

![]() |
งานวิศวกรที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งจนต้องขึ้นศาล ![]() บางทีการทำงานช่วงอายุเยอะ วุฒิวิศวกร ก็หนีไม่พ้น เรื่องกฎหมาย ที่ บางทีเราก็ไปเป็นพยานช่วยเหลือโจทก์ บางที วุฒิวิศวกรโยธา ก็ไปเป็นพยานช่วยเหลือจำเลย เช่นเรื่องงานทำห้องใต้ดิน บางทีผู้รับเหมาใหญ่ก็ไม่สามารถรับเงินค่าเสียหาย ที่บ้านข้างเคียงฟ้องร้องมาได้ บ้านข้างเคียงที่ไม่รู้เรื่องช่างก็ต้องจ้าง วิศวกรโยธา ไปทำการ ตรวจสอบ ทำรายงาน วิเคราะห์หาสาเหตุของความเสียหาย และหรือ ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเพิ่อคืนสภาพเดิมก่อนที่จะมีการก่อสร้าง และทนายความ ก็จะเรียกร้องค่าสูญเสียประโยชน์ ระหว่างที่ไม่ได้ใช้งานอาคาร บางที วิศวกรโยธา ก็ไปเป็นพยานช่วยเหลือฝ่าย เจ้าของงาน ที่มีปัญหาเรื่องการส่งมอบงานงวดสุดท้าย บางทีวิศวกรที่ปรึกษาของผู้ว่าจ้างทำงานแบบไม่มืออาชีพ รับงานไปแบบมั่วๆ หน้างานไม่ได้ตรวจสอบให้ละเอียด โครงหลังคา ใส่น๊อตไม่ครบ ก็ไม่ปีนขึ้นไปดู แบบ Asbuilding Drawing ก็ไม่ได้แก้ไข ให้เหมือนหน้างาน งานเปลี่ยนแปลงก็ไม่ได้ลดเงิน ที่ผรม.ทำผิดแบบไปเยอะในส่วนสาระสำคัญ บางทีก็เรื่องเงินทองมูลค่าของงานในสัญญาที่ทำไปแล้ว บางทีจ้าง บริษัทมาตรวจสอบราคาใหม่ มาตรวจเจอภายหลัง ที่ราคาสูงเกินจริงมากๆก็มี ให้เห็นบ่อยๆ แต่ ส่วนใหญ่ พอปลีกตัวได้ก็พยายามปลีกตัวออกให้ได้มากที่สุดเพราะ วิศวกรไทย เราส่วนใหญ่ ไม่ชำนาญเรื่องกฎหมายอาจจะพลาดพลั้งทนายความ ได้ ยิ่งมีกฎหมาย นิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนกับสภาวิศวกร เข้ามาครอบอีก ยิ่งยุ่งไปใหญ่ |