กว่าจะปลุกผีตึกเก่าปี 40 สำเร็จ
ReadyPlanet.com
bullet กฎกระทรวง กําหนดลักษณะอาคารประเภทอื่นที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. ๒๕๕๙
dot
Group Menu
dot
bulletวุฒิวิศวกรออกแบบโครงสร้าง
dot
Newsletter

dot
bulletโครงการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
bulletวิศวกร งานโลหะ และ เหล็ก
bulletสารพัดปัญหาของวิศวกรโยธา ก่อสร้าง
bulletรับรองความมั่นคงอาคาร โรงเรียนกวดวิชา วุฒิวิศวกร
bulletคณภาพของ วิศวกร
bulletไฟไหม้ กับ งาน วิศวกร โยธา
bulletPower Plant Job กับ งาน วิศวกร
bulletวิศวกรโยธา กับ ตลาด รับสร้าง บ้านชิ้นส่วนสำเร็จรูป
bulletวิศวกร กำหนด มาตราฐาน ออกแบบ แผนผังโรงงาน
bulletวิศวกร กับ การเลือกทำเล ที่ตั้งโรงงาน
bulletขอบเขตงานที่วิศวกร ระดับต่างๆ ทำได้ แก้ไขใหม่
bulletมาตรฐานกําหนดตําแหน่งสายงาน วิศวกรรมโยธา
bulletน้ำ และ สารผสม คอนกรีต
bulletgooglebc0321ea4a8e3495.html




กว่าจะปลุกผีตึกเก่าปี 40 สำเร็จ article

 ไปเจอโครงการนึง ซึ่งเจ้าของโครงการเก่าก่อสร้าง ไว้แล้วตั้งแต่ฐานราก จากพื้น ห้องใต้ดิน 3 ชั้น จนถึง มาหยุดที่ พื้นระดับดิน แล้วขึ้นต่อเป็นอาคารสูงไม่ได้ เจอพิษ ต้มยำกุ้ง สมัยปี 2540 เลยไม่ได้สร้างต่อ มีการจะปลุกผี สร้างต่อขึ้นมาหลายครั้งแล้ว แต่ไม่สำเร็จ แม้ว่า ทำเลที่ตั้ง ของโครงการ จะดีมากๆ อยู่ในเมืองใกล้ทางด่วน จนปีนี้ ผ่านมา 20 ปี ถึงจะได้ฟื้นคืนชีพจริงๆเพราะ

น่าจะต้องรีบสร้างให้เสร็จ เพราะกฎหมายใหม่ ที่ยอมผ่อนผันให้ใช้ใบอนุญาตอาคารเดิมปี 40 เหล่านี้ได้หมดอายุลงไปใน 5 ปี รอบนึงแล้ว ที่กฎหมายมีผลให้บังคับไว้ "กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารหรือดัดแปลงอาคารสำหรับอาคารที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศซึ่งยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ พ.ศ. 2552" ซึ่งมีอายุใช้บังคับ 5 ปี ได้หมดลงวันที่ 3 พ.ย. 2557" 

 

ที่ได้กำไรคุ้มค่ากว่าการขออนุญาตก่อสร้างดัดแปลงใหม่ คือ ค่า FAR ที่ทำการก่อสร้างได้จะมากกว่า ค่า FAR ของ กฎหมายผังเมืองใหม่ จึงคุ้มค้าที่จะทำ แม้ว่า จะต้องมีการปรับเปลี่ยน เพิ่มเติม เสาเข็มเจาะให้ทะลุพื้นคอนกรีต ชั้นใต้ดิน ลงไปใหม่ 3 ชั้น  ก็ยังนับว่าคุ้มค่า แต่วิศวกรโยธา ที่มาทำงานตรวจสอบโครงสร้างเดิม และออกแบบโครงสร้างใหม่ให้ต่อขึ้นไปตาม วัตถุประสงค์ใหม่ของอาคารที่เปลี่ยนไป นี่สิ เป็นงานที่ยากกว่า ออกแบบตึกใหม่ๆ ซะอีก ยังนึกภาพไม่ค่อยออกเลย ว่าหน้าตาตอนก่อสร้าง เสาเข็มใหม่ ขึ้นมาแล้ว จะเป็นยังไง

 

สำหรับกฎกระทรวงฉบับนี้ใช้บังคับสำหรับอาคารที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารหรือดัดแปลงอาคารในระหว่างวันที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ถึงก่อนวันที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) ใช้บังคับ ที่ได้ตอกเสาเข็มหรือทำฐานแผ่ของอาคารแล้วเสร็จไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของจำนวนเสาเข็มหรือฐานแผ่ทั้งหมด หรือในกรณีที่ยังไม่มีการตอกเสาเข็มหรือทำฐานแผ่แต่ได้ก่อสร้างโครงสร้างของอาคาร เช่น ผนัง กำแพง หรือพื้น เป็นต้น ลงต่ำกว่าระดับพื้นดินซึ่งมีพื้นที่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่โครงสร้างอาคารที่ก่อสร้างลงต่ำกว่าระดับพื้นดินนั้นโดยไม่ได้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตหรือได้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตแล้วแต่ไม่ได้รับการต่ออายุ

 

หากผู้รับอนุญาตหรือผู้รับโอนอาคารนั้น ประสงค์จะทำการก่อสร้างอาคารหรือดัดแปลงอาคารดังกล่าวต่อไป ให้ยื่นคำขออนุญาตใหม่ได้ภายใน 5 ปี นับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขคือ จะต้องมีขนาดพื้นที่ปกคลุมดิน พื้นที่อาคาร และความสูงไม่เกินกว่าเกณฑ์ที่เคยได้รับอนุญาต ต้องมีหนังสือรับรองการตรวจสอบโครงสร้างอาคารที่ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จของผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา ระดับ วุฒิวิศวกร ว่ามีความมั่นคงแข็งแรง และมีความปลอดภัยในการที่จะก่อสร้างอาคารหรือดัดแปลงอาคารต่อไปได้เสนอมาพร้อมคำขออนุญาตด้วย และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น หรือประกาศกระทรวงมหาดไทย ซึ่งออกตามความในกฎหมายควบคุมอาคาร ที่ใช้บังคับในขณะที่เคยได้รับอนุญาต เว้นแต่ในเรื่องระบบการป้องกันอัคคีภัย และระบบความปลอดภัยภายในอาคารให้เป็นไปตามกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นซึ่งออกตามกฎหมายควบคุมอาคารที่ใช้บังคับในขณะยื่นคำขออนุญาตใหม่




วุฒิวิศวกร โยธา แชร์ประสพการ ทำงาน