บอร์ดสวล.เคาะ"11กิจการรุนแรง" ปรับลดไซซ์ทำโครงการมาบตาพุดหลุดเกือบหมด
คณะ กรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ คลอด 11 รายชื่อกิจการรุนแรง หลังที่ประชุมมีมติให้ตัดออก 7 กิจการ มีทั้งการชลประทาน/สูบเกลือใต้ดิน อ้างเป็นประโยชน์ต่อภาคเกษตรมากกว่า ขณะที่ "ชัยวุฒิ" รมว.อุตสาหกรรม ระบุเหลือโครงการที่เข้าข่ายรุนแรง 2 โครงการ หลังกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯออกประกาศ ภาคเอกชนเตรียมส่งข้อมูลให้ศาลปลดล็อก
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานภายหลังการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติที่มี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานสิ้นสุดลงว่า ที่ประชุมได้มีการหารือเกี่ยวกับร่างประเภทโครงการหรือกิจการที่อาจมีผล กระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม/ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพรวม 18 กิจการ ตามที่คณะกรรมการ 4 ฝ่ายแก้ไขปัญหามาบตาพุดชุดที่มี นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ปรากฏว่า
คณะ กรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้มีการพิจารณาปรับปรุงร่างประกาศดังกล่าว โดยได้ข้อสรุปว่าจะมีกิจการที่เข้ารุนแรง ทั้งสิ้น 11 กิจการ พร้อมกับมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบในการออกประกาศต่อไป สำหรับ 7 โครงการที่ไม่ถูกประกาศเป็นกิจการที่อาจจะส่งผลกระทบรุนแรง ในครั้งนี้ จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1)กิจการที่มีเหตุผลสมควรถอดออกจากร่าง รายชื่อจำนวน 2 กิจการ ได้แก่ กิจการชลประทานตั้งแต่ 80,000 ไร่ขึ้นไป โดยคณะกรรมการเห็นว่าเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์กับภาคเกษตรมากกว่าสร้างผล กระทบรุนแรง กับกิจการสูบเกลือใต้ดินทุกขนาด เนื่องจากเป็นกิจการที่รัฐบาลจะมีการยกเลิกไม่ให้มีการดำเนินการแล้ว ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องประกาศเป็นกิจการรุนแรงซ้ำซ้อนอีก
2)กิจการ ที่ให้คณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) เป็นผู้พิจารณาว่า เป็นกิจการรุนแรงหรือไม่ 2 กิจการ ได้แก่ กิจการที่ต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ที่อยู่ในพื้นที่อ่อนไหว เช่น แหล่งมรดกโลก-อุทยานประวัติศาสตร์-ป่าอนุรักษ์ เป็นต้น กับกิจการก่อสร้างหรือขยายสิ่งก่อสร้างถาวรนอกชายฝั่งทะเลเดิม เพื่อกันคลื่นหรือกระแสน้ำในทะเลทุกขนาดในพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม-แหล่ง ธรรมชาติอนุรักษ์-แหล่งท่องเที่ยว และแหล่งอาชีพ
และ 3)กิจการที่สร้างผลกระทบ แต่ไม่ถึงขั้นรุนแรงจนต้องดำเนินการตามเงื่อนไขมาตรา 67 (2) จำนวน 3 กิจการ ให้ดำเนินการแค่จัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เท่านั้น ได้แก่ เตาเผาขยะติดเชื้อ ทุกขนาด, กิจการผันน้ำข้ามลุ่มน้ำหลัก ทุกขนาด และกิจการสิ่งก่อสร้างกั้นขวาง การไหลของน้ำในแม่น้ำสายหลักทุกขนาดหรือประตูระบายน้ำ
ส่วน 11 กิจการรุนแรงที่เหลือ ได้มีการปรับปรุงรายละเอียดบางส่วนด้วยได้แก่ 1)กิจการถมทะลหรือทะเลสาบนอกเขตชายฝั่งเดิม ไม่รวมการฟื้นฟูสภาพชายหาด ทุกขนาด ถ้าอยู่ในพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม-แหล่งธรรมชาติอนุรักษ์-แหล่งท่อง เที่ยว และแหล่งอาชีพ นอกเหนือพื้นที่ดังกล่าว กำหนดไว้ที่ 300 ไร่ขึ้นไป
2)เหมือง ต่าง ๆ ได้แก่ เหมืองใต้ดิน ทุกขนาด-เหมืองแร่ตะกั่ว/สังกะสี/ทองคำทุกขนาด, เหมืองถ่านหินขนาด 2.5 ล้าน ตัน/ปี และเหมืองแร่ในทะเล 3)นิคมอุตสาหกรรมที่รองรับโรงงานปิโตรเคมี หรือโรงงานถลุงแร่เหล็ก เดิมทุกขนาดปรับปรุงเป็นส่วนขยายเพียง อย่างเดียว
4)โรง งานปิโตรเคมีขั้นต้นทุกขนาด หรือการขยายกำลังการผลิตตั้งแต่ 35% ขึ้นไป โรงงานปิโตรเคมีขั้นกลางขนาดกำลังการผลิต 100 ตัน/วัน หรือขยายกำลังการผลิต 35% ขึ้นไป ในส่วนที่ใช้สารเคมีเป็นสารก่อมะเร็งในกลุ่ม 1 และขนาดกำลังผลิต 700 ตัน/วัน หรือขยายกำลังการผลิต 35% ขึ้นไป ในส่วนที่ใช้สารเคมีเป็นสารก่อมะเร็ง กลุ่ม 2A
5)โรงงานถลุงแร่หรือ หลอมโลหะ โดยโรงถลุงแร่เหล็กขนาด 5,000 ตัน/วันขึ้นไป ปรับปรุงเป็น 1,000 ตัน/วันขึ้นไป, โรงถลุงแร่เหล็กที่มีการผลิตถ่านโค้กทุกขนาด, โรงถลุงแร่ทองแดง ทองคำ หรือสังกะสี กำลังการผลิต 1,000 ตัน/วันขึ้นไป, โรงถลุงแร่ตะกั่วทุกขนาด, โรงหลอมโลหะขนาด 50 ตัน/วัน และโรงหลอมตะกั่วขนาด 10 ตัน/วันขึ้นไป
6)กิจการผลิตหรือกำจัดหรือปรับแต่งสารกัมมันตรังสี เดิมทุกขนาด ยกเว้นโรงพยาบาล สถาบันการศึกษา ปรับปรุง ทุกสถานที่ ไม่ยกเว้น
7)โรงงานฝังกลบหรือเผาของเสียอันตรายทุกขนาด 8)กิจการสนามบินที่มีการขยายทางวิ่งตั้งแต่ 3,000 เมตรขึ้นไป
9)ท่าเทียบเรือยกเว้นท่าเทียบเรือที่ชาวบ้านใช้อยู่
10)เขื่อนเก็บกักน้ำหรืออ่างเก็บน้ำ ตั้งแต่ 100 ลบ.ม.ขึ้นไป
11)โรง ไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินขนาดกำลังการผลิต 100 เมกะวัตต์ขึ้นไป, โรงไฟฟ้าชีวมวล 150 เมกะวัตต์ขึ้นไป, ก๊าซธรรมชาติ 700 เมกะวัตต์ขึ้นไป, ความร้อนร่วม 1,000 เมกะวัตต์ขึ้นไปและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทุกขนาดปรับปรุงโดยตัดโรงไฟฟ้าก๊าซ ธรรมชาติออก และ โรงไฟฟ้าความร้อนร่วมเพิ่ม 3,000 เมกะวัตต์ขึ้นไป
"ใน ส่วนของกิจการรุนแรงที่จะประกาศออกมานั้น เมื่อเทียบ 76 โครงการมาบตาพุด ที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่ง คุ้มครองชั่วคราวให้ระงับการดำเนินการ แล้วก็เหลืออยู่ประมาณ 2 โครงการเท่านั้น หลังจากประชุมคณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ท่านนายกฯก็มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเร่งออกประกาศ ให้เร็วที่สุด โดยในส่วนของกระทรวงอุตสาหกรรมก็ต้องมาพิจารณายกเลิกประกาศ 8 กิจการรุนแรง ที่เคยประกาศไว้เมื่อปีที่ผ่านมา ซึ่งหลังจากที่ประกาศของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯออกมาแล้ว ภาคเอกชนก็คงนำไปเป็น ข้อมูลยื่นต่อศาลปกครองกลาง ให้ยกเลิก คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวต่อไป" นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าว
ด้านนายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก กล่าวว่า ภาคประชาชนจะมีการยื่นเสนอให้รัฐ "ทบทวน" การประกาศรายชื่อ 11 กิจการเข้าข่ายรุนแรงเพราะไม่ได้เป็นไปตามที่ภาคประชาชนเสนอนั่นคือควรจะมี การกำหนดพื้นที่เข้าไปด้วย เพราะแต่ละพื้นที่มีการปลดปล่อยมลพิษแตกต่างกัน โดยพื้นที่ที่ควรเข้าข่ายกิจการรุนแรง เช่น จังหวัดระยอง จังหวัดสระบุรี จังหวัดสมุทรปราการ เป็นต้น
รับ ออกแบบ อาคาร
รับรองรายการคำนวณ
วิเคราะห์แรงแผ่นดินไหว
ตรวจสอบอาคาร โดย วุฒิวิศวกรโยธา
ปรึกษา ได้ที่ อีเมลย์ 4we@4wengineering.com
โทร 0812974848
"สถาบันที่เชื่อถือได้" หมายความว่า ส่วนราชการ หรือ
นิติบุคคลซึ่งมีวิศวกร ประเภท วุฒิวิศวกร สาขาวิศวกรรมโยธา
ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรมเป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษา
และลงลายมือชื่อรับรองผลการตรวจสอบงานวิศวกรรมควบคุม