสา บันไดและฐานราก และปฏิบัติการออกแบบ

วิศวกรรมการจราจร (Traffic Engineering)

ผมไม่ได้ใช้วิชานี้เลย เพราะไม่ได้ทำงาน ถนน เลย แต่เพื่อน วิศวกร ที่เรียนทางนี้ ก็เป็นถึงหัวหน้าภาควิชานี้ที่จุฬาฯ แล้ว

องค์ ประกอบทางด้านการจราจร ลักษณะและความสัมพันธ์ระหว่าง คนขับ รถยนต์ คนเดินเท้า และถนนในการจราจร การศึกษา การสำรวจปริมาณจารจร และหาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณความเร็วและความหนาแน่นของการจราจร การออกแบบและกำหนดตำแหน่งอุปกรณ์ควบคุมการจราจร เครื่องหมายจราจร ป้ายจราจร และสัญญาณไฟจราจร การควบคุมและออกแบบสัญญาณไฟในลักษณะของระบบ และการควบคุมจราจรเต็มพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ความปลอดภัยทางด้านจราจร และกฎระเบียบของการจราจรและการจัดการทางด้านจราจร ทุกอย่างมีวิธีการคำนวณ ได้หมด และเป็นอีกเรื่องที่ วิศวกร ต้องเรียนรู้ ถ้าไปทำงานในหน่วยงานแบบนี้

การออกแบบโครงสร้างไม้และเหล็ก (Timber and Steel Design)

วิชานี้ วิศวกร ก็ใช้มาก สำหรับ ไม้ใช้กับ โครงสร้างชั่วคราว ไม้แบบ แต่เหล็กใช้มาก มากขึ้น เพราะ ทำได้สะดวกรวดเร็ว เหมาะกับงานโรงงานตั้งแต่ ขนาดเล็ก และ ขนาดใหญ่

การ ออกแบบโครงสร้างไม้และโครงสร้างเหล็ก องค์อาคารรับแรงดึงและแรงอัดคาน และองค์อาคารรับแรงดัด แรงในแนวแกนองค์อาคารประกอบ คานประกอบการต่อและรอยต่อขององค์อาคารไม้และองค์อาคารเหล็ก ปฏิบัติการออกแบบ และศึกษาการออกแบบโครงสร้างเหล็กโดยวิธีพลาสติกเบื้องต้น

วิศวกรรมสุขาภิบาลและการประปา (Sanitary Engineering and Water Supply)

ส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นพวกต่อ ปริญญาโทในสาขา วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ที่จะทำงานใน สาขานี้ครับ เพราะโยธาเรียนแค่พื้นฐานเท่านั้น ไม่ค่อยมีโอกาได้ทำ เท่าไร บางทีเป็น วิศวกรสุขาภิบาล วิศวกรเครื่องกล หรือ วิศวกรโยธา ที่ถูกบริษัทฯ บังคับให้ทำก็เลยต้องทำจนลองผิดลองถูก แล้ว ก็ชำนาญไปเอง

แหล่ง น้ำ มาตรฐานน้ำดื่ม ความต้องการใช้น้ำ การประปาโดยใช้น้ำใต้ดิน การส่งและกระจายน้ำ การออกแบบระบบประปาในอาคาร การบำบัดน้ำเสีย เช่น การดัดขยะโดยตะแกรง การตกตะกอน การกรอง การลดโลหะหนักในน้ำการกำจัดรสและกลิ่นในน้ำ เป็นต้น การออกแบบระบบระบายน้ำในชุมชน การออกแบบระบบระบายน้ำเสียแบะน้ำฝนในอาคาร

เครื่องจักรกลงานก่อสร้าง (Construction Equipments)

ผมเองไม่ค่อยได้ใช้เลย จะเป็นพวก วิศวกรฝ่ายเครื่องจักรของ ผู้รับเหมาก่อสร้าง หรือ วิศวกรประจำโรงงานต่างๆ เช่น โรงผสมคอนกรีต โรงงานผลิตเสาเข็ม

เครื่อง จักรอุปกรณ์การก่อสร้างอาคาร งานถนน งานเชื่อม รถบรรทุก สายพานลำเลียง รถขุดตักประเภทต่างๆ ปั้นจั่น เครื่องผสมคอนกรีต การเลือกเครื่องจักรและการคิดต้นทุน

เทคนิคการก่อสร้าง 1 (Construction Technique 1)

ถ้าอยู่ฝ่ายวิศวกรผู้รับเหมา จะต้องใช้มากที่สุด

เทคนิค วิธีการก่อสร้างอาคารและถนน การวางแผนงานการปักผัง การจัดงานสนาม งานคอนกรีต งานไม้ งานก่อ งานฉาบ งานเชื่อม การเลือกใช้วัสดุและเครื่องจักรเครื่องมือ การก่อสร้างอาคารสูงและงานใต้ดิน

เทคนิคการก่อสร้าง 2 (Construction Technique 2)

ส่วนนี้จะเป็นงานใหญ่ ฝ่ายออกแบบต้องปรึกษา วิศวกรผู้รับเหมาที่ชำนาญ แล้วจึงสรุป แบบที่เหมาะสม ราคาถูก องค์กรใหญ่ๆ จะต้องใช้มากที่สุด

เทคนิค วิธีการก่อสร้างอาคารพิเศษ สะพาน สนามบิน การก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินสำหรับรถยนต์ รถไฟ อุโมงค์ส่งน้ำ อุโมงค์สำหรับบริการสิ่งสาธารณูปโภค อุโมงค์น้ำเสีย การก่อสร้างไซโลและถังเก็บกักต่างๆ งานก่อสร้างใต้ดินลึก วิธีการสร้างลงล่างและสร้างขึ้นบน การใช้ระบบชิ้นส่วนสำเร็จและชิ้นส่วนย่อย

วิศวกรรมการทาง (Highway Engineering)

ประเทศไทยเราใช้งบประมาณไปกับ งานถนน มากที่สุด วิศวกร ด้านนี้ ก็มีมาก จึงมีงานทางมาก และคนที่ใช้ก็มาก ระดับหนึ่ง แต่ผมเองไม่ได้ใช้เลย เพราะทำแต่งานเอกชน มีงานถนน สะพานง่ายๆไม่ยุ่งยาก

ความ เป็นมาของการพัฒนาทางด้านถนนและทางหลวง องค์กรบริหารทางด้านถนนและทางหลวง การออกแบบด้วยเรขาคณิตและวิธีดำเนินการ ถนนในตัวเมืองและชนบท การศึกษาวิเคราะห์ปริมาณยวดยานของถนน เทคนิคการก่อสร้างถนนและเครื่องมืออุปกรณ์ในการก่อสร้างวัสดุที่ใช้ในการก่อ สร้างถนน โครงสร้างถนน การออกแบบผิวทางชนิดยืดหยุ่นและชนิดแข็งการศึกษาความเป็นไปได้ทางด้าน เศรษฐศาสตร์ของถนน การวางแผนและศึกษาความต้องการในระยะยาว

การออกแบบฐานราก (Foundation Design)

วิชานี้ผมใช้มากที่สุด เพราะอาคารทุกหลังต้องมีฐานราก และงานขุดดินห้องใต้ดินก็ต้องใช้ แต่วิศวกรส่วนใหญ่มักจะกลัว เพราะมันมองไม่เห็น แต่เดี๋ยวนี้ก็มีวิธี ซ่อมแซม แก้ไข แบบใหม่ๆ มาช่วยเยอะ เพราะมีเครื่องจักรหนัก ต่างๆ ทำให้ เร่งการคลายน้ำออกจากดินเดิม ได้ หรือ เจาะเสาขนาดใหญ่มากๆ  ลึกมากๆ ได้

การ ประยุกต์หลักการปฐพีกลศาสตร์กับปัญหาทางวิศวกรรมฐานราก การตรวจสอบสถานที่ก่อสร้าง ความสามารถในการรับแรงของมวลดิน การออกแบบฐานรากระดับตื้นและฐานรากเสาเข็ม การกระจายหน่วยแรงในมวลดิน การวิเคราะห์การทรุดตัว แรงดันด้านข้าง การออกแบบกำแพงดิน เสถียรภาพความลาด วิศวกร ต้องมีประสพการณ์บ้าง จึงพอทำได้ดี ควรอ่าน วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวขอ้งเยอะๆ จะได้ประหยัดเวลาที่จะสูญเสียอนาคต ถ้าออกแบบผิดพลาดได้

การบริหารงานก่อสร้าง (Construction Management)

วิชานี้ วิศวกรที่ใช้ ต้องอยู่บริษัท ฝรั่งที่ใหญ่ โครงการใหญ่ จริงๆ ถึงจะลงทุน ทั้งบุคคลกร และ ซอฟแวร์ นอกนั้นก็ทำเป็นแค่พิธี แค่นั้น บริษัท ไทย หรือ จีน เกาหลี ยังไม่เห็นทำได้จริงๆ

ศึกษา ระบบการนำส่งโครงการ อุตสาหกรรมการก่อสร้าง หลักการบริหารงาน องค์กรโครงการก่อสร้าง การวางผังหน่วยงาน การศึกษาความเป็นไปได้ด้วย CPM และ PERT การจัดการทรัพยากร การวัดและประเมินผลความก้าวหน้า ความปลอดภัยในการก่อสร้าง ระบบคุณภาพ เครื่องมือวางแผนและควบคุม เป็นต้น

การประมาณและวิเคราะห์ราคา (Construction Cost Estimation and Analysis)

วิชานี้ก็ได้ใช้มาก แต่บางทีไม่จำเป็นต้องเป็น วิศวกร ก็ทำได้ ผู้รับเหมา ที่ประมูลงานมาเยอะ บางทีตีเป็น ตารางเมตร ยังแม่นกว่า ยกเว้นงานโครงสร้างขนาดใหญ่ หรืองานที่มีรายละเอียดมากๆ ที่ต้องคำนวณ วิธีการก่อสร้างแบบที่ประหยัดที่สุด เร็วที่สุดด้วย เพราะทุกอย่างต้องใช้เงิน ทั้งค่าแรง ค่าของ ค่านั่งร้านประกอบ วิธีการก่อสร้างบางอย่างแพงมากกว่าเนื้องานจริงๆ อีก เพราะทำได้ยากมาก

หลัก การประมาณราคา การประมาณอย่างหยาบ การประมาณอย่างละเอียด การประมาณอย่างต่อเนื่อง การวิเคราะห์ต้นทุนของแรงงานและเครื่องจักร การวิเคราะห์ประสิทธิผลยุทธวิธีการประมูล

การออกแบบนั่งร้านและแบบหล่อคอนกรีต (Concrete Formwork and Scaffolding Design)

วิชานี้เฉพาะ วิศวกร ผู้รับเหมา ต้องใช้ แต่ของไทย ก็จะทำให้ประหยัดที่สุด มีอะไรก็ใช้ไปก่อน งานออกมาดูไม่ดี แต่ของฝรั่งเขาจะยอมลงทุนเพื่อให้งานเร็วที่สุด ใช้นั่งร้านเป็นชุดยกโดย ทาวเวอร์เครน และงานออกมาได้มาตราฐาน คิดไม่เหมือนกัน งานคอนกรีตสำเร็จรูปก็ต้องทำให้ทนทาน ใช้งานได้นานๆ ไม่ต้องซ่อมแซมบ่อยๆ

ศึกษา ชนิดและคุณสมบัติของนั่งร้านและแบบหล่อคอนกรีต วัสดุที่ใช้ทำแบบหล่อไม้ ไม้อัด เหล็ก และอื่นๆ การออกแบบชิ้นส่วนต่างๆของแบบหล่อที่ใช้หล่อพื้นและอื่นๆ แบบหล่อที่ใช้ในการออกแบบนั่งร้าน ไม้ค้ำยัน นั่งร้านแขวง นั่งร้านสำเร็จรูป ความปลอดภัยในการก่อสร้างและบำรุงรักษานั่งร้าน วิธีปฏิบัติงาน

การออกแบบโครงสร้างอาคารสูง (Tall Building Structures Design)

ถ้าทำงานโครงสร้างอาคาร ก็จำเป็นต้องใช้ทุกวัน วิศวกร ถ้าอยู่ฝ่ายออกแบบ ถ้าฝ่ายควบคุมคุมงานก็ใช้บ้างนิดหน่อยในการดูงานในส่วนที่สำคัญๆ รับแรงมากๆ แต่ถ้าทำงานถนนก็จะไม่ได้ใช้เลย เพราะการออกแบบสะพานก็จะใช้ความรู้ที่มากกว่างานอาคาร เพราะ ช่วงยาวมากกว่า ไม่ใช่ความสูง

วิธี การออกแบบอาคารสูง น้ำหนักบรรทุก รูปแบบโครงสร้าง การจำลองการวิเคราะห์การออกแบบค้ำยันโครงข้อแข็ง โครงสร้างข้อแข็งแกร่ง โครงสร้างแบบตัดส่วนโค้งข้อแข็งแบบกำแพงรับแรงเฉือน โครงสร้างแบบ Tubular และ Core การหาเสถียรภาพของอาคาร การวิเคราะห์แบบพลศาสตร์และผลกระทบต่ออาคารสูงในด้านต่างๆ เช่น การคืบ การหดตัว และอุณหภูมิ เป็นต้น

การออกแบบคอนกรีตอัดแรง (Prestressed Concrete Design)

ส่วนนี้ วิศวกรรุ่นใหม่ ต้องใช้ทั้งงานอาคารและงานสะพาน จำเป็นต้องใช้เพราะประหยัดกว่า และ ควบคุมการโก่งตัวและการแตกร้าวได้ดีกว่า บางทีงานคอนกรีตเสริมเหล็ก ธรรมดา ทำได้ไม่คุ้ม

มโนทัศน์ การอัดแรง คุณสมบัติของวัสดุที่เกี่ยวข้อง ระบบการอัดแรง การลดเลี่ยงการอัดแรง การวิเคราะห์และการออกแบบหน้าตัด แรงเฉือน การยึดเหนี่ยวและการแบกทาน แคมเบอร์และการโก่งตัว องค์อาคารรับแรงอัดและแรงดึง

การออกแบบสะพาน (Bridge Design)

ถ้าเรียนแค่ปริญญาตรีก็ไม่ค่อยได้ใช้ สะพานแบบสวยๆ ยาวๆ ทำได้แค่สะพาน ตัวใหญ่ๆ แบบ คานสำเร็จรูป คอนกรีตอัดแรง แบบทำในที่ดึงลวด ก่อนหรือหลัง

แต่ถ้าเป็นแบบชิ้นๆ ต้องคนมีประสพการณ์มากขึ้นเพราะมีงานให้ทำไม่มาก มีคนทำได้ไม่มาก ส่วนใหญ่จบ ดร. และถ้าเป็นสะพานขึงก็ต้องบริษัท ต่างชาติที่มีประสพการณ์จริงๆ คนไทยก็น่าจะทำได้ แต่อาจจะไม่เชื่อถือกัน วิศวกรต้องมีความรู้เรื่อง วิธีการก่อสร้างด้วย เป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้ และ ทำกับมันอย่างจริงๆ จัง เฉพาะด้านเลย จึงจะทำงานได้ทันตามแผนงาน ถ้า วิศวกร จบใหม่ไปลอง ก็จะทำงาน ไม่ทัน แม้จะมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ช่วย เพราะต้องรู้จัก ทำให้ง่าย กับทุกฝ่าย

ทฤษฎีการ กระจายน้ำหนักบรรทุกและการประยุกต์ สะพานจุดรองรับแบบธรรมดา ซึ่งก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก เหล็กกล้าและคอนกรีตอัดแรงสะพานแบบอินดีเตอร์มิเนต วิธีน้ำหนักประลัย เศรษฐศาสตร์ในงานสะพาน

การประมูลและสัญญาการก่อสร้าง (Construction Contract and Bidding)

ถ้า วิศวกร อยู่ฝ่ายควบคุมงาน และรับเหมาก่อสร้าง ก็ต้องใช้มากที่สุด เลย เพราะธุรกิจจะเดินได้ ก็ต้องมีเงินมาหมุน ทำกำไรให้มากที่สุด แต่ละฝ่ายก็ต้องรักษาผลประโยชน์ของตัวเอง แต่ก็ต้องยึดสัญญา เป็นหลัก ต้องอาศัยประสพการณ์มาก ถ้าเป็นงานต่างชาติก็ต้องเก่งภาษา ด้วย เพราะภาษาพวกนี้เป็นศัพท์เฉพาะ

ศึกษาวิธีการประมูลการก่อสร้าง การวางแผนและข้อกำหนดสำหรับการประมูลโครงการก่อสร้าง สัญญาที่เกี่ยวข้องกับบุคคลต่างๆ ในการก่อสร้างและการทำสัญญาก่อสร้าง

ความปลอดภัยและกฎหมายการก่อสร้าง (Safety and Construction Law)

สมัยผมเรียนไม่มีสอนวิชานี้ ต้องมาอบรมเพิ่มเติม จัดการระดับหัวหน้างาน และ จัดการระดับผู้บริหาร ก็ดูแล้วจะดีกว่าไม่มีกฎหมาย ออกมา สำหรับ โครงการเล็กๆ โครงการขนาดใหญ่ก็บางทีเข้มงวดเกินไป ผมเห็นฝรั่งเค้าถ่ายทำสารคดี ขึ้นไปบนตึกที่สูงที่สุดในโลก Berj Dubai ก็ไม่เห็น คนที่ไปดูงาน ต้อง ใส่ Safety belt อะไร เพราะแค่ขึ้น Lift ขึ้นไปดูงานชั้นบน มีปีนขึ้นบันไดด้วย แต่ที่เหลือ มันก็แค่ยืนห่างๆ ริมตึก  แต่บ้านเรา บางหน่วยงาน มันไม่ยอม

ศึกษา หลักการความปลอดภัย การจัดการบริหารองค์กรงานความปลอดภัย พฤติกรรมมนุษย์และการจูงใจ วิธีการเสนอความคิดให้เกิดการจัดตั้งระบบความปลอดภัยในงานก่อสร้างการตรวจ สอบวิเคราะห์ และการประเมินค่าความเสียหายจากอุบัติภัย กฎหมายแรงงาน กฎหมายสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม วิศวกรก็ต้องเป็นหัวหน้างาน และ ผู้บริหาร จะมี จป.วิชาชีพ ทำงานประจำให้อีกทีหนึ่ง ซึ่งเป็นสาขา ที่ขาดแคลนอย่างมาก กฎหมาย บังคับแล้ว แต่ สถานศึกษา ผลิตให้ไม่ทัน

การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยงานวิศวกรรมโยธา (Computer Application in Civil Engineering)

สมัยผมเรียน ก็ไม่มีวิชานี้ วิศวกร ต้องศึกษาเอง จำเป็นมากๆ เพราะมันเป็นเครื่องมือที่เขาใช้กันทุกที่แล้ว ถ้าเราไม่ใช้ก็คงจะทำงานกับคนอื่่นเขาไม่ได้ แต่ต้องใช้พื้นฐาน และประสพการณ์ประกอบด้วย จึงจะมั่นใจได้ว่า พอใช้งานได้ แต่ถ้าให้ดีต้องเขียนโปรแกรมเองได้จึงจะดีจริง

การ ประยุกต์ใช้ Software ที่เกี่ยวข้องกับงานทางวิศวกรรมโยธา การใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการออกแบบโครงสร้าง วางแผนก่อสร้าง การทำแผนที่เชิงภาพ การวางแผนการแก้ปัญหาการจราจร การประยุกต์ใช้ Word Processor และ CAD

วิศวกรรมการขนส่ง (Transportation Engineering)

วิชานี้ก็ไม่ได้เรียนเหมือนกัน วิศวกร มาหาประสพการณ์เำิ่พิ่มเติมจาก การทำงาน และ การใช้ชีวิต ในเมือง ข้อมูลที่ สำนักผังเมือง และ สนข มีให้ดู

ลักษณะ และคุณสมบัติของระบบการขนส่ง ทางถนน ทางรถไฟ ทางอากาศ ทางน้ำ ทางสายพาน และการขนส่งทางท่อ การศึกษาและการวางแผนทั้งระยะสั้นและระยะยาวของระบบการขนส่ง การวางแผนระบบการขนส่งในภูมิภาคและในตัวเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างการขนส่งกับการพัฒนาพื้นที่ และการเติบโตของตัวเมือง ลักษณะความต้องการในการใช้บริการการวิเคราะห์และทำนายความต้องการในการเดิน ทาง และการกำหนดเส้นทางสำหรับการเดินทางการวางแนวทาง กำหนดรูปแบบระบบการขนส่ง

วิศวกรรมชลศาสตร์ (Hydraulics Engineering)

วิชานี้ผมก็ไม่ได้ใช้มาก ทำแค่ ท่อน้ำ ต้องพวกทำชลประทาน ถึงจะใช้เยอะ น่าจะสนุกไปอีกแบบ เพราะน้ำทำได้ทุกสิ่ง ยากก็ยาก ง่ายก็ง่าย

วิศวกร ต้องมีการ ประยุกต์และการวิเคราะห์หลักการของการไหลในท่อมาใช้ในงานทางวิศวกรรมชล ศาสตร์ เช่น ระบบท่อ การเกิดค้อนน้ำ เครื่องสูบน้ำและกังหัน เป็นต้น การวิเคราะห์การไหลในทางน้ำเปิดทั้งการไหลแบบคงตัวและไม่คงตัว การวิเคราะห์การตกตะกอนในทางน้ำ การออกแบบอาคารชลศาสตร์ เช่น อ่างเก็บน้ำ เขื่อน ทางน้ำล้น ท่อลอดถนน เป็นต้น แบบจำลองทางชลศาสตร์

การออกแบบโครงสร้างคอนกรีต (Structural Concrete Design)

เดี๋ยวนี้เมืองนอก วิศวกร เค้าไม่ใช้ การออกแบบแบบเก่า แล้ว ใช้แต่วิธีกำลัง หรือ ดูประสิทธิภาพการใช้งานมากกว่า แต่ผมยังเห็นบ้านเรายังใช้กันอยู่เลย อีกหน่อยเปิดเสรีทางวิชาชีพ วิศวกรรม แล้วเราจะลำบากสู้เค้าไม่ได้ ต้องทำให้เป็นวิธีกำลัง แต่ต้องตรวจสอบความกว้างของ รอยร้าวในโครงสร้างที่รับน้ำ และ สารเคมีด้วย

ออก แบบระบบโครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กด้วยวิธีกำลัง ระบบแผ่นพื้น แผ่นพื้นไร้คาน โครงข้อแข็ง ออกแบบเสารับแรงในลักษณะต่างๆ กำแพงรับแรงเฉือน โครงสร้างรับแรงดึง โครงสร้างคอนกรีตใต้ดิน

พลศาสตร์ปฐพีเบื้องต้น (Basic Soil Dynamics)

วิชานี้ตอนเรียนก็ไม่มี วิศวกร ต้องมาศึกษาเพิ่มเติมเองภายหลัง ซึ่งเพิ่งตื่นตัวก่อนเกิด และตอนหลังเกิด ซึนามิ แล้วค่อยมีกฎหมายบังคับใช้ 2 ฉบับ กำหนดพื้นที่ที่ต้องคำนวณแรงแผ่นดินไหว แต่ก้ไม่มีการพูดถึง เรื่องดิน มีแต่เรื่องแรง และ การเคลื่อนตัวระหว่างชั้นเท่านั้น ส่วนนี้คงจะต้องใช้ในที่ๆ แผ่นดินไหวรุนแรง และสภาพดินมีปัญหา

ศึกษา พลศาสตร์ปฐพีเบื้องต้น ธรรมชาติและแหล่งกำเนิดของน้ำหนักบรรทุก การสั่นสะเทือนมูลฐาน คลื่นในตัวกลางยืดหยุ่น คุณสมบัติของมวลดินที่รับแรงสั่นสะเทือน การสั่นของฐานราก ความสามารถในการรับแรงแผ่นดินไหวของฐานรากตื้น แผ่นดินไหวและชั้นสั่นสะเทือน แรงดันดินด้านข้างในกำแพงกันดิน การยุบอัดตัวของดินภายใต้แรงสั่นสะเทือนสภาวะทรายดูดในมวลดิน อุปกรณ์ฐานรากบนเสาเข็ม ความมั่นคงของคันดินในสภาวะแผ่นดินไหว เป็นต้น

การวางผังบริเวณ (Site Planning)

วิชานี้ก็ไม่ได้เรียนอีกเหมือนกัน วิศวกร ต้องมาศึกษาจากการทำงานจริง ดูแบบที่สถาปนิก เขาสร้างกัน แล้วค่อยมาเรียนรู้อีกทีตอนตรวจสอบอาคาร ตามกฎหมายใหม่

หลักการและ กระบวนการออกแบบวางผังบริเวณ องค์ประกอบในการเลือกและวิเคราะห์บริเวณออกแบบ ได้แก่ ลักษณะพื้นที่ อาทิเช่น ความลาด ลักษณะของดิน พืชพันธุ์ ลักษณะการระบายน้ำ เป็นต้น ระบบการสัญจร ปัญหาเรื่องแสง เสียงและฝุ่น อิทธิพลของดินฟ้าอากาศ สิ่งปลูกสร้างและสาธารณูปการ เทคนิคและข้อคิดในการวางผังบริเวณประเภทต่างๆ ที่จำเป็นในการวางผัง เช่น ขนาดถนน ทางเดินเท้า ระบบสาธารณูปโภค รวมทั้งหลักการและเทคนิคของการสำรวจ

วัสดุวิศวกรรม (Engineering Material)

วิชานี้ วิศวกร ต้องใช้แน่นอน ถ้าเราเป็นผู้สร้าง ออกแบบ และต้องติดตาม เทคโนโลยีใหม่ๆ ด้วย เพราะวัสดุมีเยอะมากๆ  ความเหมาะสม เทียบกับราคา วิธีการก่อสร้าง และการซ่อมบำรุงรักษา  ก็เป็นปัจจัย ที่ต้องนำมาคิดทั้งหมด

วัสดุ โลหะ พลาสติก แอสฟัลต์ ไม้และคอนกรีตในด้านวิศวกรรม แผนภูมิสมดุล วัฎภาคและการแปลความหมาย การทดสอบและความหมายของคุณสมบัติต่างๆ การศึกษาโครงสร้างมหภาคและจุลภาคซึ่งสัมพันธ์กับคุณสมบัติต่างๆ ของวัสดุวิศวกรรม กระบวนการผลิตสำหรับผลิตภัณฑ์โดยใช้วัสดุวิศวกรรม

กลศาสตร์วิศวกรรม 1 (Engineering Mechanics 1)

วิชานี้เป็นเหมือนหัวใจของการทำงานเลย วิศวกร สามารถใช้ ความสามารถพรสวรรค์ที่ติดตัวมาพอจะคิดออกได้ง่ายกว่า  ถ้าไม่มีก็คงทำงานได้ อย่างไม่มีคุณภาพ และ ไม่ปลอดภัยด้วย ซึ่งคนที่หัวด้านนี้ก็ทำได้แค่ งานเทคนิต แต่ต้องมีหัวด้านอื่นๆ ด้วยจึงจะไปแข่งขันกับเขาได้

ระบบ แรง ผลลัพธ์ สมดุล การประยุกต์กับโครงสร้างและเครื่องจักรกล การหาจุดศูนย์กลาง คาน กลศาสตร์ของไหล แรงเสียดทาน งานเสมือน เสถียรภาพ โมเมนต์ความเฉื่อยของพื้นที่

กำลังวัสดุ 1 (Strength of Materials 1)

วิชานี้เป็นเหมือนหัวใจของการทำงานเลย แต่จะเข้าใจยากกว่า วิศวกร ถ้าไม่มีพื้นฐานก็คงทำงานได้ อย่างไม่มีคุณภาพ และ ไม่ปลอดภัยด้วย ซึ่งคนที่หัวด้านนี้ก็ทำได้แค่ งานเทคนิต แต่ต้องมีหัวด้านอื่นๆ ด้วยจึงจะไปแข่งขันกับเขาได้

แรง และหน่วยแรง ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยแรงกับหน่วยเครียด ชิ้นส่วนเชิงประกอบหน่วยแรงในภาชนะผนังบาง แรงบิด แรงเฉือนและโมเมนต์ดัดในคาน หน่วยแรงในคาน การโก่งตัวของคาน การโก่งของเสาและแรงในแนวแกน วงกลมโมร์และหน่วยแรงรวม การต่อองค์อาคาร และทฤษฎีการแตกหัก

กำลังวัสดุ 2 (Strength of Materials 2)

วิชานี้เป็นเหมือนหัวใจของการทำงานเลย แต่จะเข้าใจยากกว่าเข้าไปอีก เพราะมันเป็นสูตรที่เค้าทำมาให้ใช้ ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยก็ยาก วิศวกร ถ้าไม่มีพื้นฐานก็คงทำงานได้ อย่างไม่มีคุณภาพ และ ไม่ปลอดภัยด้วย ซึ่งคนที่หัวด้านนี้ก็ทำได้แค่ งานเทคนิต แต่ต้องมีหัวด้านอื่นๆ ด้วยจึงจะไปแข่งขันกับเขาได้

แรง ดึงและแรงดัดกระทำร่วมกันต่อวัตถุ คานต่อเนื่อง เสารับแรงโก่งเดาะในขีดยืดหยุ่นเสารับแรงดัด ความสัมพันธ์ของหน่วยแรงที่จุดหน่วยแรงหลัก การตัดไม่สมมาตร แรงกระทำซ้ำความล้าของโลหะ แรงกระทำพลศาสตร์ วิธีพลังงาน แรงที่กระทำในช่วงอินอีลาสติก หน่วยแรงที่จุดสัมผัส ทฤษฎีเชิงยืดหยุ่นและเสถียรภาพเชิงยืดหยุ่น คานโค้งและคานบนฐานรากยืดหยุ่น

 

 

การเขียนแบบวิศวกรรมสำหรับวิศวกรโยธา (Engineering Drawing for Civil Engineers)

วิชานี้ก็เป็นเหมือนแขนขาของ วิศวกร รุ่นใหม่ไปแล้ว ถ้าทำไม่เป็นก็หางานยาก คนที่เก่งจริงๆ ก็มีเงินเดือนสูง มีการพัฒนาการไปมากถึงขนาด แบบเสมือนจริง 3 มิติใช้แว่นตาสวม แล้วเหมือนมองเข้าไปในโรงไฟฟ้า ซึ่งมีระบบท่อต่างๆ มากมาย ดูแล้วประทับใจมากเลย

โปรแกรมฟรี sketch up มีเครื่องมือที่ใช้ในการเขียนแบบ ด้วยคอมพิวเตอร์มากขึ้น สามารถประยุกต์มาใช้การจำได้จากรูปยากๆ เยอะๆ จะทำให้เรียนรู้ได้เร็วขึ้น สำหรับ บางคนที่ไม่มีหัวทางด้าน สามมิติ สมัยก่อนมีแค่หนังสือเล่มเดียวเท่านั้น เห็นมีแต่ สถาปนิก ที่ใช้โปรแกรม 3D กัน วิศวกรส่วนใหญ่ยังไม่ได้ใช้กัน ก็เป็นส่วนที่ทำให้ได้ค่าออกแบบน้อย สมัยถ้ารู้จักนำเสนองาน หรือ แบบ ได้ดี แม้จะไม่รู้เรื่องออกแบบดีเท่าไร ก็ไปได้โลดแล้ว

สมัยนี้ยิ่งมีการทำงานทุกอย่างบนคอมพิวเตอร์หมดแล้ว งานเขียนแบบ ได้พัฒนาให้ใส่ได้ครบทุกอย่าง ไม่ใช่แบบเฉยๆ สามารถส่งต่อให้โปรแกรมออกแบบ และถอด ทั้งปริมาณงานก่อสร้าง วัสดุต่างๆ และการบริหารจัดการกับอาคารให้สะดวกสบาย ประหยัดและปลอดภัย เมื่อสร้างเสร็จแล้วด้วย

การส เกตซ์ภาพ การเขียนตัวอักษรตัวเลขไทยและอังกฤษ การเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์ (CAD) การเขียนรูปทางเรขาคณิต การเขียนภาพฉายในระนาบสองมิติ การเขียนภาพฉายสามมิติ การให้ขนาด ภาพตัด การเขียนแบบงานโครงสร้าง การเขียนแบบงานสถาปัตยกรรม การเขียนแบบระบบสุขาภิบาล การเขียนแบบระบบไฟฟ้า

แต่การที่ใช้โปรแกรมรุ่นใหม่ๆ ที่มีความเข้าใจในตัว เนื้องานจริงๆ ในแบบ จะเป็นการปฎิวัติ วงการนี้เลยทีเดียว บริษัทใหญ่ๆ ก็แข่งกันทำอยู่ให้มีความสามารถ เหมือนสมองคน มากขึ้น รู้ว่า จะทำอะไรกับ ระบบไฟล์ของอาคารนี้ ได้เหมือนสร้าง และใช้งานจริงๆ เลย แต่ต้องอาศัย ประสพการณ์การทำงานสักพัก จึงจะสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม

 

เรียบเรียง 

 บริษัท 4 ดับบลิว ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ทีมงาน วุฒิวิศวกร ไฟฟ้า วุฒิวิศวกร เครื่องกล วุฒิสถาปนิก วุฒิวิศวกร อุตสาหการ นำโดย วุฒิวิศวกรโยธา

 โดย วุฒิวิศวกรโยธา



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด