งาน วิศวกร ออกแบบ โรงไฟฟ้า
ReadyPlanet.com
bullet กฎกระทรวง กําหนดลักษณะอาคารประเภทอื่นที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. ๒๕๕๙
dot
Group Menu
dot
bulletวุฒิวิศวกรออกแบบโครงสร้าง
dot
Newsletter

dot
bulletโครงการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
bulletวิศวกร งานโลหะ และ เหล็ก
bulletสารพัดปัญหาของวิศวกรโยธา ก่อสร้าง
bulletรับรองความมั่นคงอาคาร โรงเรียนกวดวิชา วุฒิวิศวกร
bulletคณภาพของ วิศวกร
bulletไฟไหม้ กับ งาน วิศวกร โยธา
bulletPower Plant Job กับ งาน วิศวกร
bulletวิศวกรโยธา กับ ตลาด รับสร้าง บ้านชิ้นส่วนสำเร็จรูป
bulletวิศวกร กำหนด มาตราฐาน ออกแบบ แผนผังโรงงาน
bulletวิศวกร กับ การเลือกทำเล ที่ตั้งโรงงาน
bulletขอบเขตงานที่วิศวกร ระดับต่างๆ ทำได้ แก้ไขใหม่
bulletมาตรฐานกําหนดตําแหน่งสายงาน วิศวกรรมโยธา
bulletน้ำ และ สารผสม คอนกรีต
bulletgooglebc0321ea4a8e3495.html




Power Plant Job กับ งาน วิศวกร
 
รับออกแบบ งาน โครงสร้างอาคารโรงไฟฟ้า
 
 
รับรองรายการคำนวณ
 
 
วิเคราะห์แรงแผ่นดินไหว
บริการ ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน สำหรับโรงงานควบคุม และอาคารควบคุม
ตรวจสอบอาคาร  โดย วุฒิวิศวกรโยธา
บริษัท 4 ดับบลิว ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ทีมงาน วุฒิวิศวกร ไฟฟ้า วุฒิวิศวกร เครื่องกล วุฒิสถาปนิก วุฒิวิศวกร อุตสาหการ นำโดย วุฒิวิศวกรโยธา
ปรึกษา ได้ที่ อีเมลย์ 4we@4wengineering.com
โทร 0812974848
 
 

 ส่วนประกอบหลักของโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินที่ออกแบบมาอย่างดีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีดังนี้
 
1. ระบบลำเลียงและจัดเก็บถ่านหิน: ออกแบบให้มีประสิทธิภาพ ลดการฟุ้งกระจายของฝุ่นถ่านหิน เช่น ใช้สายพานปิด มีระบบดักจับฝุ่น เป็นต้น
 
2. หม้อไอน้ำ (Boiler): ใช้เทคโนโลยีเผาไหม้ถ่านหินที่สะอาด เช่น Circulating Fluidized Bed (CFB) หรือ Integrated Gasification Combined Cycle (IGCC) เพื่อลดการปล่อยมลพิษ
 
3. ระบบควบคุมมลพิษอากาศ: ติดตั้งอุปกรณ์ดักจับมลพิษ เช่น ระบบดักฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิต (Electrostatic Precipitator) ระบบดักซับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Flue Gas Desulfurization) และระบบ Selective Catalytic Reduction (SCR) เพื่อลดไนโตรเจนออกไซด์
 
4. กังหันไอน้ำและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า: ใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อลดการใช้ถ่านหินและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า
 
5. ระบบควบคุมน้ำทิ้งและกากของเสีย: บำบัดน้ำทิ้งก่อนปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม และจัดการกากของเสียอย่างเหมาะสม เช่น นำเถ้าถ่านหินไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอื่น
 
6. ระบบติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม: เฝ้าระวังผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงและควบคุมการทำงานของโรงไฟฟ้า
 
นอกจากนี้ การเลือกทำเลที่ตั้งโรงไฟฟ้าให้เหมาะสม ห่างจากชุมชนและแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ รวมถึงการปลูกต้นไม้โดยรอบเพื่อเป็นแนวกันชน ก็เป็นส่วนสำคัญในการออกแบบโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
อาคารและสิ่งปลูกสร้างหลักที่จำเป็นในโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน ได้แก่
 
1. อาคารโรงไฟฟ้าหลัก (Main Power House) เป็นอาคารที่ติดตั้งหม้อไอน้ำ กังหันไอน้ำ และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
 
2. อาคารควบคุม (Control Building) ใช้สำหรับควบคุมและเฝ้าระวังการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในโรงไฟฟ้า
 
3. อาคารลำเลียงและจัดเก็บถ่านหิน (Coal Handling and Storage Building) ประกอบด้วยสายพานลำเลียง ไซโล และลานกองเก็บถ่านหิน
 
4. อาคารบำบัดน้ำ (Water Treatment Plant) ใช้สำหรับปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบและบำบัดน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิต
 
5. อาคารบำบัดอากาศ (Flue Gas Treatment Building) ติดตั้งระบบควบคุมมลพิษอากาศ เช่น ระบบดักฝุ่น ดักซับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และลดไนโตรเจนออกไซด์
 
6. อาคารจัดการเถ้าถ่านหิน (Ash Handling Building) ใช้ในการเก็บ ขนย้าย และนำเถ้าถ่านหินไปกำจัดหรือใช้ประโยชน์
 
7. อาคารหม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer Building) ใช้ในการเพิ่มแรงดันไฟฟ้าให้สูงขึ้นเพื่อส่งไปตามสายส่งไฟฟ้า
 
8. อาคารสำนักงานและซ่อมบำรุง (Office and Maintenance Building) เป็นพื้นที่ทำงานของพนักงานและซ่อมบำรุงอุปกรณ์
 
9. อาคารรักษาความปลอดภัย (Security Building) ทำหน้าที่ควบคุมการเข้าออกและรักษาความปลอดภัยของโรงไฟฟ้า
 
10. โครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ เช่น ถนน ท่าเทียบเรือ ทางรถไฟ และท่อส่งน้ำ เป็นต้น อาคารและสิ่งปลูกสร้างเหล่านี้ทำงานร่วมกันเพื่อให้โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินสามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

25 ตุลาคม พ.ศ. 2550 

นายสมบูรณ์ อาระยะสกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการก่อสร้างโรงฟ้าพลังความร้อน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า ในขณะนี้การก่อสร้างโรงไฟฟ้าของ กฟผ.ทั้ง 4 แห่ง กำลังผลิต 2,800 เมกะวัตต์ ได้เดินหน้าตามแผน โดยจะเสร็จเข้าระบบในปี พ.ศ. 2551-2553 ตอบสนองต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น

โดยนายสมบูรณ์ กล่าวถึงต้นทุนในการสร้างโรงไฟฟ้าว่า จากที่จีนและอินเดียมีการเร่งการก่อสร้างโรงไฟฟ้าได้ทำให้อุปกรณ์การก่อ สร้างขยับสูงขึ้น แต่จากเงินบาทที่แข็งค่ากว่าร้อยละ 10 จึงทำให้ต้นทุนในส่วนการก่อสร้างไม่ได้เพิ่มขึ้น

มีเพียงต้นทุนเรื่องการทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่เท่านั้นที่สูง ขึ้นกว่าแผนงานที่กำหนดไว้ โดยเม็ดเงินลงทุนรวมทั้ง 4 โครงการ ประมาณ 64,000 ล้านบาท

โรงไฟฟ้าทั้ง 4 แห่งได้แก่

  • โรงไฟฟ้าจะนะ จังหวัดสงขลา จะเข้าระบบเป็นแห่งแรก ซึ่งตามสัญญากับผู้รับเหมา คือ กลุ่มร่วมทุนซีเมนส์และมารูเบนิ จะสร้างเสร็จในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 แต่ขณะนี้ได้พยายามเร่งให้เสร็จภายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551
  • โรงไฟฟ้าพระนครใต้ชุดที่ 3 ก่อสร้างโดยกลุ่มร่วมทุนมิตซูบิชิ และ ชิโนไทย ขณะนี้การก่อสร้างเร็วกว่าแผน จึงคาดว่าจะส่งไฟฟ้าเข้าระบบเร็วกว่าสัญญาเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551
  • โรงไฟฟ้าบางปะกง ชุดที่ 5 ก่อสร้างโดยกลุ่มร่วมทุนซีเมนส์และมารูเบนิมีความคืบหน้า ร้อยละ 50 มีกำหนดขายเข้าระบบในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552
  • โรงไฟฟ้าพระนครเหนือชุดที่ 1 ก่อสร้างโดยกลุ่มร่วมทุน ซูมิโตโม ฮิตาชิ และอิตาเลียนไทย มีความคืบหน้าประมาณร้อยละ 10 กำหนดเข้าระบบในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553

นายไกรสีห์ กรรณสูต ผู้ว่าการ กฟผ.กล่าวว่า ในส่วนของคุณภาพก๊าซธรรมชาติที่จะจัดส่งให้แก่โรงไฟฟ้าบางปะกงที่มีปัญหา เรื่องก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่าข้อตกลงนั้นในขณะนี้กระทรวงพลังงานได้ เข้ามาเป็นตัวกลางเจรจาผลกระทบที่เกิดขึ้น ระหว่าง ปตท. กฟผ.และกลุ่มผู้ก่อสร้าง อย่างไรก็ตาม ยังมั่นใจว่า การก่อสร้างจะเป็นไปตามกำหนดการเดิม

ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า เมื่อปลายเดือนกันยายน ทาง กฟผ.ได้ทำหนังสือถึง บมจ.ปตท.สอบถามเร่งรัดการแก้ปัญหาคุณภาพก๊าซธรรมชาติโรงไฟฟ้าบางปะกง เนื่องจากการประมูลก่อสร้างได้ใช้คุณภาพก๊าซที่ ปตท.ได้แจ้งไว้ในช่วงแรก แต่เมื่อคุณภาพก๊าซเปลี่ยนแปลง อาจให้การก่อสร้างล่าช้าไป 2-3 เดือน เพราะกลุ่มผู้รับเหมาต้องปรับแต่งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าตามคุณภาพก๊าซที่ เปลี่ยนแปลงไป ในขณะที่จะมีต้นทุนเพิ่มขึ้นประมาณเกือบ 1,000 ล้านบาท ซึ่งในเรื่องนี้ กฟผ.เห็นว่าควรจะเป็นความรับผิดชอบของ ปตท.

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 กรกฎาคม 2551 08:05 น.

 

บมจ. โกลว์ พลังงาน (GLOW)

Posted on Wednesday, September 20, 2006

แขกรับเชิญ ชัยพัทร ธนวัฒโน รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.ทิสโก้
พิธีกร สมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์
ปฏิพร สิทธิพงศ์
--------------------------------------------------------------------------------------------------

ปฏิ พร – ตอนนี้กระแสคงไปจับอยู่ที่กลุ่มพลังงานเป็นส่วนใหญ่ เพราะมีทั้งแรงขายก่อนหน้านี้และมีแรงซื้อกลับเข้ามา รวมทั้งความที่มีความสำคัญเป็นถึง 1 ใน 3 ของ Market Cap ของตลาด กลุ่มน้ำมันเราก็อาจจะคุยกันครบแล้ว
สมบัติ - ถ่านหินก็ไปแล้ว ก๊าซธรรมชาติก็ไปแล้ว

ปฏิ พร – วันนี้เราก็มีทางเลือกสำหรับนักลงทุนที่ชอบกลุ่มพลังงาน บางคนอาจจะบอกว่าราคาน้ำมันปรับลดลงมาอย่างต่อเนื่อง เริ่มจะไม่สนใจกลุ่มน้ำมันแล้ว ก็มีทางเลือกของกลุ่มพลังงานแต่เป็นประเภทโรงไฟฟ้า ซึ่งหลายคนบอกว่าธุรกิจไปได้เรื่อย ๆ แม้ว่าราคาน้ำมันจะปรับลดลง แต่ไฟฟ้าไม่ได้สัมพันธ์ขนาดนั้น เคยคุยกันมาแล้ว 2 โรง วันนี้มาอีก 1 โรงไฟฟ้า
สมบัติ – คือ บมจ. โกลว์ พลังงาน (GLOW)

ปฏิพร – สำหรับ GLOW บางคนอาจจะบอกว่าคุ้น เพิ่งเข้ามาจดทะเบียนใหม่ แต่ก็ไม่ใหม่นัก เพราะก่อนหน้านี้เคยเข้ามาจดทะเบียนแล้วในอดีต
สมบัติ – เข้าใจว่าเป็นชื่อ COCO และออกจากตลาดไป เข้าใจว่ามีการเปลี่ยนผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ซึ่งมีคนมาซื้อไป ซึ่งสมัยก่อนนั้นมี บมจ. บ้านปู (BANPU) เข้ามาถือหุ้นอยู่ จำนวนหนึ่งและขายได้กำไรเยอะด้วย ในยุคหลังก็กลับเข้ามาจดทะเบียนใหม่ภายใต้ชื่อใหม่ ผู้ถือหุ้นกลุ่มใหม่

ปฏิ พร – นั่นก็คือ GLOW นั่นเอง ซึ่งมี Performance ดีทีเดียว หลายคนเชื่อว่าคงจะพิจารณา GLOW ไม่ว่าจะเป็นแง่ของด้านการจ่ายเงินปันผลที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง แต่ก่อนที่จะคุยกับนักวิเคราะห์ถึงทิศทางธุรกิจของ GLOW ไปดู Consensus กันก่อนดีกว่าค่ะ
สมบัติ – มี 9 สำนักวิจัยส่งตัวเลขประมาณการหุ้น GLOW เข้ามา ซึ่งเสียงแตกกันพอสมควร มีคนให้ซื้ออยู่ 3 เจ้า ให้ถือ 3 เจ้า ให้ขาย 2 เจ้า ไม่มีคำแนะนำ 1 เจ้า ทั้งหมดนั้นทายกำไรสุทธิไว้มากพอสมควร ค่าเฉลี่ยในปีนี้คาดว่าจะมีกำไรสุทธิ 4.857 พันล้านบาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้นเฉลี่ยได้ 3.32 บาท มูลค่าหุ้นที่เหมาะสม 9 สำนักให้ค่าเฉลี่ยออกมา 29.22 บาท/หุ้น ที่น่าสนใจก็คือเงินปันผลเฉลี่ยแล้วคาดการณ์ว่าจะได้เงินปันผลรับ 6.59% ของราคาหุ้นในตลาด

บล. กรุงศรีอยุธยา แนะนำให้ถือหุ้น GLOW โดยให้มูลค่าที่เหมาะสมไว้ที่ 27.70 บาท ซึ่งมีมุมมองว่า GLOW มีศักยภาพในการขยายกำลังการผลิตไฟฟ้า จากการที่เข้าร่วมประมูลโรงไฟฟ้า IPP มีแนวโน้มชัดเจนมากขึ้น และมีนโยบายการใช้สัดส่วนถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าให้มากกว่าปัจจุบันที่ 17% จะเป็นโอกาสให้กับ GLOW ในการเข้าไปประมูล IPP มากขึ้น เพราะเขาชำนาญในโรงไฟฟ้าประเภทถ่านหิน ประการที่ 2 บอกว่าการรับรู้รายได้เต็มปี จากโครงการส่วนขยายในระยะที่ 2 ที่มีกำลังผลิตไฟฟ้าอยู่ 38 เมกะวัตต์ และไอน้ำอีก 70 ตัน/ชั่วโมง ประการต่อมาบอกว่าค่าบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าคาดว่าจะลดลง เพราะไม่มีการซ่อมบำรุงใหญ่เหมือนปี 2548 ซึ่งคาดว่าน่าจะเกิดขึ้นในปี 2551 นอกจากนี้ ดอกเบี้ยจ่ายลดลง จากต้นทุนทางการเงินที่ลดลงมา 2%/ปี จากการทำ Refinance และต้นทุนเชื้อเพลิงถ่านหินมีแนวโน้มที่สูงขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาได้สูงขึ้นประมาณ 10%

ปฏิพร – ด้านบล. เอเซียพลัส แนะนำให้ถือ โดยมองมูลค่าพื้นฐานที่ 28 บาท ปัจจัยบวก คือมองว่า GLOW ยังมีการเติบโตของธุรกิจไฟฟ้าได้อีกในอนาคต มีรายได้เพิ่มสูงขึ้นจากการปรับขึ้นของราคาไอน้ำ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งธุรกิจ เพราะ GLOW ขายทั้งไฟฟ้าและไอน้ำด้วย นอกจากนี้ ยังอยู่ระหว่างการเจรจาขายไฟฟ้าและไอน้ำให้กับลูกค้ารายใหญ่ 2-3 ราย จำนวน 100-200 เมกะวัตต์ หากประสบความสำเร็จ จะทำให้ต้องเพิ่มกำลังการผลิตโดยการสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ในปีหน้า แม้ว่าสัญญากับบมจ. ปตท. จะสิ้นสุดในปี 2253 และจะไม่มีการต่อสัญญากันอีกก็ตาม ส่วนปัจจัยลบ คือการขึ้นค่าไฟซึ่งยังมีข้อจำกัดอยู่ เนื่องจากภาครัฐเคยออกมาประกาศว่าจะตรึงค่า Ft ไปจนถึงต้นปีหน้า ทำให้ GLOW ต้องแบกรับภาระต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งมูลค่าหุ้นที่จะกลับมาคุยกัน ซึ่งบล. เอเซียพลัสบอกว่าเต็มมูลค่าแล้ว

บล. โกลเบล็กซ์ แนะนำให้ซื้อลงทุนระยะยาว โดยให้ราคาพื้นฐานไว้ที่ 28.75 บาท ปัจจัยบวกคือ GLOW มีศักยภาพในการเติบโต ความเสี่ยงด้านกระแสเงินสดต่ำ และยังโอกาสเข้าร่วมประมูล IPP รอบใหม่ในช่วงต้นปีด้วย ซึ่งต้องมาพูดคุยกันว่าโอกาสชนะการประมูลมีอยู่มากน้อยขนาดไหน ซึ่งมองว่าราคาหุ้นในปัจจุบันใกล้เคียงกับมูลค่าแล้ว

ถือว่ามุมมอง ใกล้กันไม่ว่าจะเป็นโอกาสทางธุรกิจ รวมถึงเรื่องราคาและเรื่องสัญญาต่าง ๆ หลายคนอาจจะงงว่าตกลงแล้วลูกค้าของ GLOW มีอะไรบ้าง ส่วนใหญ่เป็นกฟผ. และปตท.ด้วย และสินค้าที่เขาขายคืออะไร
สมบัติ – ขายไฟฟ้า ขายไอน้ำเป็นจำนวนเท่าไร

ปฏิ พร – สำหรับนักวิเคราะห์ที่มาพูดคุยกันในรายการวันนี้คือ คุณชัยพัทร ธนวัฒโน รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ ของบล.ทิสโก้ ซึ่ง GLOW ก็เป็นอีกหนึ่งโรงไฟฟ้าที่เราเห็นศักยภาพในการเติบโตด้วยเช่นกัน ปกติเราเคยคุยกันไปจะเป็นโรงไฟฟ้าที่แตกมาจากการเป็น EGAT มาก่อน ไม่ว่าจะเป็น RATCH หรือ EGCOMP คงต้องถามถึงความแตกต่างระหว่างโรงไฟฟ้าจริง ๆ ที่ไม่ได้เป็นลูกของ EGAT รวมถึงภาพรวมของโรงไฟฟ้า IPP ด้วยว่าโอกาสในอนาคตเป็นอย่างไร มีข้อได้เปรียบ เสียเปรียบกับ RATCH และ EGCOMP ไหม

ชัยพัทร – ถ้าพูดถึง GLOW ก็มีส่วนที่เหมือนกับ RATCH และ EGCOMP บ้าง เพราะโครงสร้างรายได้ปัจจุบันจะมาจากธุรกิจ IPP ประมาณ 700 เมกะวัตต์ และมีธุรกิจของ SPP เข้ามาด้วย ส่วนที่บอกว่าเหมือนก็คือส่วนของ IPP ซึ่งจะมีลักษณะสัญญาที่คล้ายกับ RATCH และ EGCOMP อันนี้ความเสี่ยงในแง่ของค่าพลังงานจะต่ำ เพราะใช้ต้นทุนในลักษณะ Pass Trough ไปถึง EGAT แต่ในส่วนของ SPP เอง มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

เพราะ สามารถแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งขายให้กับ EGAT อีกส่วนหนึ่งขายตรงให้กับผู้ใช้ในอุตสาหกรรม อย่าง GLOW ขายให้กับลูกค้าอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เพราะฉะนั้นในส่วนของ SPP จะมีทั้งเสี่ยงมากและเสี่ยงน้อย ส่วนที่เสี่ยงมากคือที่ขายตรงให้กับลูกค้าอุตสาหกรรม ความเสี่ยงก็จะเป็นในเรื่องพลังงาน ในแง่ของ SPP ที่ขายให้กับลูกค้าอุตสาหกรรมเราจะใช้การตั้งราคาโดยการยึดกับราคาของทางการ ไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งก็คือจะยึดกับค่า Ft ด้วย แต่ที่ผ่านมาการปรับค่า Ft ยังไม่ได้สะท้อนถึงต้นทุนค่าพลังงานของทาง GLOW 100% จะมีการปรับขึ้นบ้าง ในบางครั้งถ้าค่า Ft มีการ Freeze จะทำให้ GLOW ในส่วนของการขายให้อุตสาหกรรมจะมีความลำบากมากขึ้น

สมบัติ – เช่นอาจจะช่วงก่อนเลือกตั้งนิดหนึ่ง
ชัย พัทร – จริง ๆ ในช่วงต้นปี ซึ่งช่วงนั้นอาจจะต้องมีการนำกฟผ.เข้าตลาด ก็เริ่มมีการมองว่าค่า Ft จะมีการปรับเพื่อสะท้อนภาวะตลาดมากขึ้น ช่วงนั้นจะเป็นช่วงโอกาสที่ดีสำหรับ GLOW จะเห็นว่า GLOW ในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นข่าวดีในส่วนของค่า Ft เข้ามาเรื่อย ๆ ที่ว่าจะมีการปรับสะท้อนต้นทุนที่ดีขึ้น ทำให้ตัวราคาหุ้นปรับตัวดีขึ้นด้วย

สมบัติ – แต่ว่าในส่วนที่ขายให้กฟผ.ไม่ค่อยเสี่ยงใช่ไหมครับ คือต้นทุนพลังงานก็ถูกบวกเข้าไปในราคาขายแล้ว
ชัยพัทร – จะเป็นส่วนในลักษณะคล้ายกับ IPP เหมือนกัน

สมบัติ – แสดงว่าปมเสี่ยง อาจจะขอตัวเลขคร่าว ๆ แล้วกัน ที่ขายอยู่ทั้งหมดขายให้เอกชนสักกี่เปอร์เซ็นต์
ชัย พัทร – ขออนุญาตไปในแง่ของ IPP นิดหนึ่ง IPP ปัจจุบันจะอยู่ที่ประมาณ 30% ในส่วนของ SPP ประมาณ 70% ซึ่ง SPP จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือขายให้ EGAT ประมาณ 30% ซึ่งที่เหลือจะขายไปยังลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมอีกประมาณ 30%

สมบัติ – ถ้ารวมเบ็ดเสร็จทั้งบริษัทก็คือ 30%
ชัย พัทร – ที่ขายให้กับลูกค้า และในส่วนของที่ขายให้กับลูกค้าอุตสาหกรรมนอกจากเรื่องไฟฟ้า จะมีการขายไอน้ำ และน้ำที่มีการผ่านกระบวนการ

สมบัติ – สัดส่วนรายได้ตรงนี้เยอะไหมครับ
ชัย พัทร – ถ้าเทียบในส่วนของน้ำและไอน้ำจะตกที่ประมาณ 10% กำไรในส่วนของไอน้ำจะมีกำไรขั้นต้นดีกว่าไฟฟ้า เพราะไฟฟ้าคือในส่วนของกำไรขั้นต้น จะขึ้นอยู่กับค่าพลังงาน และอย่างส่วนของไฟฟ้าที่ขายให้กับลูกค้าอุตสาหกรรมเองก็มีกำไรขั้นต้นขึ้น อยู่กับการปรับขึ้นของค่า Ft ด้วยว่าสะท้อนหรือไม่

ปฏิพร - GLOW มีโรงไฟฟ้ากี่โรง
ชัยพัทร – GLOW จะมีหลัก ๆ คือ GLOW IPP ซึ่งทำ IPP 700 เมกะวัตต์ จะมี GLOW ในส่วนของ SPP ประมาณ 4 โรง

สมบัติ – ที่คุณปฏิพร ถามเมื่อสักครู่ คือเป็นภาคเอกชน ไม่ใช่ลูก ๆ ของ EGAT ที่แยกออกมา เวลาที่ไปประมูลในที่ผ่านมามีผลงานดีไหม รู้สึกว่าประมูลยากกว่าคนที่เคยมาจาก EGAT
ชัยภัทร – ก็มีส่วน โดยในอดีตที่เขาประมูลได้จะมีโครงการเดียว คือ ที่บ่อวิน ซึ่งในปัจจุบันก็คือ GLOW IPP 700 เมกะวัตต์ที่ชลบุรี แต่ในช่วงที่ผ่านมาจะมีในเรื่องความเป็นไปได้ว่าทาง Regulator จะยอมให้ EGCOMP กับ RATCH เข้าร่วมการประมูลหรือไม่ ในช่วงที่มีความไม่แน่นอนตรงนั้น Potential ของ GLOW จะเพิ่มขึ้น เพราะเป็นเพียงผู้ผลิตไม่กี่รายที่จะมีความสามารถในการเข้ามาประมูล

ปฏิ พร – ถ้าเทียบกันแน่นอนว่ามีโรงไฟฟ้าอื่นอีกที่ไม่ใช่ RATCH และ EGCOMP ถ้าแยก 2 ตัวนั้นออกไป Potential ตัวอื่น เช่นกับ BLCP อันไหนดีกว่ากัน
ชัย พัทร – อย่าง GLOW ต้องบอกว่าถ้าจะมีการขยาย ต้องมีการลงทุนแทบจะใหม่เกือบทั้งหมด ปัจจุบันที่ทราบว่าคือทาง GLOW จะร่วมมือกับ HEMRAJ ในการเข้าไปประมูล IPP ประมาณ 1 โรงหรือ 700 เมกะวัตต์ ซึ่งจะมีการร่วมลงทุนคนละ 50% เพราะอย่างในแง่ของการตั้งโรงงาน HEMRAJ มีที่ดินพร้อม แต่อย่างการลงทุน อาจจะต้องลงทุนใน Facility เรื่องของน้ำ เรื่องสายส่งที่เข้าไปต่อกับสายส่งหลักของ กฟผ. เพราะฉะนั้น ถ้าเทียบกับคนอื่นเช่นของ BLCP จะมีความพร้อมในเรื่องของที่ดิน เรื่อง Facility ที่สามารถประมูลเพิ่มได้และ BLCP ก็มีจุดเด่นก็คือสามารถประมูลด้วยโรงไฟฟ้าถ่านหินได้ เพราะปัจจุบันRegulator เริ่มมองว่าจะต้อง Diversify แล้ว และอาจจะเริ่มเปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มขึ้น

ปฏิพร – ซึ่งจะลดการใช้ก๊าซลง
ชัย พัทร – แต่ในส่วนของ GLOW IPP ที่จะเข้าไปประมูล ยังมองว่าจะเป็นก๊าซธรรมชาติอยู่ แต่ต้องเรียนให้ทราบว่าจุดเด่นอันหนึ่งของ GLOW ซึ่งสิ่งที่ทำเป็น GLOW SPP ในปัจจุบัน เขามียูนิตบางส่วนที่ทำถ่านหินอยู่ เพราะฉะนั้นมองว่า Potential อันหนึ่งของ GLOW เอง อาจจะเข้าไปประมูลในส่วนของถ่านหินได้ด้วยเหมือนกัน เนื่องจากความชำนาญและ Facility ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของท่าเรือที่ใช้รับถ่านหินจากอินโดนีเซียเข้ามา

ปฏิพร – ก็คือปัจจุบัน GLOW มีการใช้ก๊าซ ไอน้ำและถ่านหินได้ด้วย
ชัยพัทร – ใช้ก๊าซกับถ่านหิน ไอน้ำเป็นผลผลิตของเขา

ปฏิ พร – ก็มีโอกาสทางธุรกิจเหมือนกัน จุดเด่นที่เพิ่มเติมนอกเหนือจากเรื่องถ่านหิน ในมุมมองของคุณชัยพัทรมองว่าจุดเด่นของ GLOW ในประเด็นอื่น ๆ มีอะไรอีกบ้าง
ชัย พัทร – ประเด็นของ GLOW อื่น ๆ คือ การที่ GLOW มี SPP ด้วย ทำให้ในแง่ของกระแสของเงินสดค่อนข้างนิ่งเมื่อเทียบกับ IPP เพราะโดยปกติตามสัญญาซื้อขายไฟระยะยาว กระแสเงินสดจะเข้ามาในช่วงครึ่งอายุของสัญญาค่อนข้างเยอะ ในช่วงปลายจะเริ่มเข้ามาน้อย จะเห็นว่า พวก IPP เมื่อโรงไฟฟ้าที่มีอยู่เริ่มเข้าอายุกลางของโรงไฟฟ้า จะต้องเริ่มหาโครงการใหม่ เพื่อให้กระแสเงินสดมีเสถียรภาพ แต่ในขณะที่ GLOW จะมี SPP กระแสเงินสดของ GLOW จะค่อนข้างสม่ำเสมอกว่า ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจ และมองว่าในแง่ของเงินปันผลเองก็น่าจะมีความสม่ำเสมอด้วยเหมือนกัน แม้ว่าจะมีความเสี่ยงมากกว่า IPP ก็ตาม

ปฏิพร – แต่ถ้าเขาต้องซ่อมโรงไฟฟ้าต่อไปในอนาคต กระแสเงินสดเขาจะเป็นปัญหาไหมคะ
ชัย พัทร –ปกติการสร้างโรงไฟฟ้าเขาจะใช้การกู้ประมาณ 3 ส่วน ใช้ทุนตัวเอง 1 ส่วน เพราะฉะนั้นการทำโรงไฟฟ้าจะใช้เป็นลักษณะ Project Finance ซึ่งเรามองว่าในส่วนที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นที่จะเข้าไป ทาง GLOW เองสามารถมีเงินสดภายในที่เอามาใช้ได้ แต่ส่วนอื่นจะใช้เงินกู้ไม่ได้มีผลอะไรมาก

สมบัติ – ฐานะการเงินของ GLOW ในตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง สัดส่วนหนี้สินต่อทุนเป็นอย่างไร
ชัย พัทร – ปัจจุบันอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนก็อยู่ในระดับที่เหมาะสม ประมาณ 1 เท่า ซึ่งโดยปกติโครงการโรงไฟฟ้าส่วนใหญ่แล้วจะมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนค่อนข้าง สูงเนื่องจากการลงทุนจะสูง อย่างที่เรียนให้ทราบตอนแรกว่าเป็นการทำ Project Finance อย่างปกติจะมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนประมาณ 3 เท่า เฉพาะในส่วนขยาย เพราะฉะนั้นการที่เข้าไปเริ่มลงทุนใหม่ ๆ เช่น การทำ IPP เลยมองว่าในแง่ของอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนอาจมีการปรับเพิ่มขึ้นบ้างแต่ว่าคง ไม่มาก หลังจากนั้นเมื่อมีรายได้เข้ามาจากโรงฟ้าใหม่ ๆจะทำให้อัตราหนี้สินต่อทุนปรับลดลง

สมบัติ – ถามเพิ่มเติมนิดหนึ่งว่าโรงไฟฟ้าส่วนใหญ่เวลาไปประมูลจะมีการคำนวณผลตอบแทน ที่จะเกิดขึ้นต่อเงินลงทุนส่วนใหญ่อยู่ที่ 10 - 15 % บวกลบอะไรแถวนั้น แต่จริง ๆ ต้นทุนการเงินที่ไปเอามาใช้เนี่ยดอกเบี้ย จะอยู่ที่ร้อยละ 7 นี่เลยเป็นคำตอบต้องใช้หนี้ สัก 3 ต่อ 1 เลยเป็นคำตอบว่า แม้จะเสี่ยงหน่อย แต่ถ้าเกิดไม่มีอะไรพลาด น่าจะกำไรดี
ชัยพัทร – สมัยการประมูลช่วงแรก อัตราผลตอบแทนก็เกือบถึง 20% แต่เนื่องจากภาวะปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยมันลดลงมาค่อนข้างเยอะ เพราะฉะนั้นผลตอบแทนที่อาจจะเป็นทางภาครัฐเอง ที่บอกว่ายอมรับได้สำหรับที่คนจะมาประมูลสร้างโรงไฟฟ้าก็คือจะลดลงมาด้วย

ปฏิ พร – ขอลงไปในประเด็นที่นักวิเคราะห์ได้ Quote เอาไว้ ในบทวิเคราะห์หนึ่ง ติดใจเรื่องการซื้อขายไฟฟ้ากับกลุ่มปตท. ที่บอกว่าจะหมดสัญญาในปี 2553 และหมดแล้วหมดเลยด้วย ปัจจุบันสัดส่วนการขายไฟฟ้าให้กับกลุ่มปตท. มีนัยสำคัญมากขนาดไหน และหากไม่ต่อสัญญาจะเกิดอะไรขึ้นกับเขาไหมคะ
ชัย พัทร – ปัจจุบันที่ GLOW มีการขาย จะมีลูกค้าหลัก ๆ ที่เป็นลูกค้าอุตสาหกรรม จะอยู่ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในกลุ่มปตท.เองก็จะมี บทจ. ปิโตรเคมิคอล (PTTCH) มี บมจ.อะโรเมติกส์ (ATC) และในส่วนของการต่ออายุสัญญานี้ ซึ่งอายุสัญญากำหนดไว้แล้วว่าจะหมดในปี 2553 ซึ่งทางปตท.เองก็มีนโยบายว่า เมื่อปริมาณการใช้เริ่มได้ระดับหนึ่งแล้ว ก็ไปสร้างเองชื่อว่า PTT Utility ในส่วนของกลุ่มปตท.ที่สร้างรายได้ให้กับ GLOW ประมาณ 10% ซึ่งผู้บริหารก็มองว่าอาจจะหาลูกค้ามาแทนซึ่งสอดคล้องกับการขยายตัวของ ธุรกิจปิโตรเคมี เพราะว่านอกจากกลุ่มปตท. ลูกค้าของ GLOW ก็จะมีของ ปูนใหญ่(SCC) คือ ระยองโอเลฟิน และกลุ่มอื่น ๆ เช่น ยูนิไทย ซึ่งเป็นลูกค้าหลักของ GLOW ขณะที่ 2 เจ้านี้ก็มีการขยายงานขึ้นมาพอสมควร เราจึงมองว่าจะสามารถชดเชยในส่วนที่หายไปของปตท.ได้

สมบัติ – รู้ตัวล่วงหน้าค่อนข้างนาน มีเวลาอีก 4 ปี หาลูกค้าได้
ชัย พัทร – จริง ๆ แล้วทาง GLOW เองอาจจะมองว่าทางกลุ่มปตท.เมื่อมีการสร้างเอง เป็นไปได้ไหมที่จะขอบางส่วนให้หมดสัญญาก่อน เพื่อเอาไปให้กับลูกค้าที่ขึ้นกำลังการผลิตก่อนที่จะหมดสัญญา เพราะคิดว่าทางบริษัทจะเตรียมรับมือในส่วนนี้ค่อนข้างพร้อมแล้ว

สมบัติ – โครงการขยายอื่น ๆ ของ GLOW มีไหม
ชัย พัทร – หลัก ๆ จะเป็นส่วนของ IPP ที่เข้าประมูล และจะมี SPP บ้างซึ่งอยู่ที่ 100-200 เมกะวัตต์ คงจะมาตอบรับจาก Demand ที่เพิ่มขึ้นจากลูกค้าในส่วนของอุตสาหกรรม

สมบัติ – ที่ผ่านมาแนวโน้มหรือโอกาสที่ประมูลได้พอจะประเมินได้ไหม
ชัย พัทร – ผมมองว่ายังขึ้นอยู่กับปริมาณที่ทาง EGAT จะเปิดขึ้นมา อย่างปัจจุบันมีการปรับเรื่องของความต้องการใช้ไฟฟ้าลงจากที่เคยคาดไว้เดิม ซึ่งเดิมเขาประเมินว่าจะขึ้นกับ GDP ประมาณ 6.5% ต่อปี แต่ล่าสุดมีการปรับลดลงมาเหลือ 5.2-5.3% ต่อปี เพราะฉะนั้นตัว Capacity ใหม่ ๆ ที่ต้องการจะลดลง เหลือประมาณ 9 พันเมกะวัตต์ จากเดิมประมาณ 1.3 เมกะวัตต์ ในส่วน 9 พันเมกะวัตต์ก็จะมีการแบ่งอีก ระหว่าง EGAT ประมาณ 4.5 พันเมกะวัตต์ และส่วนที่จะมาเปิดประมูลอีก 4.5 พันเมกะวัตต์ เพราะฉะนั้นขนาดของส่วน IPP ก็จะลดลงมาเรื่อย ๆ ประเมินออกมาแล้วน่าจะอยู่ประมาณ 6-7 โรง ในแง่ของขนาดประมาณ 700 เมกะวัตต์ แต่เราก็ยังมองว่า GLOW เป็นอีกหนึ่งในผู้เล่นที่น่าจะมีโอกาสเข้ามาสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ๆ ได้

ปฏิ พร – ทางด้านการบริหารจัดการเรื่องต้นทุน แน่นอนว่ามีการแบ่งกันไปแล้วว่า SPP มีถึงประมาณ 30% ของโครงสร้างรายได้ทั้งหมด ในส่วน EGAT นั้นไม่ห่วงเพราะสามารถ Pass Through Cost ไปได้ แต่เรื่องต้นทุนที่ต้องแบกรับตรงนี้ แม้ว่าราคาพลังงานจะลดลงมา แต่ก็ยังทรงตัวในระดับสูง การบริหารจัดการต้นทุนตรงนี้เป็นภาระมากแค่ไหนสำหรับ GLOW
ชัยพัทร – ของ GLOW ที่จะมีความเสี่ยงจะเป็นในส่วนของถ่านหินและค่าขนส่ง แต่เรื่องค่าขนส่งนี้ก็เริ่มปรับตัวลงมาบ้างแล้ว ก็เป็นทิศทางที่ดีสำหรับ GLOW เอง แต่เรื่องถ่านหินก็ยังมีความเสี่ยงที่ยังเปิดเอาไว้บางส่วน ปัจจุบันการผลิตถ่านหิน หลัก ๆ เรามองว่า 50 ส่วนใน 100 ส่วน ล็อกไปกับสัญญาที่ขายให้ไปกับ EGAT คือขายผ่านทางให้ SPP แต่ในส่วน 50% ที่เหลือเป็นการขายผ่านไปทางลูกค้าที่เป็นอุตสาหกรรม โดย 17% จาก50% ทางบริษัทมีการล็อกสัญญาสำหรับราคาถ่านหินแล้ว เพราะนั้นจะไม่มีความเสี่ยง

ความ เสี่ยงที่ยังมีอยู่ก็จะเป็น 33% ที่เหลือ ซึ่งเรามองว่าส่วนนี้ยังเป็นความเสี่ยง และบริษัทก็คงจะมีการบริหารจัดการในเรื่องของการทำประกันความเสี่ยงเป็นระยะ ไป ประกอบกับบางช่วงที่ราคาถ่านถ้ามีการปรับตัวลง GLOW ก็อาจมีการเข้าไปทำสัญญามากขึ้น

ปฏิพร – โครงสร้างผู้ถือหุ้น มี 80% เป็นผู้ถือหุ้นต่างชาติทั้งนั้น ประเด็นดังกล่าวถือว่ามีนัยสำคัญอะไรบ้างไหม เกี่ยวกับการทำธุรกิจหรือการบริหารกิจการของ GLOW
ชัยพัทร – ถ้าไปดูในชื่อของผู้ถือหุ้นที่ 80% เป็นต่างประเทศ แต่จริงๆ แล้ว เป็นผู้ถือหุ้นทั่วไป 10% เท่านั้นเอง เพราะผู้ถือหุ้นหลัก เป็น Suez Energy ซึ่งตอนนี้ถืออยู่ประมาณ 70% เพราะเดิมอย่างที่คุณสมบัติเรียนให้ทราบในช่วงต้นว่าเขาคือ COCO เก่า หลังจากที่ Suez ซื้อออกไป และมีการปรับโครงสร้างใหม่ เพราะฉะนั้นหุ้นที่ทำ IPO ก็จะเป็นหุ้นที่ Suez ทำ Dilute ออกมา อย่าง Suez เองก็จะมี Commitment สำหรับการถือ GLOW ในระยะยาวว่าจะเป็นในแง่ของหัวหลักในการเข้าลงทุนในประเทศไทย

สมบัติ – คณะเดียวก็ถือประมาณ 70% ไม่ได้แตกกระจายมาก และคณะนี้ก็ถือแบบยั่งยืน มาดูทางด้านมูลค่าหุ้นกันบ้าง หุ้นโรงไฟฟ้าแบบนี้ ควรจะตีมูลค่าแนวไหน และค่าที่ออกมาจริง ๆ ก็ต่างกันเยอะ อยากให้คุณชัยพัทรฟันธงว่าทางบล. ทิสโก้ตีค่าไว้เท่าไรด้วย
ชัยพัทร – อย่าง บล.ทิสโก้ ใช้วิธี DCF คือการปรับส่วนลดกระแสเงินสดในระยะยาว โดยมองว่าธุรกิจไฟฟ้าเป็นธุรกิจที่มีกระแสเงินสดค่อนข้างดีกว่าธุรกิจอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจที่มีสัญญาระยะยาวกับทางราชการ ก็จะทราบแน่นอน ในส่วนของปัจจัยในการคำนวณก็จะมี Discount rate จะมีอยู่ที่ 7.5% จะเป็นอีกตัวหนึ่งที่สะท้อนว่าความเสี่ยงในธุรกิจไฟฟ้าค่อนข้างต่ำกว่า ธุรกิจอื่น ที่เราทำประเมินเอาไว้อยู่ที่ 32.5 บาท ต่อหุ้น

สมบัติ – คนอื่นก็น่าจะใช้แนวเดียวกัน แต่อาจจะต่างกันตรงประมาณการ หรือค่าตัวหาร บ้าง
ปฏิพร – ถ้าดูจากราคาที่บล. ทิสโก้ให้ก็ยังไม่เต็มมูลค่า
ชัย พัทร – ก็ยังพอมี Upside อยู่บ้าง และจุดเด่นของหุ้นตัวนี้คือเรื่องของเงินปันผล เพราะอย่างช่วงที่ผ่านมา เขาไม่ได้ลงทุนอะไรมากมาย ก็จะมีกระแสเงินสดในมือค่อนข้างเยอะ มีนโยบายว่าอาจจะมีการจ่ายเงินปันผลพิเศษออกมา อย่างปีที่แล้วจ่ายปันผลพิเศษออกมาประมาณ 0.75 บาท/หุ้น เขาจะจ่ายช่วงปลายปี แต่ปัจจุบันเมื่อมีโครงการลงทุนใหม่ ๆ ก็คงจะต้องให้เวลากับบริษัทที่จะต้องดูเงินว่าสามารถจ่ายได้หรือไม่

ปฏิ พร – ปีที่แล้วจ่ายไปตั้ง 2 บาทกว่า เทียบกับราคาหุ้นก็เกือบ 10% เพราะราคาหุ้นในปัจจุบันก็ประมาณ 20 กว่าบาท เหมือนเป็นหุ้นปันผลที่หลายสำนัก ช่วงที่จ่ายปันผลก็จะหยิบเอา GLOW เข้าไปด้วย
สมบัติ – น่าจะเหมาะไปซื้อตอนต้นไตรมาส 1/50

ปฏิพร – เหมาะอย่างนั้นไหมคะ คุณชัยพัทร
ชัย พัทร – ก็ได้ครับ แต่ต้องดูเรื่องของ Timing เพราะบางทีถ้าเวลานั้นปัจจัยเขาอาจจะรีบไปซื้อกันไหม ถ้าตอนนั้นตลาดหุ้นขึ้น มันก็อาจจะเกินมูลค่า

ปฏิพร – หรือไม่ก็ดูนโยบายการปันผลของปีนี้ด้วย ยิ่งคุณชัยพัทรบอกว่าเขามีลงทุนเยอะขึ้นอาจจะไม่จ่ายมากเหมือนปีที่แล้ว
สมบัติ – แต่ก็ต้องมีขั้นต่ำที่ประกาศไว้
ชัยพัทร – ทางบริษัทก็พยายาม Maintain ตัวการจ่ายเงินปันผลที่ประมาณ 1.5 บาทต่อหุ้น ส่วนทีเหลือจะเป็นตัวพิเศษไป

ปฏิ พร – เราคงต้องเรียนถามที่เป็นภาพรวมหน่อย GLOW ไปอยู่กลุ่มพลังงาน และตอนนี้ผู้คนอาจจะสนใจน้อยลง เราเห็นต่างชาติออกบทวิเคราะห์มาบอกว่าจะเริ่มลดน้ำหนักการลงทุนหุ้นกลุ่ม พลังงาน กลุ่มพลังงานเลยจุด Peak มาแล้ว ในมุมมองทั้งกลุ่มพลังงานโดยภาพรวม และ GLOW ด้วย ด้วยความที่อยู่ในกลุ่มพลังงาน จะทำให้แย่ลงไปหรือไม่กับสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ชัยพัทร – ถ้าพูดจริง ๆ ในกลุ่มไฟฟ้าเอง ที่ผ่านมาธุรกิจน้ำมันเขาดี แต่ธุรกิจไฟฟ้าก็ไม่ค่อยดีเท่าไรนัก ก็ขึ้นอยู่กับการเปิดประมูลใหม่ๆ แต่ในช่วงที่ผ่านมาถือว่า GLOW เป็นหุ้นที่มี Perform ค่อนข้างใช้ได้ เพราะมีเรื่องเงินปันผลพิเศษ แต่ถ้าพูดในภาพรวมของธุรกิจไฟฟ้า ตอนนี้เริ่มจะชัดเจนมากขึ้นว่า ปีหน้าต้องมีการเปิดประมูลใหม่แน่นอน และหุ้นแต่ละตัวยังดูต่ำกว่ามูลค่าที่เหมาะสมเยอะ เพราะฉะนั้นอาจจะช่วยกระตุ้นภาพรวมของธุรกิจไฟฟ้าเองให้ดูดีขึ้นในช่วงปลาย ปีนี้

แต่ในส่วนของธุรกิจพลังงานอื่น ๆ ก็คงจะเป็นไปตามทิศทางของราคาน้ำมัน แต่อย่างไรก็ตาม บล.ทิสโก้มองว่าแม้ว่าราคาน้ำมันปรับตัวลงมา แต่ในช่วงไตรมาส 4/49 และ ไตรมาส 1/50 ก็คงจะเริ่มปรับขึ้นไปใหม่ เพราะว่าความเสี่ยงทางการเมืองในตะวันออกกลางเองก็ยังไม่ได้คลี่คลาย และก็เข้าช่วงฤดูหนาวด้วย เพราะฉะนั้นภาพรวมของธุรกิจพลังงานอาจจะกลับมาดูสดใสอีกครั้งในช่วงปลายปี นี้

ปฏิพร – แต่เขาบอกว่าราคาน้ำมันจะไม่กลับขึ้นไป สูงเหมือนช่วง 70 กว่าเหรียญสหรัฐ/บาร์เรล อีกครั้งแล้ว แต่อาจจะใกล้ ๆ บล.ทิสโก้มองอย่างนั้นไหมที่ว่าจุด Peak มันผ่านไปแล้ว
ชัยพัทร – ใช่ครับ เพราะช่วงที่ผ่านมา การที่ราคาน้ำมันขึ้นเพราะไม่มี Supply เข้ามา แต่ตอนนี้ทุกคนเริ่มเข้าไปธุรกิจการขุดเจาะ มี Supply ใหม่ ๆ เข้ามา เพราะฉะนั้นคงจะมาช่วยได้บ้างบางส่วน แต่ยังมองว่าปัจจัยหลักของราคาน้ำมันยังอยู่ที่โอเปคอยู่ ซึ่งถ้าราคาน้ำมันลงไปมาก ๆ โอเปคอาจจะมีการลดโควต้าเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมัน

ปฏิพร – ถ้าอย่างนั้นควรเลือกตัวไหน
ชัย พัทร – ถ้าดูในเรื่องของ Dividend Yield ของ 3 โรงนี้ ถ้าสมมติว่าโรงไฟฟ้าเราดูกันที่ Dividend Yield ของทั้ง 3 โรงนี้จะใกล้เคียงกัน เราจะเลือกกันที่ความเสี่ยง เสี่ยงน้อยหน่อย คือ IPP ซึ่งเพียว ๆ เลย คือ RATCH IPP เพียวน้อยลงอย่างของ EGCOMP มี SPP บ้าง ถ้าเสี่ยงมากขึ้นก็คือ GLOW เพราะมี SPP เยอะหน่อย
ปฏิพร – แต่อย่างไรก็ตาม หุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าต้องถือยาว ๆ มุ่งเป้าไปที่การจ่ายเงินปันผลที่สม่ำเสมอด้วย ราคาก็ค่อนข้างนิ่ง

ชัย พัทร – โดยเฉพาะ RATCH เอง ซึ่งตอนกระจายหุ้น มีการกระจายค่อนข้างกว้างลงไปถึงประชาชนอย่างทั่วถึง ทำให้การซื้อขายไม่มากนัก ถ้าเทียบกับ EGCOMP ที่มีการขายให้กับต่างประเทศด้วย หรือ GLOW เองก็มีต่างประเทศถืออยู่ด้วย




ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด