

![]() |
โรงไฟฟ้าพลังน้ำลำตะคองแบบสูบกลับ บริการ ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน สำหรับโรงงานควบคุม และอาคารควบคุม แก้ไขปัญหาวิศวกรรม โดย วุฒิวิศวกร ปรึกษา ได้ที่ อีเมลย์ wbk123@gmail.com บริษัท 4 ดับบลิว ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ทีมงาน วุฒิวิศวกร ไฟฟ้า วุฒิวิศวกร เครื่องกล วุฒิสถาปนิก วุฒิวิศวกร อุตสาหการ นำโดย วุฒิวิศวกรโยธา โทร 0812974848 LineID : 4wee
หลักการสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับที่ดี ควรคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1. การเลือกที่ตั้งที่เหมาะสม - ควรมีพื้นที่ที่มีความสูงต่างระดับมากพอ เช่น บริเวณเชิงเขาหรือหุบเขา เพื่อสร้างอ่างเก็บน้ำบนและล่าง - มีแหล่งน้ำต้นทุนอย่างเพียงพอ เช่น ใกล้แม่น้ำหรือทะเลสาบ - สภาพธรณีวิทยามั่นคงแข็งแรง รองรับโครงสร้างได้ดี
2. การออกแบบอ่างเก็บน้ำ - ออกแบบให้มีปริมาตรเก็บกักน้ำมากพอ สำหรับการผลิตไฟฟ้าและสูบน้ำ - มีระดับความสูงของอ่างน้ำที่เพียงพอ เพื่อให้เกิด head ของน้ำที่ดี - ต้องสร้างให้แข็งแรง ทนทาน ป้องกันการรั่วซึม
3. เลือกชนิดกังหันที่เหมาะสม - กังหันต้องทำงานได้ทั้งในโหมดผลิตไฟฟ้าและโหมดสูบน้ำ - มีประสิทธิภาพการทำงานสูง ทนทานต่อแรงดัน แรงบิด - มีขนาดกำลังการผลิตที่สอดคล้องกับศักยภาพแหล่งน้ำ
4. ระบบท่อส่งน้ำ - ท่อส่งน้ำต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะรองรับอัตราการไหลของน้ำ ทั้งขาขึ้นและขาลง - ทำจากวัสดุที่ทนทาน ทนแรงดัน ป้องกันการรั่วซึม - มีระบบป้องกันแรงดันน้ำกระแทก เช่น surge tank
5. ระบบสูบน้ำ - ต้องมีกำลังสูบน้ำเพียงพอที่จะยกน้ำจากอ่างล่างไปยังอ่างบน ในปริมาณและเวลาที่กำหนด - ควรเป็นระบบมอเตอร์ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง ทนทาน - อาจใช้การสูบน้ำร่วมกับการผลิตไฟฟ้า ในลักษณะ hybrid เพื่อเพิ่ม flexibility
6. ระบบจ่ายไฟ - ต้องเชื่อมต่อกับระบบสายส่งแรงสูงได้อย่างมั่นคง เสถียร - มีอุปกรณ์ควบคุม ป้องกันที่ได้มาตรฐาน รองรับทั้งโหมดผลิตไฟและโหมดสูบน้ำ - มีระบบ smart grid เพื่อบริหารจัดการพลังงานที่ผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ยังต้องพิจารณาเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ให้สอดคล้องกับนโยบายด้านพลังงานของประเทศด้วย จึงจะทำให้ได้โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับที่ดีและยั่งยืน
โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับที่สมบูรณ์ ควรประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
1. เขื่อนและอ่างเก็บน้ำ - เขื่อนและอ่างเก็บน้ำบน (Upper Reservoir) เพื่อเก็บกักน้ำไว้ในช่วงที่มีไฟฟ้าส่วนเกิน - เขื่อนและอ่างเก็บน้ำล่าง (Lower Reservoir) เพื่อเก็บน้ำที่ปล่อยลงมาผลิตไฟฟ้า
2. อาคารโรงไฟฟ้า (Powerhouse) - เป็นอาคารที่ติดตั้งกังหันน้ำ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า และอุปกรณ์ควบคุมต่างๆ - มักสร้างอยู่ใต้ดิน เพื่อใช้ประโยชน์จากเฮดน้ำ (Head) ที่สูง
3. ระบบท่อส่งน้ำ - ท่อส่งน้ำด้านความดันสูง (Penstock) ทำหน้าที่ส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำไปยังกังหันน้ำ - ท่อส่งน้ำไปอ่างเก็บน้ำด้านต่ำ (Tailrace) ทำหน้าที่ส่งน้ำที่ผ่านกังหันแล้วกลับไปเก็บที่อ่างด้านล่าง
4. อุโมงค์ส่งน้ำ (Tunnel) - เป็นอุโมงค์ขนาดใหญ่ที่เจาะผ่านภูเขา เพื่อลำเลียงน้ำจากอ่างสู่โรงไฟฟ้าหรือระบายน้ำทิ้ง
5. อาคารระบายน้ำล้น (Spillway) - ทำหน้าที่ระบายน้ำส่วนเกินในอ่างเก็บน้ำทิ้งอย่างปลอดภัย เพื่อป้องกันน้ำล้นเขื่อน
6. หอพักน้ำกระแทก (Surge Tank) - มีลักษณะเป็นหอสูง ทำหน้าที่ลดแรงดันน้ำกระแทกในท่อส่งน้ำด้านความดันสูง
7. สถานีไฟฟ้าย่อย (Substation) - เป็นสถานีรวบรวมและแปลงแรงดันไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพื่อส่งเข้าระบบสายส่ง - มีหม้อแปลง สวิตช์เกียร์ และอุปกรณ์ป้องกันต่างๆ
8. ศูนย์ควบคุม (Control Center) - เป็นอาคารที่ติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสาร เพื่อควบคุมการทำงานของโรงไฟฟ้า - ตรวจสอบสถานะการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ และสั่งการควบคุมจากระยะไกล
นอกจากนี้ ยังอาจมีส่วนประกอบอื่นๆ เช่น อาคารบำรุงรักษา ถนนเข้าออกโรงไฟฟ้า ระบบรักษาความปลอดภัย ฯลฯ ซึ่งมีความสำคัญในการสนับสนุนให้โรงไฟฟ้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง
ความเป็นมา โรงไฟฟ้าพลังน้ำลำตะคองแบบสูบกลับ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เห็นโรงไฟฟ้า ที่นำพลังงานไฟฟ้าส่วนที่กินจากการผลิตของโรงไฟฟ้าพลังานความร้อนในช่วงเลาที่มีการใช้ไฟฟ้าน้อย คือ ช่วง หลังเที่ยงคืนจนถึงเช้ามาสูบน้ำจากอ่างเก็บนำ้ลำตะคองที่มีอยู่เดิมแล้วไปพักไว้ในอ่างพักน้ำที่สร้างขึ้นใหม่บนเขา แล้วปล่อยน้ำลงมาฝ่านเครื่องกำเนินไฟฟ้า เพื่อผลิตไฟฟ้าในช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง ช่วยเสริมระบบไฟฟ้าให้เพียงพอและมั่นคงยิ่งขึ้น ที่ตั้งและลักษณะโครงการ ตั้งอยู่ระหว่างอำเภอสีคิ้ว และ อำเภอปากช่อง จังหวัด นครราชสีมา ห่างจากตัวเมืองประมาณ 70 กิโลเมตร ลักษณะโครงการที่สำคัญประกอบด้วย โรงไฟฟ้าใต้ิน อ่างพักน้ำบนเขา อ่างเก็บน้ำตอนล่าง (อ่างเก็บน้ำลำตะคองเดิม) อุโมงค์ส่งน้ำจากอ่างพักน้ำเข้าโรงไฟฟ้า อุโมงค์ท้ายน้ำจากโรงไฟฟ้าสู่อ่างเก็บน้ำตอนล่างและสายส่งไฟฟ้าแรงสูง การก่อสร้างโรงการแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1
อ่างพักน้ำบนเขา กฟผ. ดำเนินการก่อสร้างขึ้นใหม่ มีความจุทั้งหมด 10.3 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งสามารถใช้เดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทั้ง 4 เครื่อง ได้รวม 8 ชั่วโมง
โรงไฟฟ้าใต้ดิน อยู่ลึกจากผิวดินประมาณ 350 เมตร ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ เครื่องที่ 1 และ 2 กำลังผลิตเครื่องละ 250 เมกะวัตต์ รวมกำลังผลิต 500 เมกะวัตต์
อุโมงค์ส่งน้ำเข้าโรงไฟฟ้า จำนวน 2 อุโมงค์ เชื่อมระหว่างอ่างพักน้ำบนเขา และโรงไฟฟ้าใต้ดิน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 เมตร ความยาวอุโมงค์ 651 เมตร
อุโมงค์ท้ายน้ำ จำนวน 2 อุโมงค์ เชื่อมระหว่างโรงไฟฟ้าใต้ดิน และอ่างเก็บน้ำตอนล่าง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6.80 เมตร ความยาวอุโมงค์ละ 1,430 เมตร
ลานไกไฟฟ้าและควบคุม ตั้งอยู่ระหว่างเขา ติดตั้งอุปกรณ์ลานไฟฟ้าชนิด GIS Indor Type
สายส่งไฟฟ้าแรงสูง ขนาด 230 เคมี 4 วงจร ต่อเชื่อมกับสายส่งของสถานีไฟฟ้าแรงสูงสระบุรี 2 และ สถานีไฟ้แรงสูง นครราชสีมา 2 ที่มีอยู่เดิม ระยะทางที่ต้องเดนสายเชื่อมโงประมาณ 7.5 กิโลเมตร
การก่อสร้าง ในระยะที่ 1 เริ่มงานก่อสร้างในเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2538 แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2544 ระยะที่ 2 เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ติตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ เครื่องที่ 3 และ 4 กำลังผลิตเครื่องละ 250 เมกะวัตต์ รวมกำลังผลิต 500 เมกะวัตต์ สายส่งไฟฟ้าแรงสูง ขนาด 230 เควี 2 วงจร ต่อเชื่อมกับสถานีไฟฟ้าแรงสูงท่าลาน 3 จังหวัด สระบุรี ระยะทาง 95 กิโลเมตร การก่อสร้างในระยะที่ 2 นี้ กฟผ. ได้ชะลอโครงการ ไว้ก่อนเนื่องจาก ภววะเศรษฐกิจ ที่ส่งผลให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศเปลี่ยนแปลงไป ประโยชน์ เพิ่มกำลังผลิตให้ระบบ ในช่วงความต้องการไฟฟ้าสูง (Peak Load) ของแต่ละวัน ได้สูงสุดถึง 1,000 เมกะวัตต์ สามารถผลิตพลังงานไฟ้ประมาณ ปีละ 400 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ระบบการทำงานแบบสะสมพลังงาน ช่วงความต้องการไฟฟ้าน้อยของแต่ละวัน โรงไฟฟ้าจะสูบน้ำไปเก็บไว้ในอ่างพักน้ำบนเขา และปล่อยกลับลงมาผลิตไฟฟ้าในช่วงความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโรงไฟ้ เพราะสามารถเดินเครื่องได้เต็มกำลังตามท่ได้ออกแบบไว้ ช่วยลดการลงทุนในการผลิตไฟฟ้าเพื่อเสริมระบบ เนื่องจากโครงการนี้ใช้เงินลงทุนต่อกำลงผลิตต่ำกว่าโรงไฟฟ้าอื่นๆ เป็นโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่ให้กำลังผลิตสูงแต่ใช้พื้นที่ก่อสร้างเพียง 2 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น ใช้ทรัพยากรนำของอ่างเก็บ้ำลำตะคองให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปริมาณน้ำที่สูบขึ้นไปเก็บไว้ที่พักน้ำบนเขาจะถูกปล่อยกลับลงมาที่อ่างเก็บน้ำตอนล่างเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าสลับกันไปเช่นนี้ทุกๆ วัน โดยน้ำไม่สูญหายไปไหน เพิ่มความมั่นคงให้ระบบไฟฟ้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และบริเวณใกล้เคียง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาคนี้ "สถาบันที่เชื่อถือได้" หมายความว่า ส่วนราชการ หรือ นิติบุคคลซึ่งมีวิศวกร ประเภท วุฒิวิศวกร สาขาวิศวกรรมโยธา ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรมเป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษา และลงลายมือชื่อรับรองผลการตรวจสอบงานวิศวกรรมควบคุม
|