พิจารณาเลือก ทำเล ที่ตั้ง โรงงาน
ReadyPlanet.com
bullet กฎกระทรวง กําหนดลักษณะอาคารประเภทอื่นที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. ๒๕๕๙
dot
Group Menu
dot
bulletวุฒิวิศวกรออกแบบโครงสร้าง
dot
Newsletter

dot
bulletโครงการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
bulletวิศวกร งานโลหะ และ เหล็ก
bulletสารพัดปัญหาของวิศวกรโยธา ก่อสร้าง
bulletรับรองความมั่นคงอาคาร โรงเรียนกวดวิชา วุฒิวิศวกร
bulletคณภาพของ วิศวกร
bulletไฟไหม้ กับ งาน วิศวกร โยธา
bulletPower Plant Job กับ งาน วิศวกร
bulletวิศวกรโยธา กับ ตลาด รับสร้าง บ้านชิ้นส่วนสำเร็จรูป
bulletวิศวกร กำหนด มาตราฐาน ออกแบบ แผนผังโรงงาน
bulletวิศวกร กับ การเลือกทำเล ที่ตั้งโรงงาน
bulletขอบเขตงานที่วิศวกร ระดับต่างๆ ทำได้ แก้ไขใหม่
bulletมาตรฐานกําหนดตําแหน่งสายงาน วิศวกรรมโยธา
bulletน้ำ และ สารผสม คอนกรีต
bulletgooglebc0321ea4a8e3495.html




วิศวกร กับ การเลือกทำเล ที่ตั้งโรงงาน

บริการให้คำปรึกษา ตรวจ วุฒิวิศวกรอุตสาหการ สามัญวิศวกรอุตสาหการรับรอง เขียนแบบ เซ็นแบบ แผนผังการติดตั้งเครื่องจักรโรงงาน (Plant Lay - Out) แบบแปลนรายการเครื่องจักร งานตรวจรับรองกำลังเครื่องจักรในโรงงาน เพื่อขออนุญาตตั้งโรงงาน ขอต่ออายุ ขอปรับปรุงกำลังเครื่องจักรขยายกิจการโรงงาน เพื่อยื่นเอกสารต่อ กนอ. (กนอ. 03/1) และ กรอ.(รง.3)

รับ ออกแบบโรงงาน

รับรองรายการคำนวณ

วิเคราะห์แรงแผ่นดินไหว

ตรวจสอบรับรองการก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือ

เคลื่อนย้ายอาคาร หรือ ทดสอบการรับน้ำหนักพื้น

 

บริการ ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน สำหรับโรงงานควบคุม และอาคารควบคุม

รวมทั้งงานแก้ไขปัญหาอาคาร  โดย วุฒิวิศวกร 

ปรึกษา ได้ที่ อีเมลย์ wbk123@gmail.com

โทร 0812974848

 บริษัท 4 ดับบลิว ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ทีมงาน วุฒิวิศวกร ไฟฟ้า วุฒิวิศวกร เครื่องกล วุฒิสถาปนิก วุฒิวิศวกร อุตสาหการ นำโดย วุฒิวิศวกรโยธา

จากบทความของ คุณ ธนกร ณ พัทลุง ในหนังสือ เทคนิค เล่มที่ 296 เดือน มกราคม 2552

ทำเลที่ตั้งโรงงานมีผลต่อการดำเนินการในระยะยาว ถ้าหากเลือกที่ตั้งได้เหมาะสม ย่อมทำให้เกิดข้อได้เปรียบต่อการแข่งขัน แต่ถ้าหากผิดพลาดอาจนำไปสู่การล่มสลายของกิจการได้โดยง่าย

ทำเลที่ตั้งโรงงานมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินกิจการผลิตเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูง เพราะทำเลที่ตั้งมีอิทธิพลต่อการหาปัจจัยการผลิต เช่น วัตถุดิบ แรงงาน สาธารณูปโภค ได้แก่ น้ำ ไฟฟ้า การขนส่งและสื่อสาร เป็นต้น เพื่อมาป้อนโรงงานให้ดำเนินกิจการอย่างราบรื่น

ทำเลที่ตั้งยังเกี่ยวเนื่องกับค่าใช้จ่าย เช่น ค่าที่ดิน ค่าก่อสร้าง ค่าขนส่งโดยตรง การเลือกทำเลที่ตั้งที่ผิดพลาดจะทำให้ค่าใช้จ่ายรวมสูง เมื่อต้นทุนการผลิตสูงทำให้โรงงานมีความยากลำพากในการดำเนินกิจการ และ แข่งขัน ดังนั้น การเลือกทำเลที่ตั้งจึงควรพิจารณา อย่างละเอียดและรอบคอบ

       การที่จะจัดตั้งหรือ ขยาย โรงงาน นั้น อาจจะมีเหตุผลดังต่อไปนี้

1.กำลังไฟฟ้า หรือ น้ำไม่พอสำหรับการผลิตในปัจจุบัน

2. สัญญาเช่าที่ดิน หรือ โรงงานหมดอายุ

3. กิจการของบริษัทรุ่งเรือง หรือ เครื่องจักรที่อยู่เดิมไม่สามารถผลิตได้เพียงพอ

4. ปริมาณ การขาย และ ความต้องการผลิตสูงขึ้น หรือ ต้องการ ขยายการตลาดออกไปท้องถิ่นอื่น ๆ

5. ปัญหาทาง เศรษฐกิจ หรือ สังคม เช่น อาจจะไม่มีแรงงานเพียงพอ ภาษีท้องที่สูง การเวนคืนที่ดิน สาธารณประโยชน์ หรือ กฎหมาย เกี่ยวกับการควบคุมบริเวณที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม

6. จัดตั้งกิจการใหม่

ข้อพิจารณา ในการเลือกทำเลที่ตั้ง

        การวิเคราะห์ หาทำเลที่ตั้ง ดรงงานโดยส่วนใหญ่ มักจะพิจารณาเลือกที่ตั้งที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่ำที่สุด และทำเลที่ตั้งแต่ละแห่งยังสามารถ นำมาเปรียบเทียบกันให้เห็นความได้เปรียบและ เสียเปรียบได้ชัดเจน

       ปัจจัย ในการเลือกทำเลที่ตั้งย่อมมี ลำดับความแตกต่าง กันไปตามชนิดและลักษณะของอุตสาหกรรม ปัจจัยบางชนิดเป็นสิ่งที่วัด และ วิเคราะห์ได้ง่าย เช่น ปัจจัยทางเศรษฐศาสตร์ เพราะตัวเลขค่าใช้จ่ายต่าง ๆ สามารถนำมาเปรียเทียบได้ง่าย

       อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยอีกหลายชนิดที่ไม่สามารถวัดได้แน่นอน ซึ่งเป็นปัจจัยที่เป็นนามธรรม (Intangible factors) เช่น ทัศนคติของชุมชนที่โรงงานตั้งอยู่ การบริการทางสังคม และ สาธารณูปโภคต่างๆ เช่น การมีตำรวจรักษาความปลอดภัย การมีโรงเรียน การมีสวนสาธารณะ การมีโรงพยาบาล การมีตำรวจดับเพลิงเพียงพอ เป็นต้น

       การพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้ง จึงควรนำปัจจัยทั้งสองมาร่วมพิจารณาด้วยความระมัดระวัง และ ละเอียดถี่ถ้วนอย่างมาก

ปัจจัยในการเลือกทำเลที่ตั้ง

1. การอยู่ใกล้ตลาด

การอยู่ใกล้ตลาดมีส่วนช่วยในการลดภาระค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าสู่ตลาด ทั้งนี้โดยเฉพาะในเวลาปัจจุบันค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าได้เพิ่มขึ้นตลอดเวลา นอกเหนือจากการที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าแล้ว การที่โรงงานตั้งอยู่ใกล้เคียงกับตลาดจะช่วยให้สินค้าได้ถึงมือผู้บริโภค หรือ ผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็วและทันเวลา เช่น โรงงานทำขนมปังจะต้องอยู่ใกล้ตลาดเพื่อมิให้สินค้าเสียก่อนถึงมือลูกค้า เป็นต้น

2. การอยู่ใกล้กับแหล่งวัตถุดิบที่ใช้ป้อนโรงงาน เพื่อช่วยไม่ให้โรงงานต้องเสียเวลา รอคอยการขนส่งวัตถุดิบ ส่งทันตามกำหนด ซึ่งจะมีผลเสียหายแก่โรงงานอย่างมาก นอกจากเสียเวลาในการรอคอยแล้ว การที่โรงงานอยู่ไกลแหล่งวัตถุดิบจะทำให้โรงงานต้องซื้อสินค้าในราคาแพงขึ้นตามระยะทางที่เพิ่มากขึ้น เช่น โรงปูนซิเมนต์ โรงงานทำเฟอร์นิเจอร์ นม ผลไม้ เป็นต้น

3.ความสะดวกในการขนส่งและการติต่อสื่อสารในบริเวณนั้น

ปัจจัยนี้เป็นปัจจัยที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุด การขนส่งมีความสำคัญสูง และมักจะถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาก่อนปัจจัยอื่น เช่น จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าน้ำมันปิโตรเลียมขึ้นราคามากว่านี้ 10 เท่า การขนส่งสินค้าที่ผลิตสำเร็จรูปจากโรงงานไปถึงผู้บริโภค จะยังเกิดความสะดวกหรือไม่ และสามารถส่งถึงในเวลาที่กำหนดได้หรือไม่

ทั้งนี้ โรงงานต้องพิจารณาถึงเส้นทางเดินรถ เรือ และ เครื่องบินว่าจะสามารถเข้าถึงบริเวณดังกล่าวได้เพียงไร

การติดต่อสื่อสารในบริเวณนั้นก็เช่นกัน จำต้องพจารณาถึงอุปสรรค และ ความสะดวกในการติดต่อสื่อสารในเขตนั้นๆ ว่าดีเพีงไร การไปรษณีย์ สัญญาณโทรศัพท์มือถือ จดหมาย วิทยุ อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ฯลฯ มีความสะดวกมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้เพราะการติดต่อสื่อสารนับว่าสำคัญมาก ทั้งนี้เพราะโรงงานต้องใช้ในการติดต่อสั่งซื้อวัตถุดิบ และ ติดต่อกับลูกค้า ฯลฯ

4. ความพร้อมในเรื่องแรงงานที่มีความชำนาญเฉพาะอย่าง โรงงานต้องพิจารณาถึงความพร้อมของแรงงานที่มีความชำนาญในอุตสาหกรรมของตนว่ามีเพียงพอหรือไม่ การเลือกเขตที่มีแรงงานซึ่งมีความชำนาญในอุตสาหกรรมของตนจะช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่านในการฝึกอบรม

5. ความสะดวกในเรื่องไฟฟ้า น้ำประปา และเชื้อเพลิง ระบบไฟฟ้า น้ำประปา เชื้อเพลิง คูระบายน้ำ ระบบกำจัดน้ำเสีย ล้วนเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการผลิตสินค้าอย่างยิ่ง การขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดนั้นจะทำสห้การผลติต้องล่าช้า หรือ ต้องปิดกิจจการไป

นอกเหนือจากความสำคัญของปัจจัยเหล่านี้ที่มีต่อการผลิตสินค้าแล้ว ปัจจัยดังกล่าวยังมีความสำคัญต่อทุกคนที่ทำงานอยู่ในโรงงานนั้น เช่น น้ำดื่ม น้ำใช้ ฯลฯ อีกด้วย

 6. ความเหมาะสมในเรื่องอัตราค่าแรงและอัตราภาษี อัตราค่าจ้างแรงงานเป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่จะต้องพิจารณา ทั้งนี้เพราะความแตกต่างในอัตราค่าจ้างแรงงานของแต่ละเขต และภาคนั้นแตกต่างกัน โรงงานโดอยู่ใกล้แหล่งแรงงานย่อมเผชิญปัญหาค่าแรงงานสูง การพิจารณาอย่างรอบคอบ ในเรื่องนี้จะช่วยให้โรงงงาน สามารถลดต้นทุน การผลิตสินค้าของกิจการลงได้

7. ความเหมาะสมในสภาพภูมิอากาศ หรือ สิ่งแวดล้อมในเขตนั้น ๆ สภาพภูมิอากาศเป็นส่วนที่สำคัญต่อโรงงานอย่างมาก โดยเฉพาะในการผลิตสินค้าบางอย่าง ซึ่งต้องการอุณหภูมิที่เหมาะสม การที่อุณหภูมิ ไม่ถูกต้องกับการผลิตสินค้าดังกล่าว จะทำให้สินค้าที่ผลิตขึ้น เสียหายได้ ดังนั้นควรจะเลือกทำเลที่ตั้งที่มีสภาพภูมิอากาศปากลาง คือ ไม่หนาวจัด และ ร้อนจัด และไม่มีฝนตกชุก จนเกินไป

8. ฐานความเป็นอยู่ของประชากรในเขตนั้นๆ ในเรื่องฐานความเป็นอยู่ขนาด และ ความหนาแน่น ตลอดจนเชื้อชาติของประชากรในบริเวณดังกล่าวจำเป็นต้องนำมาพิจารณา ทั้งนี้เพราะจมีผลต่อโรงงานได้ในอนาคต เช่น ขนาดของตลาดสินค้าในอนาคต การขยายโรงงานในอนาคต ฯลฯ

          นอกจากนี้ ทัศนคติของประชากรแถบนั้นก็มิอาจละเลยได้ การมีปฎิกริยาที่เป็นปฎิปักษ์ ต่อโรงงาน อาจนำไปสู่การสร้างความเสียหาย แก่กิจการได้อย่างมหาศาล

9. ที่ดิน ที่ดินที่จะเป็นที่ตั้งของโรงงานควรเป็นสถานที่ที่มีความกว้างขวางเพียงพอ ซึ่งอาจจะใช้สำหรับเป็นที่จอดรถของผู้ที่มาติดต่อ และ พนักงานของโรงงาน นอกจากนี้แล้ว โรงงานควรจะเตรียมที่ว่างสำหรับการขยายในอนาคตด้วย

          การซื้อที่ดินเพื่อ ก่อสร้าง โรงงาน เป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวกับจำนวนเงิน ก้อนใหญ่ ตามปกติทำเลในเขตตัวเมืองจะมี ราคาสูงมาก โรงงาน ส่วนใหญ่ จึงมักจะตั้งไกลออกไปอยู่ตามชานเมือง หรือ ในชนบทที่มีราคาที่ดินไม่แพงนัก แต่สมัยนี้มีการตั้งนิคม อุตสาหกรรม ซึ่งจะมีความพร้อมพื้นฐานให้ ในราคาที่ไม่แพงมาก ในช่วงแรก และ ความเจริญจะตามมา เมื่อมีโรงงานย้ายเข้ามาจำนวนมากพอ

          อนึ่ง นอกจากราคาที่ดินที่ต้องพิจารณาแล้ว การศึกษาถึง สถาพของดินในบริเวณดังกล่าว เช่น มีสภาพของดินเหมาะสมแกการติดตั้งเครื่องจักรขนาดใหญ่ หรือไม่ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน เพราะจะได้มีการำหนด วางแผนระบายน้ำ การวาง ฐานราก เสาเข็ม ของตัวอาคาร ตลอดจนชนิดของตัวอาคารได้อย่างเหมาะสม

ตั้งโรงงานในเมืองใหญ่ หรือ เมืองเล็ก

          การเลือกที่ตั้งโรงงานในเมืองใหญ่ และ เมืองเล็ก มีข้อพิจารณาดังต่อไปนี้

         1. ข้อดี ของ เมืองใหญ่

1. มีแรงงานมาก หาได้ง่าย และสามารถเลือกหาได้ทุกระดับ และ ความสามารถ

2. การบริการต่าง ๆ เช่น การซ่อมบำรุงวัตถุดิบต่างๆ หาได้ง่าย และมีอุตสาหกรรมข้างเคียงมาก

3. มีความคล่องตัวในระบบการเงินและการธนาคารโดย เฉพาะในด้านการกู้เงินมาลงทุน

4. ตลาดท้องถิ่นมีขนาดใหญ่

5. การศึกษาจะดี คนงาน ฝ่ายจัดการสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ง่าย สถานที่พักผ่อนมาก

6. ระบบการขนส่งจะดีกว่าเมืองเล็ก ๆ

             2. ข้อดี ของ เมืองเล็ก

1. ภาษีท้องถิ่นถูก

2. ค่าแรงงานต่ำ

3. ความสัมพันธ์ในกลุ่มแรงงาน และ ชุมชนดี

4. สามารถขยายโรงงานได้ง่าย ราคาที่ดินถูก

           จะเห็นว่าข้อดีของการเลือกที่ตั้งในเมืองใหญ่ หรือ เมืองเล็ก ต่างมีข้อดีต่าง เพื่อเป็นการรวมผลดีของทั้ง 2 ด้าน ดังนั้นจะเห็นได้ว่า โรงงานมักจะ ก่อสร้าง ที่ชานเมือง ( Suburban Location ) เ็ป็นส่วนใหญ่

                การเลือกทำเลที่ตั้งโรงงานจะต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วอย่างละเอียดถึ่ถ้วน โดยอาจจะอาศัยภาพรวมของเมือง เพื่อให้เห็นส่วนต่าง ๆ ที่เป็นอยู่ดังตัวอย่างในรูปที่ 1 เพราะการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งก็คล้ายกับการเลือกลงทุนในรยะยาว และ ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ง่าย

ตารางที่ 1 ตัวอย่างการพิจารณา เลือกที่ตั้งโรงงาน ทางเศรษฐศาสตร์
ประเภทค่าใช้จ่าย หาดใหญ่ สงขลา
1. ค่าใช้จ่ายคงที่ ( Fixed Costs)    

1. ราคาที่ดิน

 150,000  140,000
2. ตัวอาคาร  1,900,000  1,755,000
3. เครื่องจักร- เครื่องมือต่างๆ  425,000  425,000
4. ค่าน้ำ ต่าไฟฟ้า ในสำนักงาน  135,000  111,000
5. สิ่งก่อสร้างที่ต้องการพิเศษ    
     - ปรับพื้นที่  40,000  11,000
     - ทางรถไฟ  มีแล้ว  25,000
     - ถนนเข้าโรงงาน  11,000  13,000
                               รวม  2,661,000  2,579,000
2. ค่าใช้จ่ายแปรผัน ( Variable costs)    
1. ค่าใช้จ่ายในการขนส่ง    
      - วัตถุดิบป้อนโรงงาน  150,000  155,000
      - ผลิตภัณฑ์ ไปยังลูกค้า  180,000  178,.000
2. ค่าน้ำ และ ค่าไฟฟ้า ใน โรงงาน  65,000  62,000
3. ค่าแรงงาน  650,000  627,000
4. ค่าเชื้อเพลิง  60,000  40,000
รวม  1,105,000  1,062,000

 การพิจารณาเลือกสถานที่ตั้งโรงงาน

ในการพิจารณาเลือก สถานที่ตั้งโรงงาน แบ่งการเปรียบเทียบออกเป็น 2 ส่วน คือ

1. การเปรียบเทียบทางเศรษฐศาสตร์ ( Economic )

2. การเปรียบเทียบ โดยการให้คะแนน ( Rating)

               1. ตัวอย่าง การเปรียบเทียบทางเศรษฐศาสตร์ ถ้าเรามีสถานที่ให้เลือก คือ ที่ดินที่หาดใหญ่ กับ ที่ดินที่ สงขลา โดยมีข้อมูลในการเปรียบเทียบดังตารางที่ 1

     สรุปจากตารางที่ 1 ถ้าพิจารณาปัจจัยทางด้านการเงินเป็นหลักก็ควรเลือกสงขลา เป็นสถานที่ตั้งโรงงาน

              2. ตัวอย่าง การเปรียบเทียบโดยการให้คะแนน ในการพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ดังตัวอย่าง ใน ตารางที่ 2 จะเห็นว่าทำเล ( ข ) มีความสม่ำเสมอที่สุด คือ ไม่โน้มเอียงไปทางใดทางหนึ่งมากนัก

ส่วนทำเล (กก) กับ ทำเล (ค) ต่างก็มีดีไปคนละอย่าง ถ้าจะนับว่าปัจจัยต่าง ๆ มีค่า เท่าๆ กัน จะเห็นว่า ทำเล (ข) ได้เปรียบ ทำเล (ค) อยู่เล็กน้อย

 

ปัจจัย ทำเล (ก) ทำเล (ข) ทำเล (ค)
1. ใกล้แหล่งวัตถุดิบ ใกล้ ปานกลาง ไกล
2. ใกล้ตลาดจำหน่าย ไกล ปานกลาง ใกล้
3. หาแรงงานได้ง่าย ยาก ง่าย ปานกลาง
4. การขนส่งสะดวก ดีมาก ดี ดีมาก
5. มีน้ำประปาสะดวก ไม่ดี ไม่ดี ดีพอใช้
6. มีไฟฟ้าใช้สะดวก ปานกลาง ปานกลาง พอใช้
7. การระบายสิ่งโสโครก ไม่ดี ดี ปานกลาง
8. ค่าที่ดิน และ ค่าก่อสร้าง ต่ำ ปานกลาง ปานกลาง
9. สิ่งแวดล้อม ไม่ดี พอใช้ ไม่ค่อยดี
ตารางที่ 3 ตัวอย่าง การให้คะแนนปัจจัยต่าง ๆสำหรับการเลือกทำเลที่ตั้งโรงงาน
ปัจจัย คะแนนเต็ม ทำเล (ก) ทำเล (ข) ทำเล (ค)
1. ใกล้แหล่งวัตถุดิบ 400 300 250 150
2. ใกล้ตลาดจำหน่าย 300 150 200 250
3. หาแรงงานได้ง่าย 275 150 225 175
4. การขนส่งสะดวก 125 125 100 125
5. มีน้ำประปาสะดวก 200 100 150 175
6. มีไฟฟ้าใช้สะดวก 200 150 150 100
7. การระบายสิ่งโสโครก 100 50 75 75
8. ค่าที่ดิน และ ค่าก่อสร้าง 70 25 50 50
9. สิ่งแวดล้อม 50 25 40 35
รวม 1,725 1,110 1240 1,135
    65% 72% 66%

 

 

เพื่อที่จะเปรียบเทียบปัจจัยต่าง ๆให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น เราจะใช้วิธีให้คะแนน (Rating Plan) ดังตัวอย่างในตารางที่ 3 ซึ่งวิธีการนี้มีการให้น้ำหนักปัจจัยต่าง ๆ คือ ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อ กิจการผลิตมากที่สุด จะได้รับน้ำหนักมากที่สุด เช่น สมมติว่าในตัวอย่างข้างต้น การอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด เราก็จะให้น้ำหนักมากที่สุด คือ ให้เต็ม 400

            ส่วนสิ่งแวดล้อมนั้นถือว่าเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบน้อย เราก็จะให้น้ำหนักน้อย คือให้คะแนนเพียง 50 ทั้งนี้แสดงว่าเราให้น้ำหนักปัจจัยประเภทแรกให้มีค่าเท่ากับ (400/50) เท่ากับ 8 เท่าของปัจจัยประการหลัง

            การให้คะแนนขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้ให้คะแนน ดังนั้นในทางปฎิบัติจริง จึงควรร่วมมือกันหลาย ๆ ฝ่าย เพื่อเป็นการระดมสมองหาคะแนนที่เหมาะสมที่สุด

                หลังจากให้คะแนนเต็มแต่ละปัจจัยแล้ว ผู้วิเคราะห์ก็จะพิจารณาว่า ทำเลแต่ละแห่งควรจะได้คะแนน สำหรับ ปัจจัยแต่ละประการอย่างไรบ้าง เช่น 

- ทำเล(ก) อยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบพอประมาณ จึงให้คะแนน 300

- ทำเล(ข) อยู่ห่างจาก แหล่งวัตถุดิบปานกลาง จึงให้คะแนน 250

- ทำเล(ค) อยู่ ไกลจาก แหล่งวัตถุดิบ จึงให้คะแนน 150

สำหรับปัจจัยอื่น ๆ ผู้วิเคราะห์ก็จะให้คะแนน โดยยึดหลักทำนองเดียวกัน

ผลการให้คะแนนปรากฎว่า ทำเล(ข) ได้คะแนนราว 72% ของคะแนนเต็มทั้งหมด

ส่วน ทำเล(ค) ได้คะแนนราว 66% ของคะแนนเต็มทั้งหมด

และ ทำเล(ก) ได้คะแนน 65% ของคะแนนเต็มทั้งหมด

ดังนั้นจึงควร พิจารณาเลือกทำเล (ข) เป็นที่ตั้งโรงงาน

สรุป

          จากข้างต้นก็เป็นเทคนิคในการพิจารณาเลือก ทำเลที่ตั้ง โรงงาน เพื่อให้การดำเนินกิจการผลิตเกิดประสิทธิภาพสูง เพราะปัญหาการเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบการปัจจุบันกลายเป็นปัญหา ระดับโลก ซึ่งทำเลที่ตั้งสถานประกอบการ มีผลระยะยาวต่อการดำเนินการ ถ้าหากเลือกทำเลที่ตั้งที่ผิดพลาดย่อม อาจนำไปสู่ การล่มสลายของ กิจการได้โดยง่าย

หลักการที่จำเป็นในการจัดตั้งเป็นนิคมอุสาหกรรม

เรื่องสำคัญคือ ทำเลที่ตั้ง

ตัวอย่างเช่น นิคมอมตะนคร (จ.ชลบุรี) ตอนนั้น อีสเทิร์นซีบอร์ด เริ่มต้นแล้ว ดังนั้น อมตะ จึงอยู่ไม่ไกลจากท่าเรือแหลมฉบัง การคมนาคมสะดวก ใกล้สนามบินหนองงูเห่า ดูจากที่ตั้งว่า ถนน บางนา-ตราดสร้าง มอเตอร์เวย์ รวมถึงแผนการ พัฒนา คมนาคมต่าง ๆ แล้วก็จะเห็นอนาคตของการมีที่ตั้ง ตรงนั้น รวมถึงแผนการส่งเสริมการลงทุนของ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และการนิคมอุตสาหกรรม หรือ อาจสรุปง่ายๆ ว่าการทำงานใดๆ ต้องดูนโนบายของประเทศ มีการศึกษาโครงการ ทำ Feasibility Study ด้วย ทุกสิ่งทุกอย่างต้องทำอย่างมีเหตุและผล มิใช่คิดเอาเองลอยๆ

 การเติบโตทางอุตสาหกรรม ของประเทศไทยในปัจจุบันเป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม มาเลเซีย

ด้วย ทำเลที่ตั้ง ของบ้านเราที่เป็นศูนย์กลางการคมนาคม และการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค ที่มีความทันสมัย สะดวกสบายพอสมควร ทำให้เรายังคงเป็นทำเลที่ดีอยู่ แต่เรามีปัญหาเรื่อง สิทธิประโยชน์ ที่ตอนนี้ เวียดนามแซงหน้าเราไปแล้ว ด้วยการให้บริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนได้ 100% และการทำงานอย่างรวดเร็วในการอนุมัติ การจัดตั้งโรงงาน การได้รับสิทธิพิเศษ ฯลฯ อันี้ถ้าบ้านเรายังเต็มไปด้วยความขัดแย้ง ทะเลาะกันอยู่ เราคงจะล้าหลังกว่าเขาแน่ๆ นอกจากนี้เรายังมีปัญหาเรื่องคุณภาพการศึกษา บุคคลากร ฯลฯ ที่ต้องให้ความสำคัญในการปฎิรูป การศึกษาอย่างเอาจริงเอาจัง เพื่อให้คนที่ทำงานนั้นเป็นแรงงานมีกษะ มีฝีมือ ตรงนี้จะทำให้เราสามารถแข่งขัน ได้อย่างยั่งยืน ขอให้ดูแบบ สิงคโปร์เอาไว้ เรื่องการศึกษานั้น เวียดนาม เขาทำได้ดี มีเด็กเก่งๆ คณิตศาสตร์ สายวิทยาศาสตร์มาก เขาเอาจริงเอาจังกว่าเรามาก ส่วนทางมาเลเซียนั้น เขาพยายามวางจุดแข็งของเขาเป็นเหมือนศูนย์แห่งไอทีแห่งอาเซียน ซึ่งก็ได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากรัฐบาลของเขาอย่างต่อเนื่อง

ถ้าเพื่่อนๆ ท่านใดมีข้อมูล วิจัย ที่ละเอียดมากขึ้นขอให้ส่งให้ผม ด้วยเพราะ มีคนต้องการเยอะ แต่ไม่รู้ไปหาที่ไหน

กฎหมายกับการก่อสร้าง โดย ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์

 

 

คำถาม โรงงานอุตสาหกรรมมีกฎข้อบังคับอย่างไรบ้างตามกฎหมาย โดยเฉพาะในสถานที่ชุมชน

 

 

 

 

 

ตอบ โดยปกติในบริเวณสถานที่ชุมชนจะไม่อนุญาตให้สร้างโรงงานอุตสาหกรรมใดๆ ที่เห็นอยู่มักจะเป็นโรงงานเถื่อน แต่หากจะสร้างโรงงานอุตสาหกรรม ก็จะมีกฎหมาย มีข้อบังคับ มีกฎกระทรวงมากมายที่จะต้องพิจารณา เช่น

 

 

 

 

 

1. มีข้อกำหนด กฎกระทรวงหลายเรื่องใน พรบ.ควบคุมอาคาร 2522 แก้ไข 2535, 2543, 2550

 

 

2. มีข้อกำหนด สถานที่ตั้งที่อนุญาตก่อสร้างตามกฎกระทรวงผังเมืองรวมในแต่ละท้องที่แต่ละจังหวัด

 

 

3. มีข้อกำหนด ใน พรบ.การนิคมอุตสาหกรรมประเทศไทย 2522 แก้ไข 2534, 2539, 2550

 

 

4. มีรายละเอียดหลักเกณฑ์จะต้องปฏิบัติตาม พรบ.ส่งเสริมรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

 

 

5. นอกจากนี้ยังต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติใน พรบ.ส่งเสริมอนุรักษ์พลังงานอีกด้วย

 

 

 

 

 

ตาม ข้อ 1 ในข้อกำหนดตาม  พรบ.ควบคุมอาคาร 2522 มีข้อกำหนดกฎกระทรวงที่ว่าด้วยระยะ ระดับ ความสูง ของอาคารกับพื้นที่ที่จะก่อสร้าง ขนาด จำนวนห้องน้ำ จำนวนที่จอดรถ การให้แสงสว่าง การบำบัดน้ำเสีย ขยะ ฯลฯ รวมทั้งมีข้อกำหนดกฎกระทรวงเรื่องควบคุม ห้ามก่อสร้างโรงงานประเภท ชนิด ในพื้นที่ที่ประกาศห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง เปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิด บางประเภท ในเขตพื้นที่ต่างๆ ที่กำหนดเป็นกฎกระทรวงหลายฉบับ

 

 

 

 

 

ตาม ข้อ 2 มีกฎกระทรวงผังเมือง  หลายจังหวัด  หลายพื้นที่  กำหนดพื้นที่ที่อนุญาตให้สร้างโรงงานอุตสาหกรรม และไม่ให้สร้างโรงงานอุตสาหกรรม ผู้ที่ประสงค์จะสร้างโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ใด ต้องตรวจสอบจากแผนที่ ผังเมืองรวมของท้องที่นั้น

 

 

 

 

 

ตาม ข้อ 3 การจะขอก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมในเขตนิคมอุตสาหกรรมใด จะมีข้อกำหนดของแต่ละนิคมอุตสาหกรรมไว้ แต่จะมีรายละเอียดแตกต่างกันเล็กน้อย

 

 

 

 

 

ตาม ข้อ 4 ผู้จะขออนุญาตก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม  ไม่ว่าที่ใด  จะต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม แต่หากเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการดำเนินการที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของ ประชาชน ก็จะต้องขอความเห็นประกอบของคณะกรรมการองค์การอิสระให้ความเห็นชอบก่อนด้วย

 

 

 

 

 

คง ตอบได้สั้นๆ เพราะรายละเอียดจริงๆ มีมากมาย หากถามมาว่าที่ใด ตรงไหน ที่จะขออนุญาตก่อสร้างโรงงาน คงจะตอบได้ชัดเจนกว่านี้ ว่ามีเรื่องใดที่จะต้องปฏิบัติ

 

 

 



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด