รับ ออกแบบ บ่อบำบัดน้ำเสีย
รับรองรายการคำนวณ
วิเคราะห์แรงแผ่นดินไหว
ตรวจสอบรับรองการก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร โดยทีมงาน
บริษัท 4 ดับบลิว ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ทีมงาน วุฒิวิศวกร ไฟฟ้า วุฒิวิศวกร เครื่องกล วุฒิสถาปนิก วุฒิวิศวกร อุตสาหการ นำโดย วุฒิวิศวกรโยธา
หรือ
เคลื่อนย้ายอาคาร หรือ ทดสอบการรับน้ำหนักพื้น
บริการ ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน สำหรับโรงงานควบคุม และอาคารควบคุม
รวมทั้งงานแก้ไขปัญหาอาคาร โดย วุฒิวิศวกร ปรึกษา ได้ที่ อีเมลย์ wbk123@gmail.com
โทร 0812974848
โครงการ บ่อบำบัดน้ำเสียขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย นี้ สร้างมานานแล้ว แต่หยุดชะงัก ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองด่าน อำเภอบางปู จังหวัดสมุทรปราการ บนเนื้อที่ 1,900 ไร ่ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ฝั่งตะวันออก ของจังหวัด สมุทรปราการ ตอนนี้ คณะอนุญาโตตุลากร ก็ได้ตัดสินให้ ผู้รับเหมา ได้รับค่าชดเชย จาก กรมควบคุมมลพิษ แล้ว แต่ก็คงยังไม่ได้ใช้งาน เพราะ ต้องอุทร กันอีก เสียเงินสร้างไปเยอะ ปล่อยให้โรงงาน ต่างๆ ที่อยู่กันเต็มจังหวัด ปล่อยน้ำเสีย ลงทะเลดื้อๆ เลย ไม่เข้าใจ นักการเมือง และ ข้าราชการประจำ ของ ประเทศนี้จริงๆ หรือ ผู้ประกอบการมักง่ายขึ้นไปอีก ขนน้ำเสียใส่รถมาแล้วเทปล่อยใส่บ่อพักของท่อรวบรวมน้ำเสีย ดื้อๆเลย ใกล้กว่าปล่อยออกทะเลได้ด้วย เสียเงินไปเปล่าๆ แล้วไม่ได้ใช้อะไรเลยแบบนี้
สำหรับระ บบรวบรวมและบำบัดน้ำเสีย ที่จัดสร้างขึ้น เป็นระบบ ที่รวบรวมน้ำเสียทั้งหมด จากฝั่งตกวันตก ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา มาที่ บำบัดน้ำเสียแบบ Extended Aeration Activated Sludge (EAAS) หมาย ถึงการบำบัดน้ำเสียแบบชีวภาพที่มีการพ่นเติมอากาศเพื่อให้แบคทีเรียกำจัด สิ่งสกปรกออกจากน้ำเสีย
ด้านการก่อสร้างโครงการจะแบ่งการดำเนิน โครงการออกเป็น 2 ประเภทงาน คือ งานการออกแบบรวมก่อสร้าง และงานการทดลองเดินระบบการ ก่อสร้างในพื้นที่ส่วนใหญ่จะกำหนดให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 3 ปี และมี การทดลองเดินระบบประมาณ 3 ปี โดยเริ่มลงมือก่อสร้างช่วงต้นปี 2541 เป็นต้น ซึ่งการก่อสร้างระบบท่อรวบรวมน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียครอบ คลุมจะพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันอ อก 6 จุดสำคัญ โดยแบ่งกำหนดระยะเวลาดำเนินการสร้างท่อ การก่อสร้างระบบบำบัด และ การเดินระบบบำบัดในพื้นที่ส่วนต่างตามกำหนดเดิม ดังนี้
พื้นที่ A (บางปูและบางปูใหม่) เริ่มก่อสร้าง ก.พ. 41 (ระยะเวลาก่อสร้าง36 เดือน)
พื้นที่ B (ปู่เจ้าสมิงพรายและเทศบาลเมือง) เริ่มก่อสร้าง ก.พ. 41 (ระยะเวลาก่อสร้าง 36 เดือน)
พื้นที่ C (สำโรง) เริ่มก่อสร้าง ก.พ. 44 (ระยะเวลาก่อสร้าง 60 เดือน)
พ ื้นที่ D (ระบบบำบัดน้ำเสีย) เริ่มก่อสร้าง ก.พ. 41(ระยะเวลาก่อ สร้าง 36 เดือน)
พื้นที่ E (สุขสวัสดิ์) เริ่มก่อสร้าง ก.พ. 44 (ระยะเวลาก่อสร้าง 36 เดือน)
พื้นที่ F 1 (พระสมุทรเจดีย์) เริ่ มก่อสร้าง ก.พ. 44 (ระยะเวลาก่อสร้าง 42 เดือน)
พื้นที่ F2 (พระประแดง) เริ่มก่อสร้าง ก.พ. 44 (ระยะเวลาก่อสร้าง 42 เดือน)
โดยเริ่มเดินระบบในเดือนที่ 36 (ปี 44)
อย่างไรก็ตาม ภายหลัง มีปัญหาการคัดค้านของชาวบ้านในพื้นที่ กำหนดเวลาเดินระบบได้ถูกเลื่อนออกไปเป็นปี 2546
ระบบท่อรวบรวมน้ำเสียในพื้นที่ A และ E จะก่อสร้างแล้วเสร็จในระยะ เวลาเดียวกันกับระบบบำบัดน้ำเสียในพื้นที่ D ท ั้งนี้เมื่อการก่อสร้างท่อรวบ รวมน้ำเสียในพื้นที่อื่นคือ พื้นที่ F1, F2, B และ C เสร็จจะสามารถส่งน้ำเสีย เข้าบำบัดยังระบบบำบัดที่พื้นที่ D เป็นลำดับ
สำหรับระบบการก่อสร้าง จะก่อสร้างท่อหลักในการร วบรวมน้ำเสียใน ถนนสายหลัก (Main Trunk) และท่อรองที่รวบรวมน้ำเสียในถนนสายรอง (Secondary Sewers) รองรับน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมและชุมชนใน พื้นที่ โดยใช้เทคโนโลยีวิธีดันท่อลอด (Pipe Jacking) โดยไม่ ขุดเปิดหน้าดิน เพื่อลดปัญหาการจราจร ความยาวทั้งโครงการ 125 กม.
น้ำเสียที่รวบรวมจากฝั่งตะวันตกบริเวณพื้นที่ E และ F1และ F2 จะถูก ส่งมารวมกับน้ำเสียฝั่งตะวันออกในพื้นที่ A B และ C แล้วจึงถูกส่งไ ปบำบัด ที่โรงบำบัดน้ำเสียในพื้นที่ D โดยการสูบผ่านอุโมงค์ที่ขุดลอดแม่น้ำ เจ้าพระยา
ระบบบำบัดน้ำเสียนี้ มีความสามารถในการรองรับน้ำเสียที่จะเกิดขึ้นใน อีก 20 ปีข้าง หน้าในอัตรา 525,000 ลูกบ าศก์เมตรต่อวัน โดยเป็น ปริมาณน้ำเสียจากฝั่งตะวันออก 400,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน และฝั่ง ตะวันตก 125,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน
ที่มา.. หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน
โครงการจัดการน้ำเสีย เขตควบคุมมลพิษ จังหวัดสมุทรปราการ
รายละเอียดโดยย่อ
1. ทั่วไป
เป็นโครงการวางท่อรับน้ำเสียในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ ทั้งฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 80% ของพื้นที่บริการแล้วส่งไปบำบัดยังบ่อบำบัดน้ำเสียรวมที่ ต.คลองด่าน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ ที่ประมาณ กม.58 ถนนสุขุมวิท สายเก่า ช่วงสมุทรปราการ-บางประกง แล้วจึงปล่อยสงสู่ทะเล โดยอุโมงค์ส่งน้ำ ระยะทางจากฝั่งประมาณ 3 กิโลเมตร ขนาดและปริมาณงานหลักของโครงการ ดังสรุปในรูป 1, 2 และ 3 งานต่าง ๆ สามารถจำแนกเป็นส่วนหลัก ๆ ได้ดังนี้
1.1 ระบบรวบรวมน้ำเสีย
ประกอบด้วย
( 1 ) ท่อรวบรวมน้ำเสีย
( 2 ) บ่อพัก
( 3 ) บ่อผันน้ำเสีย ( CSO )
( 4 ) บ่อรับน้ำเสีย ( IDC )
( 5 ) สถานีสูบน้ำและโรงซ่อมบำรุง
1.2 โรงบำบัดน้ำเสีย ( WASTEWATER TREATMENT PLANT )
ประกอบด้วย
( 1 ) บ่อบำบัดน้ำเสีย ( Wastewater Treatment Ponds )
( 2 ) ถังตกตะกอน ( Clarifier )
( 3 ) สถานีสูบน้ำทิ้ง ( Effluent Pump )
( 4 ) อาคารอำนวยความสะดวก ( Facilities Building )
1.3 ท่อระบายน้ำที่บำบัดแล้วทิ้งทะเล
ประกอบด้วย
( 1 ) Onshore Shaft
( 2 ) Offshore Shaft
( 3 ) Segmental Tunneling
( 4 ) Diffusor Piping
2. รูปแบบและการก่อสร้าง
แต่ละส่วนงานจะเป็นดังนี้
2.1 ระบบรวบรวมน้ำเสีย
2.1.1 ท่อรวบรวมน้ำเสีย ท่อรวบรวมน้ำเสียที่ใช้มีทั้งหมด 4 ชนิด คือ
( 1 ) ท่อดัน คสล.
( 2 ) ท่อดึง โดยใช้หัวนำ (HDD) HDPE
( 3 ) ท่อที่ใช้กับงานขุดและฝังกลบ คสล.
( 4 ) ท่อ พี.วี.ซี. ใช้ได้กับทั้งฝังกลบและดันระยะใกล้
การก่อสร้างใช้วิธีดันลอดเพื่อลดผลกระทบจากการจราจรระยะดันจะวางบ่อดัน กับบ่อรับห่างกันตามขนาดของท่อดังกล่าว คือ ท่อขนาดเล็กจะวางใกล้ ท่อขนาดใหญ่จะวางห่างกันมาก โดยมีระยะตั้งแต่ 30 เมตร ถึง 600 เมตรกับท่อตั้งแต่เส้นผ่าศูนย์กลาง 300 มม. ถึง 3000 มม.
2.1.2 บ่อพัก
บ่อพักเป็นบ่อ คสล. ใช้ประโยชน์เป็นบ่อดันและบ่อรับ และยังใช้เป็นบ่อบำรุงรักษาในภายหลังการสร้างบ่อพัก ดำเนินการได้ 3 วิธีด้วยกัน คือ
( 1 ) หล่อในที่โดยการตอกเข็มพรืดพร้อมค้ำยันกันพังแล้วขุดดินให้ถึงระดับ
( 2 ) หล่อเป็น Caison ในที่โดยการหล่อเป็นช่วง ๆ แล้วจมลง ( Sink ) ไปทีละช่วง จนถึงระดับที่ต้องการแล้วจึงเทพื้น
( 3 ) หล่อเป็น Caison สำเร็จจากโรงงานแล้วนำมาจม ( Sink ) ในที่
2.1.3 บ่อผันน้ำเสีย ( CSO )
เป็นบ่อระดับตื้นก่อสร้างเพื่อผันน้ำเสียจากระบบระบายน้ำเดิมที่มีอยู่ ให้เข้าสู่ระบบเฉพาะปริมาณน้ำเสียจริง ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นน้ำในท่อระบายน้ำในหน้าแล้ง พอถึงหน้าฝนจะปล่อยให้ล้นไหลไปตามระบบเดิม ( over flow ) โดยใช้ประตูปิดเปิดชนิด Flap Gate
2.1.4 บ่อรับน้ำเสีย ( IDC )
เป็นบ่อพักรับน้ำเสียที่ก่อสร้างไว้ใกล้ ๆ กับแหล่งน้ำเสียที่ออกจากโรงงานโดยตรง ลักษณะคล้าย ๆ กับบ่อพักทั่ว ๆ ไป แต่จะมีขนาดเล็กกว่าและอยู่ระดับที่ตื้นกว่า
2.1.5 สถานีสูบน้ำเสียและโรงซ่อมบำรุง
สถานีสูบน้ำก่อสร้างเพื่อสูบน้ำยกระดับจากระดับลึกให้สูงขึ้นมาเพื่อที่ จะปล่อยให้ไหลตามแรงโน้มถ่วง ( Gravity Flow ) ส่วนใหญ่จะสร้างที่ระดับลึกมาก การก่อสร้างจะให้ระบบกำแพงคอนกรีตหล่อในที่ ( Diaphragm wall ) เว้นเสียแต่สถานีสูบน้ำขนาดเล็ก โรงซ่อมบำรุงจะสร้างอยู่ใกล้กับสถานีสูบน้ำและตามตำแหน่งที่สะดวกในการใช้ บำรุงรักษา
2.2 โรงบำบัดน้ำเสีย ( Wastewater Treatment Plant )
2.2.1 บ่อบำบัดน้ำเสีย ( Wastewater Treatment Ponds )
ประกอบด้วย บ่อเก็บกักกากตะกอนชีวภาพจากบ่อบำบัดเบื้องต้น ( Pretreatment Biosolids Storage Basin ) บ่อบำบัดเบื้องต้น ( Pretreatment Pond ) บ่อเติมอากาศ ( Aeration basin ) และบ่อเก็บกากตะกอนชีวภาพ ( WAS Biosolids Basin ) ทุกบ่อก่อสร้างโดยใช้คันบ่อ ( Berm ) คสล. แกนดินเหนียว ตั้งอยู่บนเสาเข็มขนาด I-20 ลึกจากผิวดิน 12 เมตร เป็นแบบ Floating Structure กล่าวคือ สามารถทรุดตัวทั้งระบบได้ ตามอัตราการทรุดตัวปกติของผิวดินข้างเคียง พื้นบ่อเป็นดินธรรมชาติปรับแต่งให้ได้ระดับ
2.2.2 ถังตกตะกอน ( Clarifier )
เป็นถังตกตะกอน คสล. ขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลางภายใน 55 เมตร ความสูงของกำแพง 5.80 เมตร ก่อสร้างบนฐานราก เสาเข็มที่ความยาว 32 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 600 มม.
2.2.3 สถานีสูบน้ำทิ้ง ( Effluent Pump )
เป็นสถานีสูบน้ำที่บำบัดแล้วเพื่อส่งลงทะเล โดยจะสูบขึ้นไปเก็บที่หอสูงเพื่อเพิ่มแรงดันที่ระดับ 13.00 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ( 13.00 m MSL )
2.2.4 อาคารอำนวยความสะดวก
อาคารอำนวยความสะดวกเป็นอาคาร คสล. ประกอบด้วย
- ห้องทดลอง
- สำนักงาน
- สถานีไฟฟ้าย่อย
- โรงซ่อมบำรุง
- บ้านพักพนักงาน
2.3 ท่อระบายน้ำที่บำบัดแล้วลงสู่ทะเล
2.3.1 On-shore shaft เป็นบ่อที่ก่อสร้างบนฝั่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9.00 เมตร ลึก 30.00 เมตร ใช้เป็นบ่อเริ่มต้นเจาะและวางท่ออุโมงค์ ชนิดหลายชิ้นประกอบกัน ( Segmental Tunnel ) ก่อสร้างโดยวิธี Caison หล่อในที่ทีละชิ้น
2.3.2 Off-shore shaft เป็นบ่อที่ก่อสร้างในทะเลมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9.00 เมตร ลึก 27.00 เมตร เป็นบ่อรับปลายสุดของอุโมงค์ส่งน้ำและ เป็นบ่อที่จะปรับเปลี่ยนระดับของอุโมงค์ขึ้นมาที่ระดับตื้น เพื่อต่อท่อติดตั้งหัวกระจายน้ำ ( Diffusor ) ก่อสร้างด้วยวิธี Caison คสล. หล่อสำเร็จจากโรงงาน
2.3.3 Segmental Tunneling เป็นการวางท่ออุโมงค์โดยใช้หัวเจาะแบบ EPB ( EARTH PRESSURE BALANCE ) ส่วนอุโมงค์หล่อเป็นชิ้นส่วนสำเร็จรูปต่อกันทีละวงแต่ละวงประกอบด้วยหลาย ชิ้นยึดต่อกัน ด้วยสลักเกลียวเหล็กชุบสังกะสียาปิดด้วยมอร์ต้า
2.3.4 Diffusor Piping เป็นท่อส่วนสุดท้ายที่ใช้สำหรับติดตั้งหัวกระจายน้ำ เป็นท่อเหล็ก Mild Steel ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2600 มม. ติดตั้งโดยวิธีขุดฝังกลบบนฐานรากเสาเข็ม
3. แผนงานก่อสร้างรวมและความก้าวหน้าของการก่อสร้าง
ข้อมูลพื้นฐานของ
โครงการออกแบบรวมก่อสร้างระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียเขตควบคุมมลพิษ
จังหวัดสมุทรปราการ
1. ความจำเป็นของการมีโครงการ
ในปี พ.ศ. 2540 จังหวัดสมุทรปราการมีจำนวนประชากรประมาณ 1 ล้านคน และมีโรงงานอุตสาหกรรมมากถึง 5,200 โรง ซึ่งนับเป็นจังหวัด ที่มีโรงงานอุตสาหกรรมมากที่สุด โดยในพื้นที่ชุมชนหนาแน่นของจังหวัดสมุทรปราการ พบว่ามีปริมาณน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นประมาณครึ่งหนึ่งของปริมาณ น้ำเสียที่เกิดขึ้นทั้งหมดในจังหวัด ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเป็นน้ำเสียจากบ้านเรือนและสถานประกอบการพาณิชย์อีกอย่าง ละเท่า ๆ กัน อย่างไรก็ตาม แหล่งกำเนิดอุตสาหกรรมจัดเป็นแหล่งกำเนิดที่มีความสกปรกสูง โดยภาคอุตสาหกรรมได้ปล่อยระบายน้ำเสีย ที่มีความสกปรกรวมกันประมาณร้อยละ 80 ของปริมาณความสกปรกรวมทั้งหมด ในขณะที่บ้านเรือนและสถานประกอบการพาณิชย์เป็นแหล่งความสกปรกเพียงร้อยละ 10 เท่า ๆ กัน น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมนอกจาก จะปนเปื้อนด้วยสารอินทรีย์แล้วยังปนเปื้อนด้วยสารเคมีนานาชนิดอีกด้วย การปล่อยระบายน้ำเสียไม่ว่าจะมาจากชุมชนพักอาศัย สถานประกอบการต่าง ๆ และโรงงานอุตสาหกรรม ได้ส่งผลเสียหายต่อแหล่งน้ำ ชุมชน และสุขภาพอนามัยของประชาชน ทั้งยังทำให้ผลผลิตทางการเกษตรทั้งการทำนาข้าวนาปลา และการประมงตกต่ำลงกว่าเดิมเป็นอันมาก จนทำให้ต้องมีการประกาศให้จังหวัดสมุทรปราการ เป็นเขตควบคุมมลพิษ ในปี พ.ศ. 2536
หลังจากที่มีการประกาศให้จังหวัดสมุทรปราการเป็นเขตควบคุมมลพิษแล้ว ก็ได้มีการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อกำหนดรูปแบบของโครงการแก้ไขปัญหามลพิษ ทางน้ำ โดยในปี พ.ศ. 2538 ธนาคารพัฒนาเอเซียร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ ได้มอบหมายให้บริษัท Montgomery Watson Asia และคณะทำการศึกษาวางแผนดำเนินโครงการ โดยต้องมีการพิจารณาด้านสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ในขั้นเริ่มวางแผนโครงการตามแนว ทาง ที่กำหนดโดยธนาคารพัฒนาเอเซีย ( ADB ) ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนโครงการ กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาจึงได้ทำการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลสภาพแวดล้อมโดย เน้นด้านคุณภาพน้ำในลำน้ำเจ้าพระยา และโครงข่ายคลองต่าง ๆ ในจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งสรุปผลได้ว่า ลำคลองหลายสาย มีสภาพเน่าเสียและพบสารโลหะหนักและสารปราบศัตรูพืช หลายชนิด ในปริมาณสูงในแม่น้ำเจ้าพระยาและในอ่าวไทยตอนบน ซึ่งชึ้ให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้สูงที่สารพิษเหล่านี้จะสะสมในตะกอนท้องน้ำ และในสัตว์น้ำ และย่อมมีผลต่อระบบนิเวศน์ทางน้ำและเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ที่ บริโภคสัตว์น้ำเหล่านั้น
นอกจากนี้ได้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในบริเวณอื่นเพิ่มเติม เช่น ในคลองด่านหน้าวัดสว่างอารมณ์ ที่ตำบลคลองด่านในปี พ.ศ. 2538 พบค่าบีโอดีสูงถึง 35 มิลลิกรัมต่อลิตร ในขณะที่ ค่ามาตรฐานสำหรับแหล่งน้ำเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควรมีค่าดังกล่าวไม่ เกิน 2 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่วนในรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการโรงไฟฟ้าบางบ่อ ก็ได้มีการศึกษาติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งในอำเภอบางบ่อในปี พ.ศ. 2538 ผลการศึกษาสรุปว่าสภาพนิเวศน์บริเวณชายฝั่ง อยู่ในสภาพเสื่อมโทรม เพราะได้รับการปนเปื้อนจากสิ่งปฏิกูลและธาตุอาหารพืชสูง
จากสภาพความเสื่อมโทรมโดยทั่วไปดังกล่าวแล้วข้างต้น จังหวัดสมุทรปราการจำเป็นต้องวางแผนแก้ไขปัญหาซึ่งจะต้อง คำนึงถึงทุกแหล่งที่เป็นแหล่งกำเนิดหลัก คือ ทั้งโรงงานอุตสาหกรรม บ้านเรือนและสถานประกอบการพาณิชย์ จึงจะแก้ไขปัญหาได้สมบูรณ์ การจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียรวมจึงมีจุดประสงค์เพื่อบำบัดน้ำเสียจากแหล่ง กำเนิดต่าง ๆ ดังกล่าวพร้อม ๆ กัน นอกจากนี้การที่สมุทรปราการ เป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่มีแหล่งกำเนิดมลพิษทางน้ำจำนวนมาก ระบายทั้งน้ำเสียและน้ำทิ้งที่บำบัดแล้วลงสู่แหล่งน้ำพร้อม ๆ กันเป็นปริมาณมาก แม้จะมีการบำบัดน้ำเสียบางส่วนแล้วก็ตาม น้ำทิ้งซึ่งมีปริมาณมากก็ยังคงมีความสกปรกสูงเกินกว่าที่แหล่งน้ำธรรมชาติจะ รองรับได้ จึงทำให้คุณภาพน้ำในลำคลองต่าง ๆ ในจังหวัดสมุทรปราการเสื่อมโทรมลงเป็นลำดับ การแก้ไขปัญหาที่ได้ ผลดี คือ การจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียรวม ซึ่งคาดว่าเมื่อเริ่มเดินระบบบำบัดได้ในปี พ.ศ. 2544 จะมีผลให้คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำของจังหวัดสมุทรปราการค่อยๆ ปรับฟื้นตัวดีขึ้นอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม แม้จะมีระบบบำบัดน้ำเสียรวม การกวดขันโดยตรงกับแหล่งกำเนิดโดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรม ก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องดำเนินการควบคู่กันไป ซึ่งกรมควบคุมมลพิษก็จะประสานกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อให้การควบคุมเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ อันจะนำไปสู่การปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นของเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดสมุทรปราการต่อไป
2. แนวทางการแก้ไขปัญหา
ปัญหามลพิษทางน้ำในจังหวัดสมุทรปราการ ได้ส่งผลกระทบไปถึงการส่งออกอาหารทะเลจากประเทศไทย ดังได้ปรากฎว่าในหลายประเทศ ได้มีการกีดกันอาหารทะเลจากประเทศไทย โดยอ้างการปนเปื้อนสารมลพิษต่าง ๆ รัฐบาลได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้ดำเนินนโยบาย เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษในจังหวัดสมุทรปราการ ตั้งแต่การกำหนดให้เขตท้องที่จังหวัดสมุทรปราการเป็นเขตควบคุมมลพิษดังกล่าว แล้วข้างต้น และกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับจังหวัดสมุทรปราการก็ได้ดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำ โดยแผนการดำเนินงานที่สำคัญที่สุดของโครงการจัดการน้ำเสียเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดสมุทรปราการในขณะนี้คือ โครงการออกแบบรวมก่อสร้าง ( Tern Key ) ระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียของจังหวัด พร้อม ๆ กับการดำเนินการในเรื่องสิ่งแวดล้อม ควบคู่กันไป ระบบบำบัดน้ำเสียจะช่วยลดความสกปรกที่ระบายลงสู่แหล่งน้ำได้ถึง 95% คือ จากเดิมที่เคยระบายความสกปรกทั้งหมดลงสู่แหล่งน้ำ 100% ก็จะลดลงเหลือเพียง 5% เมื่อมีระบบบำบัดรวม โครงการดังกล่าวเริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2541 และมีกำหนดเริ่มเดินระบบได้ในปี พ.ศ. 2544
3. โครงการจัดการน้ำเสีย จังหวัดสมุทรปราการได้รับการสนับสนุนจากธนาคารพัฒนาเอเซีย และ กองทุนความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลแห่งประเทศญี่ปุ่น ( OECF )
โครงการจัดการน้ำเสียเขตควบคุมมลพิษจังหวัดสมุทรปราการได้รับการสนับ สนุนจากธนาคารพัฒนาเอเซีย ( Asian Development Bank ) หรือ ธนาคาร ADB ซึ่งเป็นแหล่งเงินกู้หลักแหล่งหนึ่งที่ให้ความช่วยเหลือเงินงบประมาณ ในการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้อนฐานแก่ประเทศในภูมิภาคเอเซีย ADB ได้ให้ความช่วยเหลือด้านงบประมาณแก่โครงการสมุทรปราการประมาณร้อยละ 35 และมีส่วนร่วมในการวางแผนงานโครงการนี้ มาตั้งแต่ระยะวางหลักการเบื้องต้น เมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้ว สำหรับ OECF ให้ความช่วยเหลือด้านงบประมาณผ่านกองทุนสิ่งแวดล้อมร้อยละ 10 ของงบประมาณโครงการ
โครงการสมุทรปราการ เป็นโครงการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ที่ ADB ให้การสนับสนุน ดังนั้น ทาง ADB จึงทำการติดตามตรวจสอบความก้าวหน้าของโครงการอย่างใกล้ชิดเป็นประจำ และในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ADB ได้กล่าวชมเชยถึง โครงการนี้ในโอกาสต่าง ๆ อยู่เสมอ โดยเฉพาะในด้านที่มีการจัดการที่ดี และเป็นตัวอย่างของโครงการด้านการจัดการควบคุมมลพิษ ในเมืองอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ลักษณะการดำเนินโครงการ
4.1 การวางโครงข่ายท่อรวบรวมน้ำเสีย
โครงการออกแบบรวมก่อสร้างระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียของจังหวัด สมุทรปราการประกอบด้วย การวางโครงข่ายท่อรวบรวมน้ำเสียในขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางต่าง ๆ กันตั้งแต่ 300-3,000 มิลลิเมตร เป็นความยาวรวม 125 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 127 ตารางกิโลเมตร ในเขตชุมชนหนาแน่นหรือประมาณร้อยละ 12.6 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด ใน 22 ตำบลของอำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอพระประแดง อำเภอพระสมุทรเจดีย์ และอำเภอบางบ่อ ส่วนเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล 13 แห่งในพื้นที่โครงการดังแสดงในรูปที่ 1 ได้แก่
ฝังตะวันออก
- เทศบาลนครสมุทรปราการ
- เทศบาลตำบลสำโรงเหนือ
- เทศบาลตำบลสำโรงใต้
- เทศบาลตำบลด่านสำโรง
- เทศบาลตำบลบางเมือง
- เทศบาลตำบลบางปู
- เทศบาลตำบลคลองด่าน
- อบต. ตำบลคลองด่าน
ฝั่งตะวันตก
- เทศบาลเมืองพระประแดง
- เทศบาลตำบลลัดหลวง
- เทศบาลตำบลพระสมุทรเจดีย์
- เทศบาลตำบลแหลมฟ้าผ่า
- อบต. ในคลองบางปลากด
การวางโครงข่ายท่อรวบรวมน้ำเสียในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นจะสามารถดักน้ำ เสียจากโรงงานอุตสาหกรรมได้ประมาณ 3,600 โรงหรือประมาณร้อยละ 70 ของโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมด โดย โรงงานที่มีน้ำเสียเกิดขึ้นในปริมาณมาก คือมากกว่า 200 ลูกบาศก์เมตร ต่อวัน ทางโครงการจะก่อสร้างบ่อพักเพื่อรับน้ำเสียให้อยู่ใกล้กับโรงงานมากที่สุด เพื่อรับน้ำเสียจากโรงงานโดยตรง ส่วนน้ำเสียจากบ้านเรือนราษฎร โรงงานอุตสาหกรรมที่มีน้ำเสียในปริมาณต่ำกว่า 200 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน รวมทั้งสถานประกอบการต่าง ๆ ที่ระบายน้ำเสียลงท่อระบายน้ำสาธารณะ ทางโครงการจะสร้างบ่อดักตรงจุดที่น้ำเสียระบายจากท่อระบายน้ำสาธารณะลงสู่ คลองหรือแม่น้ำ แล้วผันน้ำเสียเข้าสู่ท่อรวบรวมน้ำเสียของโครงการ
น้ำเสียจากฝั่งตะวันตกจะถูกสูบผ่านท่อลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นท่อ คู่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 800 มิลลิเมตร ความยาว 1.2 กิโลเมตร ซึ่งจะก่อสร้างในบริเวณตรงข้ามโรงเรียนพาณิชย์นาวิกในตำบลแหลมฟ้าผ่าในอำเภอ พระสมุทรเจดีย์ลอดใต้แม่น้ำมาขึ้นที่โบสถ์ราฟาเอล ในตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ หลังจากนั้นน้ำเสียจะไหลไปตามเส้นท่อไปสู่ระบบบำบัดน้ำเสียที่ตำบลคลองด่าน ทางฝั่งตะวันออก ของแม่น้ำเจ้าพระยา
4.2 ระบบบำบัดน้ำเสีย
ระบบบำบัดน้ำเสียรวมของจังหวัดสมุทรปราการ ได้รับการออกแบบให้เป็นระบบบำบัดแบบทุติยภูมิ ชนิด Extened Aeration Activated Sludge ที่ได้รับการออกแบบให้รับน้ำเสียได้ 525,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ซึ่งเป็นปริมาณน้ำเสียที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอีก 20 ปีข้างหน้า กระบวนการบำบัดของระบบดังกล่าวเป็นขั้นตอนการบำบัดแบบชีวภาพที่จะเปลี่ยน สิ่งสกปรกที่เป็นอินทรียสารที่ละลายอยู่ในน้ำเสีย ให้กลายเป็นเซลล์ของจุลินทรีย์ จึงทำให้ความสกปรกในน้ำเสียลดลง เมื่อผ่านกระบวนการทิ้งไว้ให้ตกตะกอนเพื่อแยกเซลล์ของจุลินทรีย์ออกจากน้ำ เสีย ก็จะได้น้ำใสที่มีคุณภาพดีที่จะสามารถระบายลงสู่แหล่งน้ำได้
ลำดับการทำงาน
1. การบำบัดขั้นต้น
น้ำเสียดิบเมื่อเข้าสู่ระบบบำบัดรวมจะถูกสูบยกระดับด้วยเครื่องสูบน้ำ เสียเพื่อเข้าสู่การบำบัดขั้นต้น หรือ ขั้นปฐมภูมิ คือนำไปผ่านตะแกรง เพื่อกรองของแข็งต่าง ๆ ในน้ำเสียออก ขณะเดียวกันก็มีอุปกรณ์ตรวจวัดปริมาณการไหลของน้ำเสีย หลักจากนั้น น้ำเสียจะไหลเข้าสู่บ่อบำบัดเบื้องต้นซึ่งเป็นบ่อบำบัดแบบไร้อากาศ มีจำนวน 3 บ่อ ขนาดกว้าง 160 เมตร ยาว 320 เมตร ระดับน้ำลึก 3.8 เมตร ที่บ่อ ดังกล่าวตะกอนของแข็งทั้งที่เป็นอินทรียสารและอนินทรีสารจะตกตะกอนลง ซึ่งจะสามารถลดทั้งปริมาณความสกปรกที่เป็นอินทรียสารโดยรวมและ สารเคมีที่ปนเปื้อนในน้ำเสียอันอาจเป็นอันตรายต่อการบำบัด แบบชีวภาพในขั้นต่อไป
2. การบำบัดแบบชีวภาพ
ในขั้นตอนการบำบัดแบบชีวภาพด้วยระบบ Extened Aeration Activated Sludge นั้น น้ำเสียจะได้รับการกำจัดสิ่งสกปรกที่เป็นอินทรียสาร กระบวนการดังกล่าวประกอบด้วย 2 ขั้นตอนย่อย คือ
การเติมอากาศ
น้ำเสียจะได้รับการเติมอากาศอย่างเพียงพอในบ่อเติมซึ่งมีทั้งหมด 3 บ่อ แต่ละบ่อมีขนาดกว้าง 160 เมตร ยาว 300 เมตร ระดับน้ำลึก 3.6 เมตร เมื่อได้รับการเติมอากาศอย่างเพียงพอ จุลินทรีย์ที่มีอยู่แล้วในน้ำเสียจะเจริญเติบโต ในขั้นตอนนี้สิ่งสกปรกที่เป็นอินทรียสารซึ่งละลายอยู่ในน้ำเสียจะถูกดูดซึม เข้าสู่ผิวเซลล์ของจุลินทรีย์ พร้อมกับถูกเปลี่ยนให้เป็นอินทรียสาร ที่คงสภาพหรือเป็นเซลล์ของจุลินทรีย์นั่นเอง น้ำเสียในบ่อเติมอากาศจึงอยู่ในสภาพที่เรียกว่า Mixed Liquor คือมีเซลล์ของจุลินทรีย์ผสมอยู่ในน้ำเสีย
การตกตะกอนจุลินทรีย์
น้ำเสียซึ่งผ่านบ่อเติมอากาศแล้วและมีเซลล์ของจุลินทรีย์ปะปนอยู่นั้นจะ ไหลต่อไปยังถังตกตะกอน เพื่อแยกจุลินทรีย์ให้ตกตะกอนออกไป ทางด้านล่างของถัง โดยตะกอนเซลล์จุลินทรีย์บางส่วนจะถูกสูบหมุนเวียนกลับมาเข้าบ่อเติมอากาศอีก เพื่อนำกลับมาใช้งานในการย่อยสลายอินทรียสารในน้ำเสียใหม่ ตะกอนส่วนที่เหลือจะถูกส่งไปยังบ่อเก็บกักตะกอน ( Bio-solid Pond ) ขณะเดียวกันน้ำใสที่ได้รับการบำบัดแล้วและปราศจากตะกอนจะไหลผ่านออกทางด้าน บนของถังตกตะกอน น้ำทิ้งส่วนนี้จะมีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานน้ำทิ้งของกรมโรงงานอุตสาหกรรมและ ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และจะถูกระบายออกสู่ทะเลทางท่อระบายน้ำทิ้ง ( Qutfall )
3. การระบายน้ำทิ้งที่บำบัดแล้วออกสู่ทะเล
ท่อระบายน้ำทิ้งออกสู่ทะเลเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กหล่อสำเร็จ ชนิดต่อประกอบกันหลาย ๆ ชิ้น ( SEGMENTAL TUNNEL ) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายใน 2,600 มิลลิเมตร ความยาว 3.35 กิโลเมตร ท่อดังกล่าวฝังอยู่ที่ระดับความลึกประมาณ 20 เมตร ใต้ผิวดินตลอดแนวท่อ ส่วนของปลายท่อช่วง 600 เมตรสุดท้ายยกขึ้นมาที่ระดับความลึกใต้ผิวดินประมาณ 2.0 เมตร และจะมีหัวกระจายน้ำ ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็กยาว 2.5 เมตร และมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 เซนติเมตร ติดตั้งฉากกับท่อเป็นระยะ ๆ รวมทั้งหมด 100 หัว ส่วนปลายของหัวกระจายน้ำทุกหัวจะอยู่พ้นผิวพื้นท้องน้ำประมาณ 0.5 เมตร การระบายน้ำทิ้งจะระบายผ่านออกทางช่องกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 เซนติเมตร จำนวนส 2 ช่องที่เจาะไว้ตรงปลายหัวกระจายน้ำแต่ละหัว ในช่วงน้ำลงเฉลี่ยต่ำสุด -1.3 เมตร ส่วนปลายหัวกระจายน้ำจะยังคงจมอยู่ใต้น้ำ ไม่น้อยกว่า 2 เมตร ดังแสดงในรูปที่ 2 น้ำที่บำบัดแล้วจะผสมผสานกับน้ำทะเลอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามเกณฑ์การออกแบบท่อระบายน้ำทิ้งออกสู่ทะเล ตามมาตรฐานสากลของนานาประเทศ คือ น้ำเสีย 1 ส่วนจะผสมผสานกับน้ำทะเล 10 ส่วน
4.3 จุดเด่นของระบบบำบัดน้ำเสียของโครงการ
ระบบบำบัดน้ำเสียของโครงการซึ่งเป็นระบบ Extended Aeration Activated Sludge System มีจุดเด่น คือ
- เป็นระบบที่ใช้เทคโนโลยที่นานาประเทศยอมรับและพิสูจน์แล้วว่าสามารถบำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพในการบำบัดสูง
- เป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นสูง หมายความว่า ระบบจะยังสามารถบำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ในสภาวะที่ปริมาณและลักษณะสมบัติ ของน้ำเสียที่จะเข้าสู่ระบบมีความแปรปรวนสูง
- เป็นระบบที่ไม่ทำลายสภาวะแวดล้อม เพราะระบบทำงานโดยพึ่งพาอาศัยจุลินทรีย์ตามธรรมชาติในการบำบัดน้ำเสีย และไม่ต้องมีการเติมสารเคมี
- การดูแลและการเดินระบบทำได้ง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน
- เป็นระบบที่ให้ตะกอนส่วนเกิน ( ซึ่งจะต้องนำไปกำจัด ) ในปริมาณน้อย
จุดเด่นที่สำคัญที่สุดของระบบ คือ ระบบยังสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ในสภาวะที่มีความปรวนแปรของปริมาณและลักษณะสมบัติ ของน้ำเสียที่เข้าสู่ระบบสูง ทั้งนี้เพราะระบบบำบัดน้ำเสียของโครงการต้องรับน้ำเสียจากกลุ่มโรงงาน อุตสาหกรรม ซึ่งอาจปล่อยระบายน้ำเสียที่มี ความแตกต่างกันมากทั้งปริมาณและลักษณะสมบัติในช่วงเวลาต่าง ๆ ของวัน หรือในแต่ละช่วงของสัปดาห์ รวมทั้งในแต่ละช่วงฤดูการการผลิตด้วย
ข้อดีอีกประการหนึ่งของระบบ Extended Aeration Activated Sludge ก็คือจะมีปริมาณตะกอนส่วนเกินเกิดขึ้นน้อยและเป็นตะกอนที่ ผ่านการย่อยสลายแล้ว จึงมีความเสถียรและไม่ส่งกลิ่นเหม็น ทำให้การเดินระบบโดยรวมสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดตะกอน และลดปัญหาเรื่องกลิ่นรบกวนได้ด้วย
4.4 อายุการใช้งานของโครงการ
โครงสร้างหลักของโครงการ เช่น ท่อรวบรวมน้ำเสีย และระบบบำบัดได้รับการออกแบบให้มีอายุการใช้งานนานไม่น้อยกว่า 50 ปี โดยโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหมดของโครงการได้คำนวณเผื่อความหนาของ คอนกรีตสำหรับการกัดกร่อนจากความเค็มของดิน ถึง 40 มิลลิเมตร สำหรับโครงสร้างภายในท่อรวบรวมน้ำเสีย ได้มีการบุภายในด้วยวัสดุ HDPE หนา 1.5 มิลลิเมตร วัสดุดังกล่าวมีคุณสมบัติป้องกันการรั่วซึม และการกัดกร่อนได้เป็นอย่างดี ส่วนบ่อพักในระบบรวบรวมน้ำเสีย รวมทั้งบ่อบำบัดทั้งหมดในโรงบำบัดภายในบ่อ จะมี Hard concrete cover ทนทานต่อการกระแทกของน้ำเสียกับตัวโครงสร้างบ่อ
4.5 ประสิทธิภาพโดยรวมของระบบ
จากการพิจารณาประเภทและจำนวนแหล่งกำเนิดน้ำเสียในพื้นที่บริการหรือ พื้นที่ที่จะวางโครงข่ายท่อรวบรวมน้ำเสียแล้ว คาดว่าน้ำเสียที่เข้าสู่ระบบบำบัดรวม จะมีปริมาณความสกปรกในรูปบีโอดีประมาณ 400 มิลลิกรัมต่อลิตร และเมื่อผ่านกระบวนการบำบัดน้ำเสียแล้ว จะมีค่าความสกปรกในรูปบีโอดีเหลือไม่เกิน 20 มิลลิกรับต่อลิตร ซึ่งหมายความว่า ระบบบำบัดจะสามารถกำจัดสิ่งสกปรก ทั้งที่เป็นสิ่งสกปรกละลายน้ำและไม่ละลายน้ำออกจากน้ำเสียถึง 95% หรืออาจกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า ระบบบำบัดรวมสามารถลดปริมาณการปล่อยระบายสิ่งสกปรกที่เป็นอินทรียสารลงสู่ แหล่งน้ำธรรมชาติได้ถึงวันละ 200 ตันในรูปของบีโอดี ณ อัตราการไหลที่ได้ออกแบบไว้
5. กำหนดการโครงการ
ระบบบำบัดน้ำเสีย มีกำหนดเริ่มเดินระบบได้ในปี พ.ศ. 2544 โดยจะรับน้ำเสียจากฝั่งตะวันตกทั้งหมดและน้ำเสียบางส่วนทางฝั่งตะวันออก คือ จากเขตเทศบาลนครสมุทรปราการ และเทศบาลตำบลบางปู การก่อสร้างท่อรวบรวมน้ำเสียจะยังคงดำเนินต่อไปในเขตเทศบาลตำบลสำโรงเหนือ เทศบาลตำบลสำโรงใต้ เทศบาลตำบลด่านสำโรง เทศบาลตำบลบางเมือง เทศบาลตำบลคลองด่าน และ อบต.คลองด่าน ซึ่งทั้งหมดจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2547 การเดินระบบบำบัดในช่วง 3 ปีแรก คือช่วงปี พ.ศ. 2544-2547 begin_of_the_skype_highlighting 2544-2547 end_of_the_skype_highlighting จะอยู่ในความรับผิดชอบของบริษัทรับเหมาก่อสร้างโครงการคือ กลุ่มกิจการร่วมค้า NVPSKG
ภาพรวมโครงการที่ผม และ ทีมงาน วุฒิวิศวกรไฟฟ้า วุฒิวิศวกรเครื่องกล วุฒิสถาปนิก วุฒิวิศวกรสิ่งแวดล้อม มีส่วนร่วมในการทำงานตั้งแต่ต้นจนจบ ในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดีหลังฟองสบู่แตก
องค์การ จัดการน้ำ
เสีย . loading. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
... องค์การ จัดการ น้ำ
เสีย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิงแวดล้อม
...
www.wma.or.th/ - แค ช - ใกล้ เคียง
[PDF]
รูปแบบไฟล์: PDF/Adobe Acrobat -
มุม มองด่วน
จัดการ
น้ําเสีย ” และคําวา “ระบบ
บําบัดน้ํา เสีย รวม” ในมาตรา ๓ แหงพระราชกฤษฎีกา
... มิใชองคการจัดการ
น้ํา เสีย จัดใหมีขึ้นเพื่อรับและ
บําบัดน้ําเสีย ”
...
www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00153239.PDF
[PDF]
รูปแบบไฟล์: PDF/Adobe Acrobat -
มุม มองด่วน
การจัดการ
นํ้าเสีย ชุมชนในอดีต. สร้างระบบ
บําบัด นํ้าเสีย รวม. ปัจจุบันมี
องค์กร ปกครอง
ส่วนท้องถิ่น. จํานวน 7853 แห่ง.
นํ้าเสีย ชมชนเกิดขึ้น 14 ล้านลบม/วัน
...
www.pcd.go.th/count/mgtdl.cfm?...Date3...การจัดการน้ำเสีย ชุมชน
[PDF]
รูปแบบไฟล์: PDF/Adobe Acrobat -
มุม มองด่วน
1 แห่ง
องค์การ บริหารส่วนตําบล (อบต.) 2 แห่ง เมืองพัทยา 2 แห่ง จังหวัด. สมุทรปราการ 1 แห่ง และกรุงเทพมหานคร 8 แห่ง เป็นระบบ
บําบัดนํ้าเสีย ขนาดใหญ่ (ความ
สามารถ
...
www.pcd.go.th/count/mgtdl.cfm?FileName=Draftpollution2552_4mgt...
[PDF]
รูปแบบไฟล์: PDF/Adobe Acrobat -
มุม มองด่วน
(
องค์การ มหาชน), กรุงเทพฯ. กรมควบคุมมลพิษ. (2545).
นํ้าเสีย ชุมชนและระบบ
บําบัดนํ้า เสีย . กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว. โกวิทย์ เก้าเอี้ยน และ ทวีจินาดามันกุล.
...
www.en.mahidol.ac.th/journal/20092_fp/10suchart.pdf
[PDF]
รูปแบบไฟล์: PDF/Adobe Acrobat -
มุม มองด่วน
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม. นิสิต / นักศึกษา ข้าราชการ พนักงาน
องค์กร ปกครอง
ส่วนท้องถิ่น ผู้ทําหน้าที่ควบคุมระบบ
บําบัด นํ้า .
เสีย และผู้สนใจทั่วไป
...
www.ku.ac.th/kunews/news53/4/water_quality.pdf - 21 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ในเนื้อหาสวนนี้จะกลาวถึง การทํางานของระบบ
บําบัดน้ําเสีย แบบตาง ๆ .
... ระบบ
บําบัด น้ําเสีย ในโรงงานอุตสาหกรรม เจาหนาที่สิ่งแวดลอม บริษัทที่ปรึกษาด
...
books168.com/ศึกษาวิจัยระบบบําบัด น้ำเสีย -pdf.html - แค ช
วิธี
บํา บัดนํ้าเสีย โดยวิธีดําเนินการก่อสร้างระบบ
บําบัดนํ้าเสีย ภาย ในเขตเทศบาลนคร
... 2)
บํา บัด ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมรวมถึงการ
บําบัดนํ้าเสีย .
...
books168.com/การบําบัดนําเสีย -โรงพยาบาล ค่าย-pdf.html - แค ช
[PDF]
รูปแบบไฟล์: PDF/Adobe Acrobat -
มุม มองด่วน
บําบัดนํ้าเสีย จะต ้องได ้รับความเห็นชอบจาก
องค์กร ปก ครองส่วนท ้องถิ่นเพื่อดําเนิน
การ ประกอบกับ อจน. มีปัญหาการจัดเก็บค่าบริการในพื้นที่
...
www.sepo.go.th/uploads/soes/stat/16_4_th_.pdf
[PDF]
รูปแบบไฟล์: PDF/Adobe Acrobat -
มุม มองด่วน
พระราฯบัญญติกําหนดแผนและขั้นตอ^ารกระจายอํานาจให้แก่
องค์กร ปกครอง^วน ท้องถิ่น พ.
... พิจารณาการยกเว้นกๆรจัดเก็บค่า
บําบัดนํ้าเสีย กับ บ้านเรือนที่อยู่อา^ยซึ่งเป็น
...
www.thailocaladmin.go.th/work/e_book/eb2/law3/.../pv073.pdf - ใกล้ เคียง