แนวรถไฟฟ้าสายสีส้ม
ReadyPlanet.com
bullet กฎกระทรวง กําหนดลักษณะอาคารประเภทอื่นที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. ๒๕๕๙
dot
Group Menu
dot
bulletวุฒิวิศวกรออกแบบโครงสร้าง
dot
Newsletter

dot
bulletโครงการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
bulletวิศวกร งานโลหะ และ เหล็ก
bulletสารพัดปัญหาของวิศวกรโยธา ก่อสร้าง
bulletรับรองความมั่นคงอาคาร โรงเรียนกวดวิชา วุฒิวิศวกร
bulletคณภาพของ วิศวกร
bulletไฟไหม้ กับ งาน วิศวกร โยธา
bulletPower Plant Job กับ งาน วิศวกร
bulletวิศวกรโยธา กับ ตลาด รับสร้าง บ้านชิ้นส่วนสำเร็จรูป
bulletวิศวกร กำหนด มาตราฐาน ออกแบบ แผนผังโรงงาน
bulletวิศวกร กับ การเลือกทำเล ที่ตั้งโรงงาน
bulletขอบเขตงานที่วิศวกร ระดับต่างๆ ทำได้ แก้ไขใหม่
bulletมาตรฐานกําหนดตําแหน่งสายงาน วิศวกรรมโยธา
bulletน้ำ และ สารผสม คอนกรีต
bulletgooglebc0321ea4a8e3495.html




แนวรถไฟฟ้าสายสีส้ม

 

ชงครม.ไฟเขียวสาย 'สีส้ม'

"ผมว่าไม่น่าเกิน 5-6 ปี เราคงมีรถไฟฟ้า (ใต้ดิน) วิ่งผ่านหน้าคอนโดฯ ย่านประตูน้ำแน่ๆ"  นี่คือเสียงสะท้อนของผู้ซื้อคอนโดมิเนียมผู้รอความหวัง ขณะเดียวกันกลุ่มผู้ประกอบการย่านประตูน้ำยังเตรียมปั้น ย่านประตูน้ำให้เป็นเมืองท่าเมืองท่องเที่ยวแหล่งช็อปปิ้ง เทียบชั้นฮ่องกง-สิงคโปร์  เนื่องจากมีรถไฟฟ้าผ่านโดยเฉพาะรถไฟฟ้าสายสีส้ม รวมทั้งจุดต่อเชื่อมรถไฟฟ้าบีทีเอสและแอร์พอร์ตลิงค์ที่สถานีพญาไท  ส่งผลให้พื้นที่โดยรอบมีศักยภาพมากขึ้น โดยเฉพาะปัจจุบันย่านดังกล่าวมีการพัฒนาห้างสรรพสินค้าชั้นนำเกิดขึ้นโดยเฉพาะศูนย์กลางค้าปลีกค้าส่งเสื้อผ้าชั้นนำ  ขณะเดียวกันกรุงเทพมหานครได้พัฒนาสกายวอล์ก เชื่อมโดยรอบพื้นที่สถานีทุกจุดทั้งรถไฟฟ้าใต้ดิน บีทีเอส แอร์พอร์ตลิงค์และพื้นที่ ที่สำคัญๆทำให้การเดินช็อปปิ้งและการเชื่อมต่อโดยสารรถไฟฟ้าและรถโดยสารประจำทางเป็นไปอย่างสะดวกมากขึ้น อีกทั้งเกิดความสวยงามด้วย  

   


โดยการพัฒนาพื้นที่เพื่อยกระดับทำเลย่านประตูน้ำให้เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจสำคัญ เนื่องจากรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วง ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี พาดผ่าน จะส่งผลให้ทำเลนี้ กลายเป็นทั้งทำเลที่อยู่อาศัยและการพัฒนาเชิงพาณิชย์เพิ่มสูงขึ้น

     


ล่าสุดได้รับการยืนยันจาก "โสภณ ซารัมย์" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมว่า กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างเร่งรัดโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม และสายสีชมพู โดยเฉพาะสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี 137,750 ล้านบาท  ขณะนี้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมโดยใช้เวลา ปี ก่อนเสนอครม. พิจารณาเห็นชอบให้ก่อสร้าง และเปิดประกวดราคา คาดว่าน่าจะเป็นปี 2554 โดยมีเป้าหมายเปิดใช้เส้นทางในปี 2558-2559 แน่นอน




สำหรับแผนดำเนินงานจะแบ่งออกเป็น ระยะ ระยะแรก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางกะปิ ระยะที่ ช่วงบางกะปิ-มีนบุรี และระยะที่ ช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมฯโดยจะประกวดราคาและคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางกะปิ-มีนบุรี ได้ก่อนเพราะมีแบบรายละเอียดอยู่แล้วคาดว่าจะเริ่มดำเนินการด้านงานโยธาได้ในปี 2556

 



รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม (ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางกะปิ-มีนบุรี) (Metropolitan Rapid Transit Orange Line, MRT Orange Line) เป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในระบบรถไฟฟ้ามหานคร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีทั้งโครงสร้างใต้ดินและยกระดับ มีแนวเส้นทางที่รองรับการเดินทางภายในเขตเมืองตามแนวตะวันออก-ตะวันตก เริ่มต้นจากสถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน ชานเมืองด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรี เข้าสู่ย่านบางกอกน้อย แล้วลอดแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่ย่านเมืองเก่าในเขตพระนคร ป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตดุสิต ผ่านสถานที่สำคัญ เช่น สนามหลวง ถนนราชดำเนิน ภูเขาทอง ตลาดมหานาค เข้าสู่ใจกลางเมืองย่านราชเทวี ประตูน้ำ ดินแดง ไปยังศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ออกสู่ถนนรามคำแหง บางกะปิ สะพานสูง มาสิ้นสุดเส้นทางที่เขตมีนบุรี ชานเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเทพฯ รวมระยะทาง 37.5กิโลเมตร[1]




เส้นทางรถไฟฟ้าสายนี้เกิดขึ้นจากการปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง พ.ศ.
2538 ที่นำเอาเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มเดิมช่วงสามเสน (หอสมุดแห่งชาติ)-บางกะปิ มาต่อขยายเส้นทางจากสามเสน (ซังฮี้) ไปยังบางบำหรุ กลายเป็นเส้นทางบางบำหรุ-บางกะปิที่กำหนดให้เป็นสายสีส้ม บรรจุในแผนแม่บทฯ ของสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2547 ต่อมาแนวเส้นทางส่วนต่อขยายช่วงบางกะปิ-มีนบุรี ได้แยกออกไปเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลเมื่อปี 2548 แต่จากการปรับแผนแม่บทฯ เมื่อปี 2552 จึงได้นำกลับมารวมกันเป็นเส้นทางสายสีส้มช่วงบางบำหรุ-มีนบุรีอีกครั้งหนึ่ง และในปี 2553 ได้แก้ไขแนวเส้นทางบางส่วนโดยสลับกับโครงข่ายในเมืองของรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ทำให้แนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีส้มกลายมาเป็นตลิ่งชัน-มีนบุรี ในที่สุดปัจจุบัน โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ได้แบ่งการดำเนินงานออกเป็น ส่วน คือเส้นทางช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมฯช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางกะปิ และช่วงบางกะปิ-มีนบุรีซึ่งยังอยู่ระหว่างการวางแผนและออกแบบทั้งหมด




ได้ยินท่านโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคมยืนยันหนักแน่นเช่นนั้น ทำเลประตูน้ำ ราคาที่ดินทะลุกว่า
 1,000,000 บาทต่อตารางวาแน่!!

 




ที่มา ฐานเศรษฐกิจ 30/09/2553

 

 

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 14 ตุลาคม 2553 22:48 น.

       “คมนาคม” ไล่หวดเมกะโปรเจ็กต์ หนักใจร.ฟ.ท. แผนลงทุน 1.7 แสนล้านบาทไม่คืบ สั่งเริ่มประมูลภายใน 4 เดือน วางตารางประมูลรถไฟฟ้าสีเขียว,ชมพู,ส้ม เริ่มได้ในปี 54 เตรียมชง ครม.ยืนยันลงทุนปากบาราเป็นท่าเรือน้ำลึก พร้อมประสานกระทรวงทรัพย์ขอใช้พื้นที่อุทยาน และเดินหน้ารับฟังความเห็นประชาชนใน 1 ปี “สุพจน์”สั่งทุกหน่วยทำทีโออาร์ประมูลงบปี 54 และ55 เป็นตัวชี้วัดเบิกจ่ายงบ
       
       นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังประชุมหัวหน้าหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคมวานนี้ (14 ต.ค.) ว่า ได้ติดตามเร่งรัดการดำเนินงานโครงการขนาดใหญ่ของทุกหน่วยงาน โดยพบว่า การดำเนินงานตามแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) วงเงิน 176,808 ล้านบาท น่าเป็นห่วง ในขณะที่รัฐบาลมีความพร้อมในการจัดงบประมาณให้แล้ว
       
       ดังนั้นจึงเร่งรัดร.ฟ.ท.ให้เริ่มประมูลจัดซื้อจัดหาต่างในแต่ละ โครงการภายใน 4 เดือนนี้ โดยระยะแรกภายในปี 2554 จะเริ่มประมูล 11 โครงการที่เกี่ยวกับความปลอดภัยวงเงิน 87,529 ล้านบาทได้ ส่วนระยะที่ 2 อีก 10 โครงการ วงเงิน 89,279 ล้านบาท เช่นรถไฟทางคู่และจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้า จะเริ่มประมูลได้ในปลายปี 2554
       
       ส่วนการปรับระบบการบริหารจัดการ ร.ฟ.ท.โดยจัดตั้ง 3 หน่วยธุรกิจ (Business Unit : BU ) ประกอบด้วย หน่วยเดินรถ, หน่วยซ่อมบำรุงและ หน่วยบริหารทรัพย์สิน และการแยกบัญชีการบริหารได้เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2553 แล้ว ซึ่งจะเรียกนายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.มาขี้แจงอีกครั้ง โดยเฉพาะการกระจายงานก่อสร้างจากฝ่ายโยธาให้ฝ่ายก่อสร้างเพื่อลดภาระและทำ ให้เสร็จตามแผน
       สำหรับการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน มีความคืบหน้า 40% ช้ากว่าแผน 10% ช่วงบางซื่อ-รังสิต จะให้ยื่นซองประกวดราคาก่อสร้างงานโยธา สัญญาที่ 1 และ 2 วงเงินรวม 45,000 ล้านบาท วันที่ 1และ2 ธ.ค.53 ส่วนสัญญาที่ 3 (งานระบบไฟฟ้าและอาณัติสัญญาณ)วงเงิน 20,000 ล้านบาท ยื่นซองวันที่ 17 ม.ค.54
       
       ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ และแบริ่ง-สมุทรปราการ ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) นั้น คาดว่าจะประมูลได้ในเดือนม.ค. 2554 ส่วนสายสีชมพู (ปากเกร็ด-แจ้งวัฒนะ-มีนบุรี) อยู่ระหว่างจ้างที่ปรึกษาจัดทำเอกสารประมูลและปรับปรุงแบบและเปิดประมูล เม.ย. 2554 ส่วนสายสีส้ม (มีนบุรี-บางกะปิ) จะเริ่มก่อสร้างส่วนอุโมงค์จากบางกะปิ-ศูนย์วัฒนธรรม ได้ในปี 54 ด้วยวิธีเทรินคีย์ สายสีม่วง ส่วนต่อขยาย (เตาปูน-เจริญนคร) จะก่อสร้างช่วงเตาปูน-รัฐสภาใหม่-วังบูรพา ในปลายปี 54

ขณะนี้ผ่านมานาน 13 ปีแล้ว รถไฟฟ้า สายสีส้ม ส่วนแรก มีนบุรี ไป แยก อสมท. ที่สร้างงานโยธาเสร็จแล้ว ลงทุนไปแล้ว หลายหมื่นล้าน ยังใช้งานไม่ได้ เพราะไม่มีรถไฟฟ้า วิ้ง นักการเมือง และ กระทรวงคมนาคม ประเทศเราเป็นอย่างนี้ ได้อย่างไร ไม่มีใครคิดค่าเสียโอกาสเลย ค่าฝุ่นPM2.5 ก็เกินมาตรฐานแทบจะทุกวัน                                                                                             วิศวกร จีนเขาสร้าง ทางรถไฟ เสร็จไป รอบโลก แล้ว สายสีส้มนี้ ที่ใช้งานครบทั้งเส้น ประชาชน จะได้ใช้หรือไม่ก็ไม่ทราบ

 

“MINI MONORAIL จุฬาฯ สายสามย่าน-มาบุญครอง
โดย รศ.มานพ พงศทัต

 

ขณะนี้  กทม.  กำลังจะนำการขนส่งมวลชนเบาที่เรียกว่า  “Light Rail”  มาใช้ในกรุงเทพฯ ในระบบขนส่งมวลชนที่เรียกว่า Feeder หรือระบบต่อเชื่อมให้ระบบขนส่งมวลชนระบบหนัก (Heavy Rail) และระบบกลาง (Medium Rail) ได้ต่อเชื่อมกัน เมืองใหญ่ทั่วโลกที่มีคนมากกว่า 10 ล้านคน ที่เรียกว่า Mega City จะ ต้องขนคนในเมืองด้วยระบบขนส่งมวลชนทุกเมือง เพราะไม่สามารถจะเอารถยนต์เข้ามาใช้ เข้ามาจอดในเมืองได้ ปัญหาการจราจร สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ พื้นที่ว่าง สวนสาธารณะ และทางเดินเท้า จะถูกรถยนต์ส่วนตัวแย่งไปหมดเช่นกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน

 

 

 

กรุงเทพฯ อภิมหานคร (Mega City) ก็เช่นเดียวกัน ปัจจุบันมีรถส่วนตัวสูงถึง 60-65% ส่วนขนส่งมวลชนที่มีทั้งรถเมล์ รถแท็กซี่ มอเตอร์ไซค์ ตุ๊กตุ๊ก  มีแค่  35-40%  ในระบบขนส่งมวลชนที่เรียกกันว่า Rail Mass Transit นั้นก็แยกได้เป็นอีกหลายระดับ ระดับ Heavy Rail ขนคนได้วันละเป็นล้านคน เช่น รถใต้ดินของเรา (MRT) เริ่มจะมีมากสายขึ้น ถ้าเป็นระบบขนาดกลางค่อนข้างใหญ่ เช่น BTS ลอยฟ้าที่เอกชนมารับสัมปทาน ขนคนในระดับ 3-5 แสนคน ระดับกลางขนาดเล็กลงมาเช่นรถเมล์ด่วน BRT หรือรถไฟฟ้าสายสุวรรณภูมิ ระดับหมื่นปลายๆ ระดับ Light Rail จะเริ่มเล็กลงมา เช่น Mono Rail จะขนคนระดับหมื่นต้นๆ และ Very Light Rail จะขนคนในระดับพันคนปลายๆ เล็กลงไปอีกก็มีในหลายเมือง เช่น ที่เรียกว่าทางเลื่อนมวลชน (Passenger Travelator) เช่น ในสนามบิน และเล็กลงมาอีกคือทางรถจักรยาน และท้ายสุดคือทางเดินเท้าลอยฟ้าเช่นที่ราชประสงค์ และกำลังต่อเชื่อมเป็น  Network  เขตช้อปปิ้งชั้นในมาสยามสแควร์ และออกไปทางพระโขนง และอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ทางเหนือก็สร้างทางเลือกให้คนเดินเท้ามากขึ้น

 

 

 

ทุกระบบก็จะช่วยกันต่อเชื่อมเป็นโครงข่ายของเมืองขนาดใหญ่  เช่น  กทม.  และเมืองในอนาคต Mini Monorail ก็เป็นการขนส่งมวลเบาอีกประเภทหนึ่งที่กำลังจะนิยมมากทั่วโลก เพราะเรียกกันว่าเป็น People Friendly เข้า กับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติได้ดี บางเมืองเช่นซิดนีย์ที่วิ่งผ่านเข้าไปจอดในตัวอาคารขนาดใหญ่ในเมืองได้ ไม่มีเสียงไม่มีควัน ที่เกาหลีก็ใช้กับเมืองใหม่  (New Town) ของเขา มาเลเซียเป็น Mono Rail ขนคนระดับหมื่นกลางๆ ในอังกฤษเป็นตัวเล็กตัวจิ๋ว นั่งได้คันละ 10 คนต่อ 2-3 ขบวนได้ วิ่งรับส่งที่สนามบิน Heathrow Airport ที่ลาสเวกัสทำตัวเล็กต่อเชื่อมโรงแรมกับโรงแรมและคาสิโน ที่เมืองออสติน รัฐเทกซัส เป็นรถราง Mono Tram วาง บนดินวิ่งผ่านเหนือใต้กลางเมือง ซึ่งเขาไม่ให้รถยนต์ส่วนตัวมีบทบาทในเมือง ทั่วโลกกำลังปรับเมืองใหญ่ให้น่าอยู่ โดยเอารถออกจากใจกลางเมือง เปิดพื้นที่โล่งสาธารณะให้มากขึ้น คนอยู่ในเมืองจะได้มีความสุข ชีวิตไม่ต้องถูกรถยนต์ส่วนตัวครอบงำ

 

 

 

กทม. ของเรากำลังก้าวเข้าสู่แนวคิดนี้  ระบบขนส่งมวลชนในระบบรางมีแค่  43  กม.  ที่สิงคโปร์มีเกือบ  400  กม. (เกาะเล็กเท่าฝั่งธนฯ คนก็แค่  4  ล้าน โครงการขนส่งมวลชนก็มีความคิดหลังพวกเราร่วม 10 ปี แต่เขานำหน้าเราไปแล้ว) ของเรามีขนส่งมวลชนขนาดหนัก (ใต้ดิน) เพียงสายเดียว แต่ก็กำลังขยายต่อเนื่องไปอีก 2-3 สาย ใน 4 ปีข้างหน้า มีระบบ BTS ซึ่ง ต้องขอบคุณเอกชนที่มาลงช่วยลงทุนทำให้ (ไม่มีที่ไหนในโลกที่เอกชนมาลงทุน ทั้งตัวโครงสร้าง ตัวราง ตัวรถ ตัวระบบ) ซึ่งโครงการส่วนใหญ่รัฐจะลงทุนทำโครงสร้างให้ เหมือนรัฐสร้างถนนและให้สัมปทานเอกชนมาแค่เดินรถ และเรากำลังมี Airport Link และมีรถเมล์เร็ว BRT ซึ่ง ก็ยังไม่พอ เราต้องการอย่างน้อยอีก 4-500 กม. ของเมืองใหญ่ชั้นใน และชั้นกลางที่เป็นขนส่งมวลชน เราต้องการให้สถานีที่ยังขาดช่วงกันต่อเชื่อมด้วยระบบเชื่อมต่อ Feeder เช่น Mini Monorail ของจุฬาฯ และ Mini Monorail ของภาคเอกชนที่จะต่อเชื่อมพระราม 9 กับโครงการเอกชนขนาดใหญ่ และอาจจะเชื่อมไปยังอาคารและสถานีโทรทัศน์ อสมท.

 

 

 

ถนนพญาไท-จุฬาฯ เป็นถนนสาธารณะ มีช่วงขาดเชื่อมต่อระหว่างสถานี BTS สยาม สแควร์ ซึ่งเป็นสถานีกลางที่ใหญ่ที่สุด มีคนใช้บริการวันละ 3-400,000 คน กับสถานีรถใต้ดินที่สามย่าน จามจุรีสแควร์ ที่ห่างกัน 1.5 กม. ขณะนี้ถนนพญาไทซึ่งเป็นหน้าบ้านของจุฬาฯ การเดินทางสัญจรไปมา ถ้านั่งวินมอเตอร์ไซค์ก็  30-35  บาท/เที่ยว  คนที่ใช้บริการ ก็จะมีพวกข้าราชการ นิสิตของจุฬาฯ รวมถึงพ่อค้าและประชาชนที่ทำมาหากินกันในเขตพญาไท การเชื่อมต่อก็มีข้อเสนอให้ทำเป็นระบบขนส่งมวลชนเบามาก (Very Light หรือ Mini Monorail) มี 4-5 สถานี ต่อเชื่อมกับทางข้ามถนน เช่นที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา หน้าคณะวิทยาศาสตร์ หน้าอุเทนถวาย และสยามสแควร์ จะเป็นสายแรก สายที่ 2 ก็จะเชื่อมเข้าไปในบรรทัดทอง ซึ่งจะมีศูนย์ราชการ กทม. รวมเขตพญาไทกับสถานีตำรวจ ตำรวจดับเพลิง ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน และต่อกับสวนสาธารณะเปิดโล่ง  (ของจุฬาฯ  20  ไร่ที่บริเวณเชียงกง) ต่อไปตามถนนจุฬาฯ ซอย 5 ต่อไปยังสนามกีฬาแห่งชาติ ด้านทิศใต้เชื่อมออกไปมาบุญครอง และสาย 3 คืออ้อมไปทางถนนอังรีดูนังต์ เชื่อมโรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เข้าด้วยกัน

 

 

การ ลงทุนคราวนี้ใช้เงินประมาณ 2-3,000 ล้านบาททั้ง 3 สาย ถามว่าจะได้อะไรคืน กทม. จะได้ภาษีโรงเรือน ภาษีการค้า (จะเพิ่มการค้าขายแถบบรรทัดทองอีกร่วม 2.5 ล้านตารางเมตร) รถยนต์ก็จะน้อยลง มลพิษจะถูกลดลง เพิ่มที่โล่งว่างบนดินให้มากขึ้น แต่การจะทำอะไรใหม่ๆ จะต้องถูกมองในส่วนลบเสมอก็ต้องทำใจ เพราะถ้าทำเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมก็ต้องยอมถูกด่า ดู BTS สาย ผ่านโรงเรียนชื่อดังที่เคยต่อต้าน ปัจจุบันมาขอให้สร้างสถานีให้นักเรียนของตน หรือถนนราชดำเนินที่เคยถูกตำหนิว่าจะสร้างให้ช้างเดินหรืออย่างไร เดี๋ยวนี้กลายเป็นขนาดเล็กไปแล้ว เราก็จะต้องคอยดูกันต่อไปว่าเมื่อไรจะได้เห็นสักที คงอีกไม่นานนักถ้าพวกเราช่วยกันคิดช่วยกันทำครับ

 

"สถาบันที่เชื่อถือได้" หมายความว่า ส่วนราชการ หรือ

นิติบุคคลซึ่งมีวิศวกร ประเภท วุฒิวิศวกร สาขาวิศวกรรมโยธา

ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรมเป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษา

และลงลายมือชื่อรับรองผลการตรวจสอบงานวิศวกรรมควบคุม

 

รับ ออกแบบ งาน อาคาร

รับรองรายการคำนวณ

วิเคราะห์แรงแผ่นดินไหว

บริการ ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน สำหรับโรงงานควบคุม และอาคารควบคุม

ตรวจสอบอาคาร  โดย วุฒิวิศวกร

ปรึกษา ได้ที่ อีเมลย์ 4we@4wengineering.com

 บริษัท 4 ดับบลิว ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ทีมงาน วุฒิวิศวกร ไฟฟ้า วุฒิวิศวกร เครื่องกล วุฒิสถาปนิก วุฒิวิศวกร อุตสาหการ นำโดย วุฒิวิศวกรโยธา

โทร 0812974848