ความผิดของอาคาร ที่ไม่ตรวจสอบ ตามกฎหมาย
ReadyPlanet.com
bullet กฎกระทรวง กําหนดลักษณะอาคารประเภทอื่นที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. ๒๕๕๙
dot
Group Menu
dot
bulletวุฒิวิศวกรออกแบบโครงสร้าง
dot
Newsletter

dot
bulletโครงการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
bulletวิศวกร งานโลหะ และ เหล็ก
bulletสารพัดปัญหาของวิศวกรโยธา ก่อสร้าง
bulletรับรองความมั่นคงอาคาร โรงเรียนกวดวิชา วุฒิวิศวกร
bulletคณภาพของ วิศวกร
bulletไฟไหม้ กับ งาน วิศวกร โยธา
bulletPower Plant Job กับ งาน วิศวกร
bulletวิศวกรโยธา กับ ตลาด รับสร้าง บ้านชิ้นส่วนสำเร็จรูป
bulletวิศวกร กำหนด มาตราฐาน ออกแบบ แผนผังโรงงาน
bulletวิศวกร กับ การเลือกทำเล ที่ตั้งโรงงาน
bulletขอบเขตงานที่วิศวกร ระดับต่างๆ ทำได้ แก้ไขใหม่
bulletมาตรฐานกําหนดตําแหน่งสายงาน วิศวกรรมโยธา
bulletน้ำ และ สารผสม คอนกรีต
bulletgooglebc0321ea4a8e3495.html




ความผิดของอาคาร ที่ไม่ตรวจสอบ ตามกฎหมาย

รับออกแบบอาคารโครงสร้าง

รับรองรายการคำนวณ

วิเคราะห์แรงแผ่นดินไหว

รวมทั้งงานแก้ไขอาคารที่มีปัญหา

บริการ ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน สำหรับโรงงานควบคุม และอาคารควบคุม

โดย วุฒิวิศวกร และ วุฒิสถาปนิก

ปรึกษา ได้ที่ อีเมลย์ wbk123@gmail.com

โทร 0812974848

 

 

เครดิต : กฎหมายกับการก่อสร้าง โดย ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์

 

 

 

คำถาม  เรื่อง กฎหมายการตรวจสอบอาคาร  ตามกฎกระทรวง  หากถึงเวลาไม่ดำเนินการตามภาครัฐแจ้ง มีความผิดหรือไม่ ทั้งนี้หากมีความผิดจะต้องรับโทษตามกฎหมายอย่างไรบ้าง

 

 

 

 

ตอบ เงียบไปนานสำหรับเรื่องการตรวจสอบอาคาร ในความเงียบนี้ก็คือไม่มีข่าวว่ามีการดำเนินการในเรื่องนี้เป็นอย่างไร เพราะปัญหาที่รู้กันก่อนจะเงียบไปก็คือ มีอาคารที่จะต้องตรวจสอบเป็นจำนวนมากที่มิได้มีการตรวจสอบตามกฎกระทรวง เรื่องการตรวจสอบอาคาร

 

 

 

 


 

 

 

คำถามดังกล่าวจึงตอบให้ทราบว่า หากไม่ดำเนินการตามภาครัฐ คือ ไม่ดำเนินการตรวจสอบแล้วจะมีความผิด ต้องรับโทษอย่างไรบ้าง

 

 

 

 

 

 

เรื่องการตรวจสอบอาคารในพระราชบัญญัติควบคุมอาคารมีบทบัญญัติ พอสรุปได้ดังนี้

 

 

 

 

 

*มาตรา 32 ทวิ บัญญัติว่า อาคารใดต้องมีการตรวจสอบ

 

 

*มาตรา 55 ทวิ บัญญัติว่า ใครจึงจะเป็นผู้ตรวจสอบอาคาร

 

 

*มาตรา 55 ตรี  บัญญัติว่า  ในกรณีที่มีการตรวจสอบแล้ว   หากผู้ตรวจสอบฝ่าฝืนพระราชบัญญัติ กฎกระทรวง หรือข้อบัญญัติท้องถิ่นจะถูกลงโทษตามมาตรา 49 ทวิ มาบังคับใช้โดยอนุโลม

 

 

*แต่ มาตรา 49 ทวิ  บัญญัติว่า  ถ้ามีการก่อสร้าง  ดัดแปลง  รื้อถอน  เคลื่อนย้ายอาคารโดยฝ่าฝืนกฎหมายดังกล่าว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามมาตรา 40 มาตรา 41 และมาตรา 42

 

 

*แต่มาตรา 40 บัญญัติว่า  ในกรณีที่มี  การก่อสร้างฝ่าฝืน  กฎหมายควบคุมอาคารให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น (การตรวจสอบกับการก่อสร้างแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทั้งในวิธีการและหลักการ) มีอำนาจ 3 ประการ คือ

 

 

 

 

 

1. สั่งให้ผู้เกี่ยวข้องระงับการกระทำ

 

 

2. ห้ามใช้อาคาร

 

 

3. ออกคำสั่งตามมาตรา 41 และ มาตรา 42

 

 

 

 

 

*มาตรา 41 เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารขออนุญาตเสียให้ถูกต้อง (ถ้าการแก้ไขนั้นไม่ขัดกฎหมาย) หรือมาตรา 42 สั่งให้รื้อถอนอาคารนั้น

 

 

*มาตรา 65 ทวิ บัญญัติว่า เจ้าของอาคารที่ไม่ตรวจสอบอาคารจะถูกจำคุก 3 เดือน ปรับ 6 หมื่นบาท และอีกวันละหนึ่งหมื่นบาทจนกว่าจะตรวจสอบอาคาร

 

 

*มาตรา 66 ทวิ  บัญญัติว่า  ถ้าเจ้าพนักงานสั่งให้รื้อถอนอาคารแล้วไม่รื้อถอน ให้มีโทษจำคุกหกเดือน ปรับหนึ่งแสนบาท และปรับอีกวันละสามหมื่นบาทจนกว่าจะรื้อถอน (ไม่พบว่ามีบทบัญญัติใดบัญญัติว่า อาคารที่มิได้ตรวจสอบ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งรื้อถอนได้)

 

 

*มาตรา 67 บัญญัติว่า ถ้าผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างหรือ เข้าไปใช้อาคารที่ถูกสั่งระงับใช้ หรือยังไม่แก้ไขอาคารตามมาตรา 40 มีโทษจำคุกหกเดือน ปรับหนึ่งแสนบาท และปรับอีกวันละสามหมื่นบาท

 

 

*นอก จากนี้ในมาตรา 70 ยังระบุโทษหนักขึ้นไปอีกเป็น 2 เท่าของโทษเดิม หากอาคารนั้นเป็นอาคารพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา และการสาธารณะสุข

 

 

 

 

 

นั่น คือคำตอบว่า มีกฎหมายในเรื่องของการตรวจสอบอาคารอย่างไรบ้าง แต่หากจะเขียนจะเล่าเฉพาะเรื่องบทลงโทษ โดยไม่กล่าวถึงปัญหาในทางปฏิบัติแล้วก็น่าจะยังมีความสับสนในการบังคับใช้ อยู่บ้าง คำตอบในตอนนี้จึงเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ปัญหาของการใช้กฎหมายในส่วนนี้ เพื่อความชัดเจนเข้าใจกันว่า มีปัญหาในทางปฏิบัติอย่างไรบ้าง เริ่มต้นที่จำนวนอาคารที่จะต้องมีการตรวจสอบตามข้อกำหนดกฎกระทรวง ที่กำหนดให้มีอาคารประเภทใด ขนาดเท่าใด ต้องตรวจสอบ

 

 

 

 

 

เนื่อง จากมีอาคารที่น่าจะเข้าข่ายเป็นอาคารที่จะต้องมีการตรวจสอบเป็นจำนวนมาก ที่ได้ก่อสร้างมาก่อนพระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับ เอกสารรายละเอียด ขนาด ชนิด ประเภทของอาคาร ที่มีมาก่อนนี้ ที่เก็บเป็นสำเนา ไว้ที่ส่วนราชการท้องถิ่น ซึ่งบางส่วนก็สูญหาย บางส่วนก็ถูกทำลาย จำหน่ายออกไปตามกฎระเบียบของส่วนราชการนั้น จึงมีจำนวนที่ไม่ทราบแน่ชัดว่ามีอาคารที่จะต้องตรวจสอบจำนวนเท่าใด ประเมินกันคร่าวๆ ว่า มีอาคารจะต้องตรวจสอบทั่วทั้งประเทศกว่า 50,000 หลังก็มี 20,000 หลังก็มี โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ประเมินกันว่ามีอยู่กว่า 2,000 กว่าอาคาร

 

 

 

 

 

ความ จริงจะขอชี้แจงเพิ่มเติมเรื่องของการตรวจสอบอาคารก็คือ ในระยะเวลาหนึ่งในอดีตที่ผ่านมาประมาณเกือบ  20  ปีนั้น  กรมโยธาธิการได้จัดจ้างหน่วยบริการทางวิชาการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิจารณาปรับปรุงกฎกระทรวงควบคุมอาคาร ในเรื่องนี้คณะกรรมการบริการทางวิชาการของจุฬาฯ เสนอว่า ในกรณีที่มี การดัดแปลงอาคาร หรือเปลี่ยนการใช้อาคารนั้น ควรจะมีการตรวจสอบอาคารว่ามีความมั่นคง แข็งแรง ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้เกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง

 

 

 

 

 

แต่ ด้วยความปรารถนาดีของคณะกรรมการควบคุมอาคาร ก็ปรับความเห็นของฝ่ายบริการวิชาการว่าควรจะตรวจสอบอาคารทุกชนิดทุกประเภท ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ผลก็คือ อาคารตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ก็จะต้องมีการตรวจสอบ โดยที่ไม่ได้ทราบว่าจำนวนอาคารที่จะตรวจสอบมีเท่าใด จำนวนผู้ตรวจสอบมีจำนวนเพียงพอ กับอาคารหรือไม่

 

 

 

 

 

ผล ของการไม่ทราบแน่ชัดในจำนวน ชนิด ขนาด ประเภท ของอาคารที่ต้องตรวจสอบ ทำให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจจะออกหนังสือตามมาตรา 32 ทวิ ไปยังเจ้าของอาคารว่าเป็นอาคารที่ต้องตรวจสอบ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องสั่งการไปยังเจ้าของอาคารที่ต้องตรวจสอบให้ครบถ้วน หากไม่ครบถ้วนละเว้นผู้หนึ่งผู้ใดเสียแล้ว เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจจะถูกกล่าวหาว่าเลือกปฏิบัติก็ได้

 

 

 

 

 

การ ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะออกเป็นประกาศทั่วไปว่า ให้เจ้าของอาคารที่เป็นอาคารที่จะต้องตรวจสอบนั้น ไม่อาจจะถือได้ว่าเป็นการออกคำสั่งที่ถูกต้อง เพราะในพระราชบัญญัติควบคุมอาคารนั้นบัญญัติไว้ว่า การออกคำสั่งใด ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกเป็นหนังสือส่งโดยการลงทะเบียนตอบรับจึงจะมี ผลทางกฎหมาย

 

 

 

 

 

สรุป ในขั้นต้นคือ มีอาคารที่ยังไม่ได้ตรวจสอบ ซึ่งไม่รู้แน่ชัดว่ามีเท่าไ

 

 

 

 

 

ประเด็น ปลีกย่อยก็คือ การตรวจสอบอาคารชุดโดยที่อาคารชุดเป็นอาคารที่แยกการถือครองเป็นส่วนๆ และมอบหมายภาระในการบำรุงรักษาพื้นที่ส่วนกลาง และส่วนสาธารณูปโภคให้นิติบุคคลอาคารชุดเป็นผู้ดูแล ถึงแม้นิติบุคคลอาคารชุดจะเป็นผู้รับผิดชอบเสมือนเป็นเจ้าของอาคารชุด แต่ก็มีอำนาจหน้าที่ในการดูแลเฉพาะส่วนกลางเท่านั้น การตรวจสอบนั้นต้องกระทำให้ครบถ้วนทั้งอาคาร หากขาดส่วนใดส่วนหนึ่งโดยเฉพาะส่วนใหญ่อันเป็นส่วนที่มีเจ้าของครอบครองอยู่ ย่อมไม่ถูกต้อง นี่คือปัญหาทางการตรวจสอบ

 

 

 

 

 

ปัญหา ความรับผิดชอบทางกฎหมาย กรรมการผู้จัดการ นิติบุคคล เป็นบุคคลภายนอก มิใช่เจ้าของโดยตรง ย่อมมีสิทธิที่จะเลิกการเป็นกรรมการผู้จัดการนิติบุคคลเสียเมื่อใดก็ได้ และหมายความถึงการที่กรรมการผู้จัดการนิติบุคคลย่อมพร้อมที่จะลาออกจาก หน้าที่ หากจะต้องรับผิดชอบต่อคดีความอาญาตามมาตรา  32  ทวิ  ถึงขั้นต้องรับโทษจำคุกนั้น เป็นการรับผิดชอบที่เกินควร ผลก็คือ ไม่อาจเข้าไปตรวจสอบอาคารในพื้นที่ครอบครองของเจ้าของห้องชุดซึ่งเป็นผู้ ครอบครองส่วนใหญ่ได้ การตรวจสอบก็มิได้เกิดผล

 

 

 

 

 

ประเด็น สุดท้ายก็คือ ประเด็นของวิธีการตรวจสอบและผู้ตรวจสอบ การที่คณะกรรมการควบคุมอาคารกำหนดคุณสมบัติของผู้ตรวจสอบที่มีคุณสมบัติใน ทางวิชาชีพ เช่น ภาคีสถาปนิก และภาคีวิศวกร (ในระดับภาคีทั้งสองวิชาชีพนี้ในทางปฏิบัติวิชาชีพมีฐานะเพียงเท่ากับ สถาปนิกฝึกหัด และวิศวกรฝึกหัด) เชื่อกันอย่างไม่ต้องสงสัยคือ ไม่น่าจะมีคุณสมบัติ มีประสบการณ์ มีความรอบรู้ อย่างถูกต้องชัดแจ้งในองค์ประกอบอาคาร ซึ่งมีผลต่อความมั่นคงแข็งแรง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้ครบถ้วน รอบด้าน อีกทั้งประเด็นในวิธีการตรวจสอบ ที่หากจะต้องตรวจสอบตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงอย่างเข้มงวดแล้ว เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากทั้งวิธีการตรวจสอบและคุณสมบัติของผู้ตรวจสอบที่ กล่าวมาแล้ว

 

 

 

 

 

จาก ข้อเท็จจริงของการตรวจสอบอาคารบางส่วนที่ได้ดำเนินการตรวจสอบอาคารบางส่วน ที่ได้กระทำมานั้น การตรวจสอบของผู้ตรวจสอบจะต้องได้รับคำรับรองจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ซึ่งจะต้องให้คำรับรองในมิช้าตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ความจริงก็คือ เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่ได้ให้คำรับรองการตรวจสอบได้โดยมิชักช้า และก็ยังคงมีเอกสารการตรวจ สอบที่รอการรับรองอยู่มากกว่าที่ยังมิได้ตรวจสอบ  (นับเวลาแต่กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ก็ล่วงเลยมานานพอสมควร)  ประเด็นปัญหาการตรวจสอบอาคารจึงเป็นปัญหาของการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่เห็น ได้ชัดเจนเกือบจะทั่วทั้งประเทศ สาเหตุเพราะเรื่องใด ท่านผู้อ่านเมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ก็คงเข้าใจ

 

 

 

 

 

ข้อแนะนำในส่วนนี้คือ

 

 

 

 

ความ จริงที่ขอเสนอในบทสุดท้ายนี้ว่า หากคณะกรรมการควบคุมอาคารไม่หวังดีเกินไปจนต้องตราออกมา เป็นกฎกระทรวง หากจะใช้หลักเกณฑ์การประกันภัยเช่นเดียวกับในกฎกระทรวงเรื่องโรงมหรสพ และปล่อยให้บริษัทประกันภัยทำหน้าที่รับผิดชอบเรื่องนี้ ทั้งการตรวจสอบ การออกหนังสือกรมธรรม์รับรองการประกันความปลอดภัย ในการใช้อาคารประเภทต่างๆ อาคารใดที่มีความไม่ปลอดภัยประการใด บริษัทประกันภัยก็จะเรียกร้อง บังคับ โดยใช้เงื่อนไขทางเศรษฐกิจเป็นตัวบังคับ น่าจะได้ผลดีกับผู้ใช้อาคาร และน่าจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากกว่าการออกเป็นกฎกระทรวงกำหนดบังคับ ใช้

"สถาบันที่เชื่อถือได้" หมายความว่า ส่วนราชการ

หรือนิติบุคคลซึ่งมีวิศวกร ประเภท วุฒิวิศวกร สาขาวิศวกรรมโยธา

ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรมเป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษา

และลงลายมือชื่อรับรองผลการตรวจสอบงานวิศวกรรมควบคุม