

![]() |
หน้าที่ของ ผู้ออกแบบ ผู้ควบคุมงาน ผู้รับเหมา เจ้าของอาคาร
กฎกระทรวง กําหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ออกแบบ ผู้ควบคุมงาน ผู้ดําเนินการ ผู้ครอบครองอาคาร และเจ้าของอาคาร
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๕ (๓) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ และมาตรา ๘
(๑๓) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๓
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยคําแนะนํา
ของคณะกรรมการควบคุมอาคารออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปน้ี
ข้อ ๑ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในกฎกระทรวงนี้ “ผู้ออกแบบ” หมายความว่า ผู้ออกแบบงานสถาปัตยกรรมหรือออกแบบและคํานวณ งานวิศวกรรม “เจ้าของอาคาร” หมายความว่า ผู้มีกรรมสิทธิ์ในอาคารนั้น และหมายความรวมถึงเจ้าของ โครงการผู้ทําสัญญาจ้างก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร “งานถาวร” หมายความว่า งานที่ก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ตามแบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต หรือแจ้งและดําเนินการตามมาตรา ๓๙ ทวิ “งานชั่วคราว” หมายความว่า งานที่สร้างขึ้นชั่วคราวเพื่อประโยชน์ในการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายงานถาวร และหมายความรวมถึงเครื่องจักรและอุปกรณ์สําหรับการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายงานถาวร “แบบแปลนตามสร้าง” หมายความว่า แผนผังบริเวณ แบบแปลน และรายการประกอบ แบบแปลนที่จัดทําขึ้นตามที่ได้ดําเนินการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยมีรูปแสดงรายละเอียดส่วนสําคัญ สัญลักษณ์วัสดุงานสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมทุกระบบ โดยเป็นแบบที่เขียน พิมพ์ สําเนา ภาพถ่าย หรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๓ ผู้ออกแบบมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังต่อไปนี้ (๑) ออกแบบและจัดทํารายละเอียดในการออกแบบที่ชัดเจนและสามารถนําไปใช้ใน การดําเนินการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารได้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่พึงกระทํา ตามวิชาชีพ (๒) ระบุค่าน้ําหนักบรรทุกจรแต่ละพื้นที่ของอาคารที่ใช้ในการคํานวณโครงสร้างอาคารไว้ใน แบบแปลนโครงสร้างพื้นชั้นต่าง ๆ ในกรณีที่เป็นการออกแบบอาคารสาธารณะที่มีพื้นที่ตั้งแต่หนึ่งพัน ตารางเมตรขึ้นไป อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ และอาคารประเภทควบคุมการใช้ ซึ่งได้คํานวณออกแบบโครงสร้างอาคารโดยใช้น้ําหนักบรรทุกจรสูงกว่าอัตราที่กฎหมายกําหนด (๓) ระบุค่าที่ใช้ในการคํานวณงานวิศวกรรมระบบความปลอดภัยอ่ืน ๆ ที่มีเกณฑ์สูงกว่า ที่กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารกําหนดไว้ในแบบแปลนอาคาร (๔) รับผิดชอบในส่วนที่เป็นผลต่อเนื่องจากการออกแบบดัดแปลงหรือรื้อถอนอาคารนั้น (๕) กําหนดมาตรการเพื่อป้องกันภยันตรายที่อาจเกิดต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกายของบุคคล หรือทรัพย์สิน ที่อยู่ในสถานที่ก่อสร้าง และบริเวณข้างเคียงให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๔ ผู้ควบคุมงานมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังต่อไปนี้ (๑) อํานวยการหรือควบคุมการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร และการติดตั้ง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบอาคาร ให้เป็นไปตามแบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่พึงกระทําตามวิชาชีพ (๒) อํานวยการหรือควบคุมให้มีการป้องกันภยันตรายที่อาจเกิดต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน ในสถานที่ก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร และบริเวณข้างเคียง
ให้เป็นไปตามแผนงาน ขั้นตอน และวิธีการที่ผู้ดําเนินการกําหนดไว้
ข้อ ๕ ผู้ดําเนินการมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังต่อไปนี้ (๑) วางแผนงาน ขั้นตอนและวิธีการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ทั้งในส่วนของงานถาวรและงานชั่วคราว และเสนอแผนงาน ขั้นตอน และวิธีการดังกล่าวต่อเจ้าของอาคาร (๒) ดําเนินการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารตามแบบแปลน และรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต หรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา ๓๙ ทวิ (๓) ดําเนินการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารตามแผนงาน ขั้นตอน และวิธีการที่เจ้าของอาคารเห็นชอบตาม (๑) และต้องดําเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมาย กําหนดไว้ จนกว่าการดําเนินการดังกล่าวจะแล้วเสร็จ (๔) เสนอแผนงาน ขั้นตอน และวิธีการป้องกันภยันตรายที่อาจเกิดต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน ในสถานที่ก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารและบริเวณข้างเคียง ตามมาตรการที่ผู้ออกแบบกําหนดต่อเจ้าของอาคารก่อนนําไปดําเนินการ
(๕) จัดทํารายงานการดําเนินการอย่างน้อยเดือนละครั้งและเก็บไว้ ณ สถานที่ดําเนินการ ตลอดเวลา จนกว่าการดําเนินการดังกล่าวจะแล้วเสร็จ
เพื่อให้นายช่างหรือนายตรวจสามารถตรวจสอบได้
(๖) ในกรณีการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารชุมนุมคน อาคารสาธารณะ ที่เป็นอาคารขนาดใหญ่ อาคารสูง หรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องจัดทําแบบแปลนตามสร้าง ให้เจ้าของอาคารตรวจสอบและส่งมอบแบบแปลนตามสร้างที่ได้ตรวจสอบแล้วให้เจ้าของอาคาร โดยแบบแปลนตามสร้างต้องระบุค่าน้ําหนักบรรทุกจรแต่ละพื้นที่ของอาคารและค่ามาตรฐาน ความปลอดภัยทางวิศวกรรมตามที่ผู้ออกแบบกําหนดไว้ (๗) ในกรณีที่เจ้าของอาคารแยกจ้างการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคาร ตามสาขางานสถาปัตยกรรมหรือวิศวกรรม ผู้ดําเนินการแต่ละรายมีหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่ได้รับจ้าง และต้องให้ความร่วมมือกับเจ้าของอาคารในการประสานงานและดําเนินการให้เป็นไปตามแผนงาน ข้อ ๖ เจ้าของอาคารมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังต่อไปนี้ (๑) กํากับดูแลการก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารและการติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบอาคาร รวมทั้งการรื้อถอนและเคลื่อนย้ายอาคาร ให้เป็นไปตามแบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลน ที่ได้รับอนุญาต (๒) กํากับ ดูแลการวางแผนงาน ขั้นตอนและวิธีการก่อสร้าง ดัดแป ลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารในส่วนของงานถาวร และงานชั่วคราว (๓) กํากับดูแลการจัดทํารายงานการดําเนินการของผู้ดําเนินการ (๔) กํากับดูแลการป้องกันภยันตรายที่อาจเกิดต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน ในสถานที่ก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารและบริเวณข้างเคียง (๕) กํากับดูแลให้ผู้ดําเนินการจัดทําแบบแปลนตามสร้าง ข้อ ๗ เจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคารประเภทอาคารชุมนุมคน อาคารสาธารณะ ที่เป็นอาคารขนาดใหญ่ อาคารสูง หรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีป้ายแสดงความจุจํานวนคนที่มากที่สุดที่สามารถเข้าใช้พื้นที่ในส่วนของอาคาร ที่ใช้ประโยชน์เพื่อการชุมนุมคน โดยติดไว้ในตําแหน่งที่สามารถเห็นได้ชัดเจน (๒) จัดเก็บแบบแปลนตามสร้างไว้ประจําอาคาร (๓) จัดให้มีการบํารุงรักษาและทดสอบระบบความปลอดภัยให้พร้อมใช้งาน ข้อ ๘ กฎกระทรวงนี้ไม่ใช้บังคับกับการก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารที่ได้รับใบอนุญาต หรือใบรับแจ้งตามมาตรา ๓๙ ทวิ ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๘ (๑๓) แห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ
ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้บัญญัติให้รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการควบคุมอาคาร มีอํานาจออกกฎกระทรวงกําหนดหน้าที่ และความรับผิด
ชอบของผู้ออกแบบ ผู้ควบคุมงาน ผู้ดําเนินการ ผู้ครอบครองอาคาร และเจ้าของอาคาร จึงจําเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
ขอสนับสนุน ให้บังคับใช้ตาม กฎกระทรวงนี้
บริษัท 4 ดับบลิว ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด
ทีมงาน วุฒิวิศวกรโยธา วุฒิวิศวกร ไฟฟ้า วุฒิวิศวกร เครื่องกล วุฒิสถาปนิก วุฒิวิศวกร อุตสาหการ |