ปัญหาไฟไหม้ อาคาร สูง
ReadyPlanet.com
bullet กฎกระทรวง กําหนดลักษณะอาคารประเภทอื่นที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. ๒๕๕๙
dot
Group Menu
dot
bulletวุฒิวิศวกรออกแบบโครงสร้าง
dot
Newsletter

dot
bulletโครงการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
bulletวิศวกร งานโลหะ และ เหล็ก
bulletสารพัดปัญหาของวิศวกรโยธา ก่อสร้าง
bulletรับรองความมั่นคงอาคาร โรงเรียนกวดวิชา วุฒิวิศวกร
bulletคณภาพของ วิศวกร
bulletไฟไหม้ กับ งาน วิศวกร โยธา
bulletPower Plant Job กับ งาน วิศวกร
bulletวิศวกรโยธา กับ ตลาด รับสร้าง บ้านชิ้นส่วนสำเร็จรูป
bulletวิศวกร กำหนด มาตราฐาน ออกแบบ แผนผังโรงงาน
bulletวิศวกร กับ การเลือกทำเล ที่ตั้งโรงงาน
bulletขอบเขตงานที่วิศวกร ระดับต่างๆ ทำได้ แก้ไขใหม่
bulletมาตรฐานกําหนดตําแหน่งสายงาน วิศวกรรมโยธา
bulletน้ำ และ สารผสม คอนกรีต
bulletgooglebc0321ea4a8e3495.html




ไฟไหม้ กับ งาน วิศวกร โยธา

รับออกแบบ รับรองงานโครงสร้าง อาคารที่ถูกไฟไหม้

รับรองรายการคำนวณ

วิเคราะห์แรงแผ่นดินไหว

ตรวจสอบอาคาร สถานบริการ  

บริการ ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน สำหรับโรงงานควบคุม และอาคารควบคุม

โดย วุฒิวิศวกรโยธา

ปรึกษา ได้ที่ อีเมลย์ 4we@4wengineering.com โทร 0812974848

บริษัท 4 ดับบลิว ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ทีมงาน วุฒิวิศวกร ไฟฟ้า วุฒิวิศวกร เครื่องกล วุฒิสถาปนิก วุฒิวิศวกร อุตสาหการ นำโดย วุฒิวิศวกรโยธา

สมาคมผู้ตรวจสอบฯ ระบุรัฐต้องเข้มบังคับใช้กม.

ตรวจสอบอาคาร หลังพบ อาคารส่วนใหญ่ เมินเรื่องความปลอดภัยด้านเพลิงไหม้ บันไดหนีไฟไร้มาตรฐาน

หลังจากที่มีการบังคับใช้
กฎหมายตรวจสอบอาคาร ซึ่งมี 9 ประเภทที่เข้าข่ายควรต้องตรวจสอบให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2550 นั้น จนถึงขณะนี้คาดว่ามีหลายอาคารทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดยังไม่ได้รับการตรวจสอบ และบางส่วนได้รับการตรวจสอบแล้ว แต่ยังไม่ได้รับหนังสือยืนยันจากหน่วยงานราชการ ซึ่งมีกระแสข่าวว่า สาเหตุที่ยังไม่มีหนังสือยืนยันจากหน่วยงานราชการนั้น เป็นผลมาจากการที่เจ้าหน้าที่รัฐ ไม่กล้าเซ็นออกหนังสือยืนยันดังกล่าว เพราะไม่มั่นใจว่าตนเองต้องมีส่วนรับผิดชอบกับอาคารนั้นๆ หรือไม่หากมีอุบัติเหตุใดๆ เกิดขึ้น

 

สืบเนื่องจากเหตุการณ์ไฟไหม้สถานบันเทิง อาคาร "เสือป่าพลาซ่า"

"พฤฒิชัย" เรียกเจ้าหน้าที่สรรพสามิตสรุปจำนวนผับเข้าเกณฑ์เสียภาษีสถานบันเทิง 16 ก.พ.นี้ ย้ำรื้อกฎหมายใหม่ต้องพิจารณารอบคอบ เพราะอาจกระทบรายย่อย ทั้งร้านคาราโอเกะ แพดิสโก้เธค ด้านที่ปรึกษาวิศวกรรมสถาน ยอมรับปัญหาเกิดจากคอร์รัปชันทุกขั้นตอน เตือนอาคาร 2 แสนแห่งทั่วประเทศ เสี่ยงซ้ำรอย ซานติก้า ด้าน ป.ป.ท. เตรียมสอบเชิงลึกทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ส่งท้ายปีหนูรับปีวัว ทำให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบต้องออกมาตีฆ้องร้องป่าว ปลุกจิตสำนึกเจ้าของอาคารให้เกิดความตื่นตัวในการป้องกันภัยจากเหตุเพลิง ไหม้

ด้วยการเปิดอาคารกีฬาเวศน์ 2 ภายในสนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่นดินแดง เชิญเจ้าของอาคารบางส่วนในเขตกรุงเทพฯ 3,000 รายเข้าร่วมประชุม "ความปลอดภัยในอาคารจากอัคคีภัย" โดยมี "พงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์" ปลัด กทม.เป็นประธาน งานนี้ได้รับความสนใจจากเจ้าของอาคารเข้าฟังจนแทบ ไม่เหลือที่นั่งว่าง

ก่อนเข้าสู่ช่วงบรรยายเพื่อให้ความรู้เจ้าของอาคาร กทม.ได้ฉายภาพสไลด์เหตุการณ์เพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นในช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อน รับปีใหม่ เพื่อให้เข้าถึงอารมณ์ความสูญเสียจากเหตุเพลิงไหม้ พร้อมยืนไว้อาลัยให้กับผู้เสียชีวิต

เปิดการประชุมด้วยการบรรยายให้ความรู้จาก "รศ.ดร.สุรชัย รดาการ" ผู้อำนวยการสถาบันวิศวกรรมป้องกัน อัคคีภัย เนื้อหาส่วนใหญ่มุ่งไปที่การแนะนำวิธีจัดหาแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการดับเพลิง เมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ตามกฎหมาย ซึ่งมีให้เลือก 2 แบบ คือ 1) ถังเก็บน้ำบนดาดฟ้า และ 2) ถังเก็บน้ำฝังใต้ดิน ซึ่งกฎหมายระบุว่าต้องมีขนาดความจุสามารถสูบมาใช้งาน ได้นาน 30 นาที

อย่างไรก็ตาม ดร.สุรชัยระบุว่าในการติดตั้งระบบปั๊มสูบน้ำจากถังเก็บน้ำ เจ้าของอาคารส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิดกัน อยู่มาก เนื่องจากการเลือกระบบ "ปั๊มน้ำ" จะมีผลกับการสูบน้ำจากถังเก็บน้ำมาใช้ ดับเพลิง กรณีติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงแบบ "สปริงเกอร์" และถังเก็บน้ำแบบ "ใต้ดิน" จะต้องติดตั้งปั๊มน้ำแบบ "ปั๊มหอยโข่ง" เท่านั้น เพราะมีแรงดูดสูงเพียงพอดูดน้ำจากใต้ดิน หากติดตั้งไม่ถูกต้องเวลาเกิดเพลิงไหม้จะไม่เกิดประโยชน์

ขณะที่ "พ.ต.ท.กิตติธัช พิมพ์ทนต์" รอง ผกก.ฝ่ายอำนวยการ 6 กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บชน.) ได้ย้ำเตือนถึงสถานบันเทิงประเภทต่างๆ ตาม พ.ร.บ.สถานบันเทิง ฉบับที่ 4 พ.ศ.2546 ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่ 1) เธค หรือไนต์คลับ 2) สถานที่จำหน่ายสุรา อาหาร (ภัตตาคาร) 3) สถานอาบอบนวดและเซาน่า 4) ผับ คาเฟ่ และคาราโอเกะเฉพาะที่มีพนักงานนั่งดริงก์ 5) สวนอาหาร ร้านอาหาร ที่มีดนตรีเล่นสดหรือการแสดงต่างๆ อาทิ โชว์ มายากล ฯลฯ และ 6) สถานบริการอื่นๆ ที่ให้ออกเป็นกฎกระทรวงเพิ่มเติมว่าต้องออกแบบอาคารให้ถูกต้องตามกฎหมาย และติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด

"ธำรงศักดิ์ หงษ์ขุนทด" เลขานุการสำนักงานคดีอาญา ให้ข้อสรุปเชิงกฎหมายว่า หากสถานบันเทิงละเว้นไม่ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัย และเกิดเหตุไฟไหม้จนมีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต จะมีความผิด ทั้งทางแพ่งคือต้องชดใช้ค่าเสียหาย และมีความผิดทางอาญาหากมีผู้เสียชีวิตหรือ บาดเจ็บ ได้แก่ ฐานทำร้ายร่างกายหรือฆ่าผู้อื่น ฐานทำให้เสียทรัพย์ หรือฐานกระทำการโดยประมาทให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

สุดท้าย "พ.ต.ท.เมธี ทานาค" ผู้อำนวยการกองปฏิบัติการดับเพลิง 3 ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย ซึ่งอยู่ในเหตุการณ์ดับเพลิงไหม้ศูนย์การค้าเสือป่าพลาซ่าแนะนำว่า อาคารสูงหรืออาคารสาธารณะควรจัดให้มีแผนพัฒนาบุคลากรด้านระบบป้องกัน อัคคีภัย รวมถึงตรวจสอบอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานเสมอ

สิ่งสำคัญคือควรจัดทำแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย โดยอาคารแต่ละแห่งควรกำหนดผู้รับผิดชอบทั้งก่อนเกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุอัคคีภัย เพื่อให้การเคลื่อนย้ายคนออกจากอาคารทำได้อย่างรวดเร็ว ที่สำคัญต้องจัดการ ซ้อมหนีไฟอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

 

เวลามีไฟไหม้อาคารสาธารณะ ทางหน่วยราชการ ก็มักจะงดใช้อาคารไว้ก่อน ก็มีงานให้วิศวกโยธา เข้าไปตรวจสอบความแข็งแรง ของอาคาร ดูแล้วไม่ค่อยน่าทำสักเท่าไร เพราะ ตึกเดิมก็เก่าอยู่แล้ว ยังต่อเติมอีก แล้วยังโดนไฟไหม้อีก แต่เจ้าของตึก ก็ไม่ยอมทุบ เพราะสร้างใหม่แพงกว่าเก่า และ ยังได้หลังเล็กกว่าเดิม ด้วย ก็ปรับปรุงกันไปตามมีตามเกิด

 


แหล่งข่าวจากกรมโยธาธิการและผังเมืองเปิดเผยกับ"ฐาน เศรษฐกิจ"ว่า จากกรณีเกิดโศกนาฏกรรมเพลิงไหม้สถานบันเทิง"ซานติก้าผับ" ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิตจำนวนมาก เนื่องจากพบว่า อาคารที่ใช้เป็นสถานบันเทิงที่มีคนเข้าไปใช้บริการเป็นจำนวนมาก ได้ถูกดัดแปลงมาจากอาคารที่พักอาศัยโดยไม่มีระบบป้องกันอัคคีภัยที่ได้ มาตรฐาน เนื่องจาก การขออนุญาตจัดตั้งสถานบันเทิงเป็นอำนาจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) สถานบันเทิง ทำให้ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ไม่สามารถเข้าไปควบคุมเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยได้

จากปัญหาดังกล่าวกรมโยธาฯ จึงยกร่างกฎกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดระบบความปลอดภัยของอาคารเพื่อใช้ ประกอบกิจการเป็นสถานบริการพ.ศ... โดยอาศัยอำนาจพ.ร.บ.ควบคุมอาคารและได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งสาระสำคัญ แบ่งขนาดพื้นที่ ของสถานบันเทิงออกเป็น 5 ประเภท แต่ละขนาดพื้นที่ จะต้องกำหนดจำนวนคน ต่อขนาดพื้นที่ เช่น 300 ตารางเมตรต้องไม่เกิน 100-200 คน ต้องใช้วัสดุทนไฟ โครงสร้างอาคารทนไฟ มีทางหนีไฟไม่น้อยกว่า 2แห่ง ติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง สปริงเกอร์ เครื่องสูบน้ำดับเพลิง ระบบจ่ายไฟฟ้าสำรอง สัญญานเตือนไฟ ฯลฯ

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า กฎกระทรวงฉบับดังกล่าว จะมีผลย้อนหลัง โดยเปิดโอกาสให้อาคารประเภทสถานบันเทิงทุกแห่งที่อยู่ระหว่างเปิดดำเนินการ ที่ไม่มีระบบป้องกันไฟ หรือ อาคารที่ไม่มีมาตรฐานตามที่กฎกระทรวงกำหนด ให้สามารถแก้ไขปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับจาก ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

หากเพิกเฉยไม่ดำเนินการเจ้าของอาคารจะมีโทษทั้งจำทั้ง ปรับ ทั้งนี้จากการตรวจสอบพบว่ามีอาคารประเภทสถานบันเทิงทั่วประเทศที่เปิดให้ บริการ มากกว่า 10,000 อาคาร

แหล่งข่าวจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า ในเขตกทม.มีสถานบันเทิงที่อยู่ในข่ายต้องปรับปรุงสภาพอาคารให้เป็นไปตาม กฎหมายดังกล่าว กว่า 800 อาคาร ซึ่งยอมรับว่าผู้ประกอบการจะมีภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นมาก แต่ในมุมกลับกันจะช่วยให้เจ้าของอาคาร และนักท่องเที่ยวปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

 

       
        ล่าสุด เมื่อวันที่ 7 เม.ย.ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดระบบความปลอดภัยของอาคารที่ใช้เพื่อ ประกอบกิจการเป็นสถานบริการ พ.ศ. ....ที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา เพื่อออกเป็นกฎหมายบังคับใช้ เนื่องจากปัจจุบันอาคารที่ใช้เพื่อประกอบกิจการเป็นสถานบริการ มีความปลอดภัยจากอัคคีภัยไม่เพียงพอ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิต หรือทรัพย์สิน
      
        สาระสำคัญ คือ 1.กำหนดคำนิยามคำว่า "ความจุคน" "โครงสร้างหลัก" "ทางหนีไฟ" "ผนังทนไฟ" "พื้นที่บริการ" "วัสดุทนไฟ" "สถานบริการ" "อาคารขนาดใหญ่" 2.กำหนดให้สถานบริการแบ่งเป็น 5 ประเภท ตามขนาดพื้นที่บริการ คือประเภท ก-จ และให้ที่ตั้งสถานบริการต้องมีลักษณะตามที่กำหนด 3.ให้แผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน ฯลฯ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กำหนด
      
        4.กำหนดให้แบบแปลน ระบบไฟฟ้าประกอบการขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้ต้องเป็นไปตามที่กำหนด 5.ให้ติดตั้งแบบแปลนแผนผังของอาคาร 6.กำหนดลักษณะและคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างและตกแต่ง 7.ต้องมีระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้า ระบบการจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรอง เครื่องสูบน้ำดับเพลิง
      
        8.ต้องมีระบบป้องกันเพลิงไหม้ระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ การติดตั้งเครื่องดับเพลิง ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ และระบบควบคุมการแพร่กระจายของควัน 9.จัดให้มีจำนวนทางออก ประตูทางออก ทางหนีไฟ บันไดหนีไฟ และประตูหนีไฟ ตามที่กำหนด 10.ให้มีป้ายบอก ทางหนีไฟตามแนวทางเดินภายในสถานบริการ จัดให้มีที่ว่างภายนอก โดยรอบสถานบริการ และติดป้ายแสดงความจุคนในสถานบริการกรณีมีพื้นที่บริการ 200 ตร.ม.ขึ้นไป
      
        11.จัดให้มีระบบการระบายอากาศโดยวิธีธรรมชาติ หรือวิธีกล ตามที่กำหนด 12.ให้ผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการ หรือเจ้าของอาคารที่ใช้ตั้งสถานบริการจัดให้มีการประกันภัย 13.จัดให้มีผู้ดูแลระบบความปลอดภัยและการป้องกันอันตราย ผู้ตรวจสอบอาคาร ฝึกซ้อมหนีไฟปีละ 1 ครั้ง 14.กำหนดบทเฉพาะกาลให้ผู้ประกอบกิจการสถานบริการก่อนกฎกระทรวงใช้บังคับ ต้องปรับปรุง ติดตั้งวัสดุ ระบบ ฯลฯ ให้เป็นไปตามที่กำหนดภายใน 180 วัน
      
        แต่ไม่ว่ากฎหมายจะมีความเข้มงวด เน้นสร้างความปลอดภัยให้กับชีวิตและทรัพย์สินมากเพียงใด หากเจ้าหน้าที่บ้านเมืองและเจ้าของอาคารไม่เคารพข้อกฎหมาย และไม่ปฎิบัติตามกฎหมายอย่างจริงจัง สุดท้ายแล้ว ก็จะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันซ้ำรอยกรณีของซานติก้า ผับอีกเช่นเคย!!

 

แต่ยังไง ก็เชื่อว่า ไม่สามารถบังคับใช้ กฎหมาย ได้อีกตามเคย เพราะตึกที่ไฟไหม้ไปแล้ว มีคนตายด้วย ยังปล่อยให้ปรับปรุงกัน ทำท่าจะเปิดใหม่ อีก โดยไม่มีระบบดับเพลิงตามกฎหมายใหม่ ปล่อยให้ใช้ช่องว่างกฎหมาย ทำเป็นปรับปรุงอาคารใหม่

 

แนวทางการตรวจสอบอาคาร ตามกฎหมายการตรวจสอบอาคาร

โดย พิชญะ จันทรานุวัฒน์ ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการป้องกันอัคคีภัย ว.ส.ท.

            ตามที่ได้เขียนบทความเรื่องการเตรียมตัวเป็นผู้ตรวจสอบอาคารในฉบับที่แล้ว ยังมีรายละเอียดที่ต้องคิดต้องทำอีกมากในฐานะสถาบันฝึกอบรมฯ เพื่อทำให้การตรวจสอบอาคารสัมฤทธิ์ผลตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย  ทาง ว.ส.ท. จึงขอนำเสนอขอบเขตการตรวจสอบ และแนวทางการตรวจสอบเพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดหลักสูตรอบรมผู้ตรวจสอบ อาคารที่เตรียมจะขึ้นทะเบียนและสามารถนำไปปฏิบัติในลักษณะเดียวกันทั่ว ประเทศ 

 

             ขอเน้นย้ำอีกทีว่า ผู้ตรวจสอบอาคารนั้นต้องรับผิดชอบงานวิศวกรรมภายในอาคารและความปลอดภัยทุก เรื่อง และเป็นผู้ลงนามรับรองการตรวจสอบอาคาร ซึ่งไม่ได้หมายความว่า ผู้ตรวจสอบต้องรู้เรื่องความปลอดภัยและงานวิศวกรรมทุกสาขาอย่างมืออาขีพ เพราะเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นหากอาคารที่เข้าไปตรวจเบื้องต้นแล้วพบว่ามีความจำเป็นต้องตรวจสอบ ละเอียดแบบวิเคราะห์หรือคำนวณทางวิศวกรรมสาขาใดสาขาหนึ่งที่ผู้ตรวจสอบไม่มี ความรู้ความชำนาญหรือไม่สามารถตรวจสอบงานลักษณะนั้นได้ อาจจะเพราะเป็นวิศวกรระดับภาคีหรือเกินขอบเขตงานที่สภาวิศวกรกำหนดไว้ ผู้ตรวจสอบมีหน้าที่แนะนำเจ้าของอาคารให้ทราบว่าต้องมีวิศวกรที่มีใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพระดับสามัญหรือวุฒิวิศวกรเข้ามาตรวจสอบแบบวิเคราะห์หรือคำนวณ ทางวิศวกรรมในเรื่องที่ตั้งข้อสังเกตุไว้ว่ามีความจำเป็นต้องตรวจสอบละเอียด ขึ้นนั้น

 

เพื่อ นำผลการตรวจสอบละเอียดนี้ไป รวมประกอบในรายงาานผลการตรวจสอบของตน นอกจากนั้นปรัชญาการตรวจสอบอาคารนั้นจะต้องเน้นการตรวจสอบการใช้อาคาร และการตรวจสอบในเรื่องสมรรถนะของงานทางวิศวกรรมต่าง ๆ เป็นหลัก เช่น มีการใช้อาคารต่างไปจากที่ได้รับอนุญาตไว้หรือไม่ (หากมีการดัดแปลงให้ตรวจว่าได้ปรับปรุงหรือแก้ไขระบบความปลอดภัยสอดคล้องกับ การดัดแปลงหรือไม่) มีสิ่งกีดขวางทางหนีไฟหรือไม่ มีสารเคมีอันตรายเกินจากที่ขออนุญาตหรือไม่ มีสินค้าจำนวนมากเกินกำหนดทั้งน้ำหนักและการเป็นเชื้อเพลิงหรือไม่ ระบบบำบัดน้ำเสียทำงานปกติหรือไม่ สมรรถนะของการตรวจจับเพลิงอัตโนมัติและสัญญาณแจังเหตุเพลิงไหม้ และสมรรถนะแสงสว่างฉุกเฉินเป็นต้น

1. ขอบเขตของการตรวจสอบ

           

การตรวจสอบสภาพอาคารและโรงงานอุตสาหกรรมในด้านความปลอดภัยอาจมีข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ตามที่กำหนดและตามที่ต้องการ ดังนั้นจึงมีขอบเขตของการตรวจสอบอาคาร ดังนี้

 

            "ผู้ ตรวจสอบมีหน้าที่ตรวจสอบ สังเกต ทำรายงาน วิเคราะห์ ความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร ระบบและอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ ของอาคาร และระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย เพื่อลดความเสี่ยงหรือเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ใช้สอยอาคารในฐานะผู้ตรวจสอบ วิชาชีพที่มีความรู้ ซึ่งได้ทำหน้าที่อย่างดีที่สุด ตามหลักวิชาชีพ และตามมาตรฐานการตรวจสอบสภาพอาคารและโรงงานอุตสาหกรรมในด้านความปลอดภัยของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ สถานที่ วัน และเวลาที่ทำการตรวจสอบตามที่ระบุในรายงานเท่านั้น"

2. แนวทางการตรวจสอบ

2.1 ลักษณะบริเวณที่ต้องตรวจสอบ

2.1.1 ผู้ตรวจสอบจะตรวจสอบ รายงาน และประเมินลักษณะบริเวณที่นอกเหนือจากอาคารดังต่อไปนี้

 

(1) ทางเข้าออก จุดกลับรถ จุดเลี้ยวของรถดับเพลิง รวมทั้งสิ่งกีดขวาง

 

 

(2) ที่จอดรถดับเพลิง

 

 

(3) แหล่งน้ำสำรองบริเวณใกล้เคียง

 

 

(4) ทางเข้าสู่ภายในอาคารเพื่อบรรเทาสาธารณภัย

 

 

(5) จุดรวมพลขณะเกิดภัย

 

 

(6) สภาพของถนนสำหรับยานพาหนะ

 

 

(7) สภาพของทางเดินรอบอาคาร

 

 

(8) สภาพของรางระบายน้ำ

 

(9) สภาพป้ายบอกที่อยู่สถานที่

2.1.2 ผู้ตรวจสอบไม่ต้องตรวจสอบโครงสร้างและลักษณะบริเวณดังต่อไปนี้

 

(1) กำแพงกันดิน กำแพงกันน้ำทะเล เขื่อนหน้าท่า ท่าเทียบเรือ

 

 

(2) โครงสร้างและงานระบบของภูมิสถาปัตย์

 

รายการในข้อ 2.1.2 และรายการอื่น ๆ ที่ไม่รวมอยู่ในรายการการตรวจสอบสภาพอาคารอาจจัดให้มีการตรวจสอบได้ ภายใต้การตกลงกันเป็นกรณีพิเศษ

2.2 งานระบบโครงสร้าง

2.2.1 ผู้ตรวจสอบจะต้องตรวจสอบด้วยสายตา ทำรายงาน และประเมินโครงสร้างและความแข็งแรงของโครงสร้าง ดังต่อไปนี้

 

(1) ส่วนของฐานรากที่ตรวจสอบด้ายสายตาได้

 

 

(2) ระบบโครงสร้างที่ตรวจสอบด้วยสายตาได้

 

 

(3) ระบบโครงหลังคาที่ตรวจสอบด้วยสายตาได้

 

 

(4) สมรรถนะของโครงสร้างตามที่เห็นและตรวจวัดได้จากการเคลื่อนตัว

 

 

(5) ความมั่นคง ทั้งจำนวนและขนาดของโครงสร้างตามที่ตรวจสอบได้ด้วยสายตา

 

 

(6) อัตราการทนไฟของส่วนประกอบโครงสร้างที่ตรวจสอบจากแบบขออนุญาต และข้อมูลจากการก่อสร้าง

 

 

(7) สภาพและการติดตั้งวัสดุกรอบอาคารที่อาจชำรุด ตกหล่นลงมาเป็นอันตรายได้

 

 

(8) ช่องเปิดพื้นที่อาจทำให้คนพลัดตกจากที่สูงแล้วเกิดเป็นอันตรายได้

 

 

(9) หลัก ฐานที่เห็นได้ด้วยสายตาของการผุพังที่สำคัญ ความเสียหายของไม้เนื่องจากปลวกและแมลง หรือการเสื่อมสภาพของโครงสร้างซึ่งจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงแข็งแรงทั้งหมด ของโครงสร้างและความสมบูรณ์ของระบบโครงสร้างอาคาร

 

 

(10) หลัก ฐานที่เห็นได้ด้วยสายตาของความเสียหายและอันตรายของโครงสร้าง เช่น การเอียงของกำแพง การตกท้องช้างของพื้นคาน โครงถักที่เคลื่อนตัวเพราะความเสียหายของระบบโครงสร้าง ความเสียหายเนื่องจากอัคคีภัย เป็นต้น

 

(11) หลัก ฐานที่เห็นได้ด้วยสายตาของความเสียหายหรือการเสื่อมสภาพของระบบฐานราก และโครงสร้างใต้ดิน เช่น รอยร้าวที่กว้าง การเคลื่อนตัว เป็นต้น

2.2.2 ผู้ตรวจสอบไม่จำเป็นต้อง

 

(1) เข้าไปตรวจสอบช่องว่างที่คลานเข้าได้ หรือที่ว่างใต้หลังคาที่มีช่องเปิดที่เข้าไปได้มีขนาดน้อยกว่า 45x60 ซม.

 

 

(2) เข้าไปตรวจสอบในช่องว่างที่มีที่ว่างเหนือศีรษะน้อยกว่า 75 ซม.

 

 

(3) เข้าไปตรวจสอบในช่องว่างที่มีสิ่งกีดขวาง

 

 

(4) เข้าไปตรวจสอบในช่องว่างที่คาดว่าอาจมีอันตรายและความเสี่ยงสูง

 

(5) เข้าไปตรวจสอบในช่องว่างที่อาจไม่ทำความเสียหายต่อทรัพย์สิน

 2.3 งานระบบบริการและอำนวยความสะดวก

2.3.1 งานระบบไฟฟ้า

2.3.1.1 ผู้ตรวจสอบจะตรวจสอบด้วยสายตา เครื่องมือหรือเครื่อวัดชนิดพกพา ทำรายงานและประเมินระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า ดังนี้

 

(1) สภาพสายไฟฟ้า ขนาดกระแสของสาย จุดต่อสาย และอุณหภูมิขั้วต่อสาย

 

 

(2) สภาพท่อร้อยสาย รางเดินสาย และรางเคเบิล ที่อาจส่งผลกระทบต่อสายไฟฟ้า

 

 

(3) ขนาดเครื่องป้องกันกระแสเกินและพิกัดตัดกระแสของบริภัณฑ์ประธาน แผงย่อย และแผงวงจรย่อย

 

 

(4) วัดระดับค่าความส่องสว่างที่อาจส่งผลกระทบต่อการทำงาน

 

 

(5) การปรับตั้ง เครื่องตัดไฟรั่ว

 

 

(6) การต่อลงดินของบริภัณฑ์ ขนาดตัวนำต่อลงดิน และความต่อเนื่องลงดินของท่อร้อยสาย รางเดินสาย รางเคเบิล

 

(7) รายการอื่นตามตารางรายการตรวจสอบ

2.3.1.2 ผู้ตรวจสอบไม่ต้องตรวจสอบในลักษณะดังนี้

 

(1) วัดหรือทดสอบแผงสวิตช์ โดยต้องให้สายวัดสัมผัสกับบริภัณฑ์ในขณะที่แผงสวิตช์นั้นมีไฟหรือใช้งานอยู่

 

 

(2) ทดสอบการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน

 

(3) ถอดออกหรือรื้อบริภัณฑ์ไฟฟ้า นอกจากเพียงเปิดฝาแผงสวิตช์ แผงควบคุม เพื่อตรวจสอบสภาพบริภัณฑ์

2.3.2 ระบบเครื่องกล

 

(1) สภาพ หม้อน้ำร้อน ถังน้ำมัน กังแก๊ส หรือถังบรรจุภายใต้ความดันใด ๆ หรือสิ่งที่อาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย รวมทั้งตรวจสอบระบบควบคุมความปลอดภัย

 

 

(2) สภาพท่อจ่ายเชื้อเพลิง รวมทั้งระบบควบคุมความปลอดภัย

 

 

(3) สภาพอุปกรณ์และพัดลมในระบบระบายอากาศ

 

 

(4) สภาพทางกายภาพที่ตั้งของช่องเติมอากาศเข้าอาคาร

 

 

(5) ระบบควบคุมการหยุดระบบส่งลมเมื่อเกิดเพลิงไหม้

 

(6) เสียงดังรบกวนจากเครื่องทำความเย็น เครื่องส่งลม

2.3.2.2 ผู้ตรวจสอบจะต้องทดสอบภายใต้เงื่อนไขของการทดสองจากแผงควบคุมการทำงานของเครื่อง คือ

(1) อุปกรณ์ในระบบระบายอากาศที่ติดตั้งทุกตัว

2.3.2.3 ผู้ตรวจสอบไม่ต้องตรวจสอบหรือดำเนินการ ในลักษณะดังนี้

 

(1) การทดสองเมื่อสภาวะอากาศหรือภายใต้เงื่อนไขอื่น ๆ อาจทำให้อุปกรณ์เกิดความเสียหาย

 

 

(2) การทดสอบอุปกรณ์ที่ยังไม่ใช้งาน หรือหยุดการใช้งานด้วยเหตุผลใด ๆ และต้องการจะใช้งานใหม่

 

 

(3) อ่านและวัดค่าอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และความดันจากเครื่องมือวัดต่าง ๆ ทุกชนิด

 

(4) ทำการคำนวณเพื่อหาขนาดหรือภาระการทำความเย็น

 

2.4 ระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม

2.4.1 ผู้ตรวจสอบจะต้องตรวจสอบด้วยสายตา เครื่องมือและครื่องวัดชนิดพกพา ทำรายงานและประเมินระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม ดังนี้

 

(1) สภาพสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกอาคาร

 

 

(2) สภาพและการทำงานเครื่องจักรและอุปกรณืที่ใช้ในระบบประปา ระบบบำบัดน้ำเสียและระบายน้ำเสีย ระบบระบายน้ำฝน ระบบจัดการขยะมูลฝอย

 

 

(3) การรั่วซึมของท่อ ถังเก็บน้ำประปา และอุปกรณ์ในระบบดังกล่าวข้างต้น

 

 

(4) ความสะอาดของระบบประปา โดยเฉพาะถังเก็บน้ำ

 

(5) การคัดแยก การรวบรวม และจัดเก็บขยะมูลฝอย

 

2.4.2 ผู้ตรวจสอบไม่ต้องตรวจสอบหรือดำเนินการในลักษณะดังนี้

 

(1) การตรวจสอบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ หรือเสี่ยงภัย เช่นการตรวจสอบภายในบ่อบำบัดน้ำเสียหรือบริเวณที่อากาศไม่เหมาะสมกับการหายใจ

 

(2) การตรวจสอบที่อาจทำให้อุปกรณ์เกิดความเสียหาย

 

2.5 งานระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย

 2.5.1 ผู้ตรวจสอบจะต้องตรวจสอบด้วยสายตา เครื่องมือและครื่องวัดชนิดพกพา ทำรายงานและประเมินความปลอดภัยด้านอัคคีภัย ดังต่อไปนี้

 2.5.1.1 ระบบบันไดหนีไฟและทางหนีไฟ

จะทำการตรวจสอบด้วยสายตา พร้อมเครื่องมือวัดพื้นฐาน เช่นตลับเมตร เป็นต้น โดยลักษณะการตรวจสอบและวัดจะครอบคลุมอย่างน้อยดังนี้

 

(1) ตรวจสอบอุปสรรคสิ่งกีดขวาง การล็อกกุญแจ ชนิดอุปกรณ์ล็อกที่ประตู ตลอดเส้นทางจนถึงทางปล่อยออกและต่อไปจนถึงจุดรวมพล

 

 

(2) ความสลับซับซ้อนของเส้นทางหนีไฟ

 

 

(3) ความกว้าง ความสูง และจำนวนของเส้นทางหนีไฟ

 

 

(4) วัดค่าความส่องสว่างของแสงไฟ บนเส้นทางและการทำงานของแหล่งจ่ายไฟ

 

 

(5) ส่วนปิดล้อมทนไฟ

 

 

(6) ตรวจสอบสภาพ ที่ตั้งของป้ายเครื่องหมายสัญลักษณ์

 

 

(7) ตรวจสอบการปิด-เปิดประตู ตลอดเส้นทาง และอุปกรณ์ประกอบ

 

 

(8) ตรวจสอบความเสี่ยงในการพลัดตกหล่นความสูง ราวจับ และราวกันตก

 

(9) ตรวจสอบระยะของทางตัน และระยะสัญจร

 

 

2.5.1.2 ระบบระบายควันและควบคุมการแพร่กระจายควัน

จะ ทำการตรวจสอบและทดสอบด้วยสายตา พร้อมเครื่องมือวัดพื้นฐานเท่านั้น จะไม่รวมถึงการทดสอบที่อาศัยเครื่องมือพิเศษเฉพาะ โดยลักษณะการตรวจสอบจะครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้

 

(1) ตรวจสอบว่ามีอุปกรณ์ครบถ้วนตามหลักวิศวกรรมและตามกฎหมาย ครอบคลุมถึง พัดลม สิ้นกันไฟ/ควัน สายไฟฟ้า แผงควบคุม และสวิทช์แบบใช้มือ

 

 

(2) ตรวจสอบสภาพและตำแหน่งอุปกรณ์ พร้อมระบบอุปกรณ์ควบคุมการทำงานทั้งแบบอัตโนมัติและแบบใช้มือ

 

 

(3) ทดสอบการทำงานว่าสามารถใช้ได้ทันที เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินทั้งแบบอัตโนมัติ และใช้มือ (Manual) รวมทั้งสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง โดยไม่หยุดชะงักขณะเกิดเพลิงไหม้

 

 

(4) การรั่วไหลของอากาศภายในช่องบันไดแบบปิดทึบที่มีระบบพัดลมอัดอากาศ รวมทั้งการออกแรงผลักประตูเข้าบันไดขณะพัดลมอัดอากาศทำงาน

 

 

(5) ตรวจสอบสภาพการเกิด Plugholing ของระบบระบายควัน

 

 

(6) ตรวจ วัดขนาดพื้นที่ช่องเปิด เพื่อการระบายควันจากช่องบันไดและอาคาร รวมถึงช่องลมเข้าเพื่อเติมอากาศเข้ามาแทนที่ด้วย ซึ่งอนุญาตให้วัดจากแบบได้กรณีเปรียบเทียบแล้วใกล้เคียงกัน

 

(7) ตรวจสอบการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง และการทดสอบระบบที่ในอดีตผ่านมา

 

2.5.1.3 ระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน

จะ ทำการตรวจสอบและทดสอบด้วยสายตา พร้อมเครื่องมือวัดพื้นฐานเท่านั้น จะไม่รวมถึงการทดสอบที่อาศัยเครื่องมือพิเศษเฉพาะ โดยลักษณะการตรวจสอบจะครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้

 

(1) ตรวจสอบสภาพและควาพร้อมของแบตเตอรี่ เพื่อสตาร์ทเครื่องยนต์

 

 

(2) ตรวจสอบสภาพและความพร้อมของระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องยนต์ และปริมาณน้ำมันที่สำรองไว้

 

 

(3) ตรวจสอบการทำงานของระบบไฟฟ้าสำรอง ทั้งแบบอัตโนมัติและใช้มือ

 

 

(4) ตรวจสอบการระบายอากาศ ขณะเครื่องยนต์ทำงาน

 

 

(5) ตรวจสอบวงจรระบบจ่ายไฟฟ้า ให้แก่อุปกรณืช่วยเหลือชีวิต และที่สำคัญอื่น ๆ ว่ามีความมั่นคงในการจ่ายไฟฟ้าดีขณะเกิดเพลิงไหม้ในอาคาร

 

 

(6) ตรวจสอบความเป็นอันตราย หากระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงหกรั่วไหล

 

(7) ตรวจสอบการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง และการทดสอบระบบที่ในอดีตผ่านมา

 2.5.1.4 ระบบลิฟท์พนักงานดับเพลิง

จะ ทำการตรวจสอบและทดสอบด้วยสายตา พร้อมเครื่องมือวัดพื้นฐานเท่านั้น จะไม่รวมถึงการทดสอบที่อาศัยเครื่องมือพิเศษเฉพาะ โดยลักษณะการตรวจสอบจะครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้

 

(1) ตรวจสอบสภาพโถงปลอดควันไฟ รวมทั้งช่องเปิดต่าง ๆ และประตู

 

 

(2) ตรวจสอบอุปกรณ์ระบบป้องกันอัคคีภัยต่าง ๆ ภายในโถงปลอดควันไฟ

 

 

(3) ตรวจสอบความเสี่ยงที่น้ำดับเพลิง อาจไหลลงสู่ช่องลิฟท์ได้

 

 

(4) ตรวจสอบสภาพ มอเตอร์ แผงควบคุม ลวดสลิง เบรค และระบบควบคุมอุณหภูมิในห้องเครื่อง

 

 

(5) ทดสอบการทำงานและสมรรถนะของระบบความปลอดภัยของลิฟต์เมื่อกระแสไฟฟ้าดับ เมื่อเกิดเพลิงไหม้และเมื่อลิฟต์ค้างหรือขัดข้อง

 

 

(6) ตรวจสอบการทำงานของลิฟท์พนักงานดับเพลิง รวมทั้งสัญญาณกระตุ้นจากระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ และการทำงานของระบบอัดอากาศ (ถ้ามี)

 

(7) ตรวจสอบการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง และการทดสอบระบบที่ในอดีตผ่านมา

 

2.5.1.5 ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

จะ ทำการตรวจสอบและทดสอบด้วยสายตา พร้อมเครื่องมือวัดพื้นฐานเท่านั้น จะไม่รวมถึงการทดสอบที่อาศัยเครื่องมือพิเศษเฉพาะ โดยลักษณะการตรวจสอบจะครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้

 

(1) ตรวจสอบความเหมาะสมของชนิดอุปกรณ์ตรวจจับเพลิงไหม้ ในแต่ละห้อง/พื้นที่ รวมทั้งระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ และครอบคลุมครบถ้วนตามที่กำหนด

 

 

(2) ตรวจสอบตำแหน่งและระยะห่างระหว่างอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ, อุปกรณ์แจ้งเหตุต่าง ๆ และครอบคลุมครบถ้วนตามที่กำหนด และตำแหน่งของแผงควบคุมและแผงแสดงผลเพลิงไหม้

 

 

(3) วัดค่าระดับความเสียงดัง เมื่ออุปกรณ์แจ้งเหตุทำงาน

 

 

(4) ตรวจสอบ การทำงานของอุปกรณ์ระบบฉุกเฉินต่าง ๆ ที่ใช้สัญญาณกระตุ้นจากระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

 

 

(5) ตรวจสอบความพร้อมในการแจ้งเหตุทั้งแบบอัตโนมัติ และใช้มือของระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

 

 

(6) ตรวจสอบขั้นตอนการแจ้งเหตุอัตโนมัติ และช่วงเวลาแต่ละขั้นตอน

 

 

(7) ตรวจสอบแปล่งจ่ายไฟฟ้าให้แผงควบคุม

 

 

(8) ตรวจสอบการแสดงผล เมื่ออุปกรณ์ระบบขัดข้องไม่พร้อมใช้งาน

 

(9) ตรวจสอบการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง และการทดสอบระบบที่ในอดีตผ่านมา

 2.5.1.6 ระบบดับเพลิง

จะ ทำการตรวจสอบและทดสอบด้วยสายตา พร้อมเครื่องมือวัดพื้นฐานเท่านั้น จะไม่รวมถึงการทดสอบที่อาศัยเครื่องมือพิเศษเฉพาะ โดยลักษณะการตรวจสอบจะครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้

 

(1) ตรวจสอบความเหมาะสมของชนิดอุปกรณ์และระบบดับเพลิง ในแต่ละห้อง/พื้นที่ รวมทั้งระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ และครอบคลุมครบถ้วนตามที่กำหนด

 

 

(2) ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์และระบบทั้งแบบอัตโนมัติและใช้มือ รวมความพร้อมใช้งานตลอดเวลา

 

 

(3) ตรวจสอบการทำงานอุปกรณ์ระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยสารดับเพลิง อาทิ การแจ้งเหตุ การเปิด-ปิดลิ้นกั้นไฟหรือควัน เป็นต้น

 

 

(4) ตรวจสอบขั้นตอนการดับเพลิงแบบอัตโนมัติ และช่วงเวลาแต่ละขั้นตอน

 

 

(5) ตรวจสอบความถูกต้องตามที่กำหนดของ แหล่งจ่ายไฟฟ้าให้แผงควบคุม แหล่งน้ำดับเพลิง ถังสารดับเพลิง

 

 

(6) ตรวจสอบความดันน้ำ และการไหลของน้ำ (ด้วยสายตา หรือมาตรวัดกรณีที่มีการติดตั้งไว้) ในจุดที่ไกลหรือสูงที่สุด

 

 

(7) ตรวจสอบการแสดงผล เมื่ออุปกรณ์ระบบขัดขัอง ไม่พร้อมใช้งาน

 

(8) ตรวจการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง และการทดสอบระบบที่ในอดีตผ่านมา

 2.5.1.7 ระบบป้องกันฟ้าผ่า

 

(1) ตรวจสอบระบบตัวนำล่อฟ้า ตัวนำต่อลงดินที่ปรากฎให้เห็นด้วยสายตาว่ามีขนาดและระยะห่างรวมทั้งครอบคลุมครบถ้วน ตามที่กำหนด

 

 

(2) ระบบรากสายดิน ให้ตรวจวัดค่าความต้านทานของระบบรากสายดิน

 

 

(3) ตรวจสอบจุดต่อประสานศักย์ให้เท่ากันเฉพาะที่ปรากฎให้เห็นด้วยสายตา

 

(4) ตรวจสอบ การดูแลรักษา ซ่อมบำรุง และการทดสอบระบบที่ในอดีตผ่านมา

 

2.5.1.8 ระบบบริหารจัดการความปลอดภัย

 

(1) ตรวจประเมินความเสี่ยงอันตราย ด้วยการสำรวจกระบวนการผลิต การใช้อาคาร สถานที่ที่มีสิ่งที่ทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย

 

 

(2) ตรวจแผนการซ้อมหนีไฟ และประวัติการซ้อมหนีไฟ

 

 

(3) ตรวจแผนการตรวจสอบ และการทดสอบระบบความปลอดภัยประจำปี

 

 

(4) ตรวจแผน และประวัติการดูแลรักษา และการซ่อมบำรุงระบบและอุปกรณ์

 

(5) ตรวจวิธีการ ความถี่ และขั้นตอนการทดสอบสมรรถนะของเส้นทางหนีไฟ ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ และระบบแสงสว่างฉุกเฉิน

 2.6 ระบบลิฟต์โดยสาร

 2.6.1 จะทำการตรวจสอบและทดสอบด้วยสายตา พร้อมเครื่องมือวัดพื้นฐานเท่านั้น จะไม่รวมถึงการทดสอบที่อาศัยเครื่องมือพิเศษเฉพาะ โดยลักษณะการตรวจสอบจะครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้

 

(1) ตรวจสอบสภาพ มอเตอร์ แผงควบคุม ลวดสลิง เบรค และระบบควบคุมอุณหภูมิในห้องเครื่อง

 

 

(2) ตรวจสอบสภาพรวมทั้งช่องเปิดต่าง ๆ และประตู

 

 

(3) ตรวจสอบความเสี่ยงที่น้ำดับเพลิง อาจไหลลงสู่ช่องลิฟท์ได้

 

 

(4) ทดสอบการทำงานและสมรรถนะของระบบความปลอดภัยของลิฟต์เมื่อกระแสไฟฟ้าดับ เมื่อเกิดเพลิงไหม้ และเมื่อลิฟต์ค้างหรือขัดข้อง

 

 

(5) ตรวจสอบการทำงานของลิฟต์ รวมทั้งสัญญาณกระตุ้นจากระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ หรือจากกระแสไฟฟ้าปกติดับ

 

 

(6) ตรวจสอบการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง และการทดสอบระบบที่ในอดีตผ่านมา

 

มาตรการ การตรวจสอบข้างต้น ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาจากทาง ว.ส.ท. อยู่ไม่ได้หมายความว่าการตรวจสอบจะมีเพียงเท่านี้ อย่างไรก็ตามในระยะแรก ๆ อาจต้องลองปฏิบัติงานไปก่อนและค่อย ๆ ปรับปรุงให้ดีขึ้นตามลำดับ แนวทางการตรวจสอบนี้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับภาวะการณ์ความจำเป็น ซึ่งจะให้น้ำหนักการตรวจสอบสิ่งจำเป็นที่สุดมากที่สุดและเรียงลำดับลงมา คงไม่ใช่ว่าทุกเรื่องมีน้ำหนักความสำคัญเท่ากัน ดัง นั้น การฝึกอบรมควรมีแนวทางที่ชัดเจนเพื่อให้ผู้ตรวจสอบเข้าใจเรื่องนี้ด้วย เมื่อกำหนดแนวทางแล้วขั้นตอนต่อไปควรมีการกำหนดเกณฑ์การตรวจที่เป็นรูปธรรม วัดผลได้อย่างชัดเจนว่าผ่านหรือไม่ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบ ซึ่งจะทำให้ผู้ตรวจสอบสามารถสรุปและประเมินผลได้อย่างชัดเจน

 ที่มา : วิศวกรรมสาร ปีที่ 59 ฉบับที่ 2 เดือน มีนาคม-เมษายน 2549 โดย พิชญะ จันทรานุวัฒน์ ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการป้องกันอัคคีภัย ว.ส.ท.

"สถาบันที่เชื่อถือได้" หมายความว่า ส่วนราชการ

หรือนิติบุคคลซึ่งมีวิศวกร ประเภทวุฒิวิศวกรสาขาวิศวกรรมโยธา

ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรมเป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษา

และลงลายมือชื่อรับรองผลการตรวจสอบงานวิศวกรรมควบคุม